การแต่งเครื่องแบบและการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของข้าราชการ

1
15030

การแต่งกายเป็นสิ่งที่แสดงถึงบุคลิกลักษณะของบุคคล การแต่งกายที่ถูกต้องและเหมาะสม จึงเป็นการส่งเสริมให้บุคคลนั้นมีบุคลิกภาพที่ดี ซึ่งการแต่งกายของข้าราชการ ลูกจ้างประจําและพนักงานราชการนั้นได้แก่การแต่งเครื่องแบบซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ดังนั้น กรณีนี้จึงขอกล่าวถึงประเด็นที่ควรทราบ ได้แก่ หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องสําหรับการแต่งเครื่องแบบและการประดับ ประเภทของเครื่องแบบ ลักษณะของเครื่องแต่งแบบ ลําดับเกียรติ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ การประดับเครื่องหมายเข็มพระราชทาน และ ตัวอย่างภาพแสดงการแต่งเครื่องแบบ

หลักเกณฑ์สําหรับการแต่งเครื่องแบบและการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

การแต่งเครื่องแบบและการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของข้าราชการ ลูกจ้างประจําและ พนักงานราชการ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังนี้
ก.
๑.
– พระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ. ๒๔๗๘
– กฎของสํานักนายกรัฐมนตรีฉบับที่ ๗๑ (พ.ศ. ๒๕๒๓) ออกตามความใน พระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘
– กฎของสํานักนายกรัฐมนตรีฉบับที่ ๙๔ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ออกตามความใน พระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช ๒๔๗๘
๒. ลูกจ้างประจํา เป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบ ลูกจ้างประจํา พ.ศ. ๒๕๒๗
๓. พนักงานราชการ เป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงาน ราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ และประกาศคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ เรื่อง เครื่องแบบพิธีการของ พนักงานราชการ พ.ศ. ๒๕๕๒
ข. การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เป็นไปตามระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย พ.ศ. ๒๕๔๑
ค. การประดับเครื่องหมายเข็มพระราชทาน เป็นไปตามหนังสือสํานักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีที่ นร ๐๕๐๘/ว ๖๔ ลงวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เรื่อง การประดับเครื่องหมาย เข็มพระราชทาน

ประเภทของเครื่องแบบ แบ่งเป็น
ก.
๑. เครื่องแบบปฏบัติงาน (ข้าราชการประจําการ) มี ๒ ประเภท ได้แก่
๑.๑ เครื่องแบบสีกากีคอพับ
ประเภทของงาน : แต่งสําหรับทํางานประจําวัน พลเรือนเรียกเครื่องแบบตรวจการ

๒.๒ เครื่องแบบสีกากีคอแบะ
ประเภทของงาน : แต่งสําหรับทํางานประจําวัน หรือแต่งไปในงานตามกําหนดการของงาน

๒. เครื่องแบบพิธิีการ (ขาราชการประจำการและข้าราชการนอกประจําการ) มี ๕ ประเภท คือ
๒.๑ เครื่องแบบปกติขาว
ประเภทของงาน : ใช้ในงาน เช่น พิธีวางศิลาฤกษ์พิธีเปิดสถานที่ราชการ งาน เลี้ยงที่เกี่ยวกับราชการ การรับเสด็จพระราชดําเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ งาน วางพวงมาลาอนุสาวรีย์ต่าง ๆ งานส่วนตัว เช่น งานมงคลสมรส งานพระราชทานเพลิงศพ ฯลฯ

๒.๒ เครื่องแบบปกติกากีคอตั้ง
ประเภทของงาน : ใช้แต่งตามกําหนดการของงาน ส่วนมากเป็นเครื่องแบบสําหรับ ข้าราชการสํานักพระราชวังในการปฏิบัติราชการนอกสถานที่

๒.๓ เครื่องแบบครึ่งยศ
ประเภทของงาน : ส่วนมากเป็นงานซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราช ดําเนิน แต่เป็นงานที่มีความสําคัญรองไปจากงานซึ่งต้องแต่งเครื่องแบบเต็มยศ เช่น งานเสด็จพระราชดําเนิน พระราชทานเพลิงข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หรือบุคคลสําคัญ ฯลฯ

๒.๔ เครื่องแบบเต็มยศ
ประเภทของงาน : พระราชพิธีเปิดสมัยประชุมรัฐสภา พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระราชพิธีฉัตรมงคล งานสโมสรสันนิบาต ทําเนียบรัฐบาล

๒.๕ เครื่องแบบสโมสร
ประเภทของงาน : แต่งสําหรับการเลี้ยงอาหารค่ําที่มีชาวต่างประเทศผู้มีเกียรติสูง หรือในงานพระราชทานเลี้ยงในพระราชสํานัก ตามปกติไม่แต่งก่อนเวลา ๑๘.๐๐ น. ส่วนในเวลากลางวัน เช่น งานเอกอัครราชทูตเข้าเฝ้าฯ ถวายสาสน์ตราตั้ง หรือเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น เป็นเครื่องแต่งกายแบบเต็มยศ สําหรับเวลาค่ําที่เรียกว่า Full Dress Tuxedo หรือ White Tie เครื่องแบบสโมสร มี ๓ แบบ คือ เครื่องแบบสโมสรแบบ ก. เครื่องแบบสโมสรแบบ ข. และเครื่องแบบสโมสร แบบ ค.

ข. ลูกจ้างประจํา
๑. เครื่องแบบปฏิบัติงาน
๒. เครื่องแบบพิธิีการ มี ๓ ประเภท คือ
๒.๑ เครื่องแบบปกติขาว
๒.๒ เครื่องแบบครึ่งยศ
๒.๓ เครื่องแบบเต็มยศ
ค. พนักงานราชการ
๑. เครื่องแบบปฏบัติงาน
๒. เครื่องแบบพิธิีการ มี ๓ ประเภท คือ
๒.๑ เครื่องแบบปกติขาว
๒.๒ เครื่องแบบครึ่งยศ
๒.๓ เครื่องแบบเต็มยศ

ลําดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์
การจัดลําดับเกียติของเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์จะเรียงตาม ประเภท ตระกูลหรือชั้นตราตามลําดับ เพื่อประโยชน์ที่ผู้ได้รับพระราชทานจะใช้เป็นหลักในการประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับพระราชทาน ตลอดจนเพื่อการอื่น ๆ ได้อย่าง เหมาะสมกล่าวคือการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์โดยเรียงตามลําดับ ดังนี้
๑. เครื่องราชอิสริยาภรณ์
๑.๑ ราชมิตราภรณ์
๑.๒ มหาจักรีบรมราชวงศ์
๑.๒ นพรัตนราชวราภรณ์
๑.๔ ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ
๑.๕ รัตนวราภรณ์
๑.๖ ปฐมจุลจอมเกล้า
๑.๗ รามาธิบดีชั้นที่ ๑ (เสนางคะบดี)
๑.๘ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
๑.๙ มหาวชิรมงกุฎ
๑.