ชื่องานวิจัย แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียน เทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่
ผู้วิจัย ว่าที่ร้อยตรี ชสิทธิ์ภิวัฒน์ กันยายน
ปีที่พิมพ์ 2563
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ซึ่งประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative method) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative method) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียน 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียน 3) เพื่อนำแนวทางการพัฒนาการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายใน มาใช้เพื่อศึกษาการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน 4) เพื่อประเมินผล สร้างคู่มือจากการทดลองใช้รูปแบบกระบวนการนิเทศภายใน 5) เพื่อนำรูปแบบแนวทางการพัฒนาการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายใน ที่พัฒนาแล้วมาทำการทดลองซ้ำและ 6) เพื่อประเมินผลสร้างคู่มือมือที่ได้จากรูปแบบแนวทางการพัฒนาการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในที่พัฒนาแล้ว ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายใน ของโรงเรียน (R1) ขั้นตอนที่ 2 หาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียน (D1) ขั้นตอนที่ 3 นำแนวทางการพัฒนาการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายใน มาใช้เพื่อศึกษาการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน (R2) ขั้นตอนที่ 4 ประเมินผล สร้างคู่มือจากการทดลองใช้รูปแบบกระบวนการนิเทศภายใน (D2) ขั้นตอนที่ 5นำรูปแบบแนวทางการพัฒนาการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในที่พัฒนาแล้วมาทำการทดลองซ้ำ (R3) และขั้นตอนที่ 6 ประเมินผล สร้างคู่มือมือที่ได้จากรูปแบบแนวทางการพัฒนาการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายใน ที่พัฒนาแล้ว (D3) ผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 13 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 149 คน เครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน ของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ ปีการศึกษา 2561-2562 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ประกอบด้วย แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวทาง การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสานวิธี (mixed methods) โดยเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviations) และนำเสนอผลโดยพรรณนาความ
สรุปผลการวิจัย
แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ สรุปผลได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียน (R1)
จากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร สังเกต สัมภาษณ์ สอบถามผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัจจุบัน สภาพปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนในช่วงระยะเวลาผ่านมา พบว่าสภาพปัญหาและข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนในภาพรวมนั้นยังต้องการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจในระดับที่ยอมรับได้ คุณภาพผู้เรียนยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม สภาพการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการจัดการเรียนรู้ วิธีสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงจำเป็นต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนด้วยการนิเทศภายใน
2. ผลการหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายใน
ของโรงเรียน (D1)
ผลการหาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายใน จากการสังเกต สัมภาษณ์ สอบถามและสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนพบว่า
2.1 สภาพปัจจุบันของการปฏิบัติงานตามกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การสำรวจความต้องการจำเป็นของโรงเรียน การวางแผนการนิเทศ การดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน การประเมินผลการนิเทศ และการปรับปรุงแก้ไข
2.2 ความต้องการในการนิเทศภายในของครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการนิเทศ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดผลประเมินผล
2.3 แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัจจุบัน ปัญหาในการปฏิบัติงานตามกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน รวมถึงการนำผลการสรุปแนวคิด สนทนากับผู้เชี่ยวชาญ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานตามกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน เพื่อกำหนดทิศทางในการพัฒนาปฏิบัติงานตามกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียน นั้นควรประกอบด้วย
ขั้นที่ 1 การกำหนดผู้รับผิดชอบและภารกิจการนิเทศและการจัดระบบข้อมูลและสารสนเทศ
ขั้นที่ 2 การวางแผนการนิเทศ
ขั้นที่ 3 ดำเนินการนิเทศภายใน
ขั้นที่ 4 การประเมินผลการนิเทศและการรายงานผล
ขั้นที่ 5 การปรับปรุงแก้ไข
3. ผลการนำแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายใน มาใช้เพื่อศึกษาการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน (R2)
3.1 ผลการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จากการนำแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายใน มาใช้เพื่อศึกษาการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน ทำให้ครูมีความรู้ ความสามารถ ในการพัฒนาตนเองให้เป็นครูที่มีคุณลักษณะที่ดี เป็นผู้มีความรู้ มีทักษะในการปฏิบัติงาน จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถสรุปผลที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
3.1.1 ด้านการจัดการเรียนการสอน
ครูมีความรู้ดี มีความสามารถในการสอนดี จากการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ทำให้ครูเป็นผู้มีความรอบรู้และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน ด้วยความเอาใจใส่มุ่งมั่นรับผิดชอบต่องานและการจัดการเรียนการสอน
1) ครูมีการพัฒนาแผนการสอนอยู่เสมอ เพื่อจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับชีวิตธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับความสนใจของนักเรียนและความต้องการ
ของชุมชนท้องถิ่นทำให้ครูมีแผนการสอนที่เหมาะสมและสนองตอบต่อจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
2) ครูมีความสามารถในการผลิต จัดหา พัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน โดยเน้นที่สื่อ เครื่องมือที่นักเรียนเป็นผู้ใช้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนและเพื่อแสวงหาความรู้
3.1.2 ด้านทางสังคม
1) เป็นผู้มีความสุภาพเรียบร้อย มีมนุษยสัมพันธ์ กับเพื่อนร่วมงานและบุคคลทั่วไป
2) ครูเป็นผู้มีความรับผิดชอบ เสียสละ อุทิศเวลาให้กับงานและโรงเรียน
3) รักษาความสามัคคีของหมู่คณะ ทำงานร่วมกันด้วยความเข้าใจ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมกันทำงานไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีความกลมเกลียวช่วยเหลือซึ่งกันและกันและมีความเห็นอกเห็นใจกัน
3.1.3 ด้านส่วนตัวของครู
1) เป็นผู้ใฝ่รู้ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม มาพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ตั้งใจทำงานรักเด็กเอาใจใส่และรับผิดชอบต่อการเรียนการสอน อุทิศเวลาทำงานเต็มความสามารถ
2) ได้รับความก้าวหน้า เลื่อนวิทยฐานะในมาตรฐานและวิชาชีพของครู
3.2 ความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อรูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ ปีการศึกษา 2562 พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 5 ข้อ อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 11 ข้อโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การเยี่ยมนิเทศชั้นเรียน การสังเกตการจัดการเรียนรู้การสาธิตการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การระดมความคิด
4. ผลการประเมินผลและพัฒนาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการ นิเทศภายในของโรงเรียน (D2)
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้ง 6 ระดับชั้นโดยภาพรวม คะแนนเฉลี่ย ลดลง เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สุขศึกษาและพละศึกษา และการงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลง 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ คือ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์และศิลปะ
2. คะแนนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเมื่อพิจารณาตามเกณฑ์โดยรวมเพิ่มขึ้น เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ มาตรฐาน อยู่ในระดับ ดีมาก เมื่อสิ้นสุดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน พบว่า ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าเฉลี่ยรวมลดลง แต่คะแนนเฉลี่ยบางกลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มขึ้น และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเพิ่มขึ้น
3. ความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามรายด้าน พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านการประเมินผลการนิเทศและการรายงานผล ด้านการดำเนินการนิเทศภายใน ด้านการปรับปรุงแก้ไข ด้านการกำหนดผู้รับผิดชอบและภารกิจการนิเทศ และการวางแผน
การนิเทศ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
3.1 ด้านการกำหนดผู้รับผิดชอบและภารกิจการนิเทศ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายใน การกำหนดคุณสมบัติ
ของคณะกรรมการนิเทศภายใน และการกำหนดขอบข่ายและเนื้อหาของการนิเทศภายใน ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การสร้างเครื่องมือการนิเทศภายใน
3.2 ด้านการวางแผนการนิเทศ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย
3 ลำดับแรก ได้แก่ การจัดกิจกรรมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนิเทศภายในให้กับครู
และบุคลากร การจัดกิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่ และการเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศภายใน ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การวิเคราะห์สภาพปัญหา
และความต้องการนิเทศของครูและบุคลากร
3.3 ด้านการดำเนินการนิเทศภายในโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย
3 ลำดับแรก ได้แก่ ผู้บริหารสนับสนุนส่งเสริมการนิเทศภายในทั้งด้านวิชาการและด้านงบประมาณ คณะกรรมนิเทศภายในดำเนินการตามแผนที่วางไว้ ผู้บริหาร กำกับ ควบคุม ดูแลการนิเทศภายในให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือการจัดอบรม สัมมนา
ทางวิชาการให้กับครูและบุคลากร
3.4 ด้านการประเมินผลการนิเทศและการรายงานผล โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 4 ข้อ ระดับมาก 3 ข้อ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การกำหนดประเด็นการประเมิน
ให้ครอบคลุมทุกกิจกรรม การวิเคราะห์ผลการประเมินในด้านปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น การประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการประเมินผลการนิเทศภายใน ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การสร้างเครื่องมือการประเมิน
3.5 ด้านการปรับปรุงแก้ไข โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การเสริมแรงให้ขวัญกำลังใจ การจัดทำรายงานผลการประเมิน การนำผลการประเมินในด้านปัญหา อุปสรรคที่มาปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การรายงานผลประเมินการนิเทศภายในให้หน่วยงานภายนอกทราบ
5. ผลการนำแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายใน
ที่พัฒนาแล้ว มาทำการศึกษาซ้ำ (R3)
1. ผลการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จากการนำแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในมาใช้เพื่อศึกษาการดำเนินการนิเทศภายในโรงเรียน ที่พัฒนาแล้วมาทดลองซ้ำ ทำให้ครู
มีความรู้ ความสามารถ ในการพัฒนาตนเอง ให้เป็นครูที่มีคุณลักษณะที่ดี เป็นผู้มีความรู้ มีทักษะ
ในการปฏิบัติงาน จัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สามารถสรุปผลที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
1.1 ด้านการจัดการเรียนการสอน ครูมีความรู้ดี มีความสามารถในการสอนดีจากการพัฒนาตนเองอยู่เสมอทำให้ครูเป็นผู้มีความรอบรู้และมีความสามารถในการจัดการเรียนการสอน ด้วยความเอาใจใส่มุ่งมั่นรับผิดชอบต่องานและการจัดการเรียนการสอน
1) ครูมีการพัฒนาแผนการสอนอยู่เสมอ เพื่อจัดการเรียนการสอน
ที่สอดคล้องกับชีวิตธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับความสนใจของนักเรียนและความต้องการของชุมชนท้องถิ่น ทำให้ครูมีแผนการสอนที่เหมาะสมและสนองตอบต่อจุดมุ่งหมาย
ของหลักสูตร
2) ครูมีความสามารถในการผลิต จัดหา พัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน โดยเน้นที่สื่อ เครื่องมือที่นักเรียนเป็นผู้ใช้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนและเพื่อแสวงหาความรู้
3) ครูมีความสามารถในการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง เน้นการวัดและประเมินผลพฤติกรรมนักเรียน และเน้นทักษะกระบวนการพัฒนาผู้เรียน เช่น กระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา การแสวงหาความรู้ และสรุปองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถเต็มศักยภาพ
4) ครูมีความสามารถในการแสวงหาคิดค้น วิธีการจัดการเรียนการสอน
ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ด้วยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลาย ด้วยการคิด การปฏิบัติการจริง มุ่งปลูกฝังนักเรียนมีพฤติกรรมใฝ่รู้ใฝ่เรียนเช่น การสอนด้วยโครงงาน การให้นักเรียนสร้างผลงานและชิ้นงาน การใช้แหล่งเรียนรู้ในและนอกโรงเรียน ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น แล้วสรุปความรู้ด้วยตนเอง
1.2 ด้านทางสังคม
1) เป็นผู้มีความสุภาพเรียบร้อย มีมนุษยสัมพันธ์ กับเพื่อนร่วมงาน และบุคคลทั่วไป
2) ครูเป็นผู้มีความรับผิดชอบ เสียสละ อุทิศเวลาให้กับงานและโรงเรียน
3) รักษาความสามัคคีของหมู่คณะ ทำงานร่วมกันด้วยความเข้าใจ มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ร่วมกันทำงานไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มีความกลมเกลียวช่วยเหลือซึ่งกันและกันและมีความเห็นอกเห็นใจกัน
4) มีวินัยในตนเองรับผิดชอบงานตนเองให้เกียรติเอาใจเพื่อนร่วมงาน
และประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัยของทางราชการที่ดี
5) มีเจตคติที่ดีต่องานและเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนเพื่อนร่วมอาชีพ
มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลทั่วไปให้เกียรติและยกย่องเพื่อนร่วมงานและบุคคลในชุมชน ทำให้ชุมชนศรัทธาต่อครูและโรงเรียน
1.3 ด้านส่วนตัวของครู
1) เป็นผู้ใฝ่รู้ ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม มาพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ตั้งใจทำงาน รักเด็ก เอาใจใส่และรับผิดชอบต่อการเรียนการสอน อุทิศเวลาทำงานเต็มความสามารถ
2) เป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน มีความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นที่น่าเชื่อถือ เคารพยกย่องถือแก่นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน
3) ได้รับความก้าวหน้า เลื่อนวิทยฐานะในมาตรฐานและวิชาชีพของครู
2. ความพึงพอใจของครูผู้สอนต่อรูปแบบกิจกรรมการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ ปีการศึกษา 2562 พบว่า โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 4 ข้อ อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 12 ข้อโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การเยี่ยมนิเทศชั้นเรียน การสาธิตการจัดการเรียนรู้ การสังเกตการจัดการเรียนรู้ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การให้ศึกษาเอกสารทางวิชาการ
6. ผลการประเมินผลแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียนที่พัฒนาแล้ว และประเมินความพึงพอใจ (D3)
1. ความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการนิเทศภายในของโรงเรียนเทศบาลวัดกู่คำ จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามรายด้าน พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ระดับมากที่สุด 3 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการประเมินผลการนิเทศและการรายงานผล ด้านการกำหนดผู้รับผิดชอบและภารกิจการนิเทศ ด้านการดำเนินการนิเทศภายใน ด้านการปรับปรุงแก้ไข และการวางแผนการนิเทศ ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า
1.1 ด้านการกำหนดผู้รับผิดชอบและภารกิจการนิเทศ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 2 ข้อ ระดับมากที่สุด จำนวน 3 ข้อ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การกำหนดขอบข่ายและเนื้อหาของการนิเทศภายใน การกำหนดกรอบและความรับผิดชอบในการนิเทศภายในของคณะกรรมการนิเทศภายใน และการสร้างเครื่องมือการนิเทศภายใน ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การกำหนดคุณสมบัติของคณะกรรมการนิเทศภายใน
1.2 ด้านการวางแผนการนิเทศ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย
3 ลำดับแรก ได้แก่ การประชุมครูและบุคลากรร่วมวางแผนการนิเทศภายใน การจัดทำแผนการนิเทศประจำปี และการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการนิเทศของครูและบุคลากร ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การเชิญวิทยากรภายนอกมาให้ความรู้เกี่ยวกับการนิเทศภายใน
1.3 ด้านการดำเนินการนิเทศภายในโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก จำนวน 4 ข้อ ระดับมากที่สุด จำนวน 5 ข้อ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ ผู้บริหารสนับสนุนส่งเสริมการนิเทศภายในทั้งด้านวิชาการและด้านงบประมาณ คณะกรรมนิเทศภายในดำเนินการตามแผนที่วางไว้ และการประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินการนิเทศภายในตามแผนที่วางไว้ ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือการจัดอบรม สัมมนาทางวิชาการให้กับครูและบุคลากร
1.4 ด้านการประเมินผลการนิเทศและการรายงานผล โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ทุกข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับแรก ได้แก่ การวิเคราะห์ผลการประเมินในด้านปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น การกำหนดประเด็นการประเมินให้ครอบคลุมทุกกิจกรรม การประชุมชี้แจงเกี่ยวกับการประเมินผลการนิเทศภายใน ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การวิเคราะห์ผลการประเมินในด้านความสำเร็จ
1.5 ด้านการปรับปรุงแก้ไข โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ส่วนมากมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย
3 ลำดับแรก ได้แก่ การเสริมแรงให้ขวัญกำลังใจ การนำผลการประเมินในด้านปัญหา อุปสรรคที่มาปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ การจัดทำรายงานผลการประเมิน ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ การรายงานผลประเมินการนิเทศภายในให้หน่วยงานภายนอกทราบ
ดาวน์โหลดบทคัดย่อ
แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศภายในของโรงเรียน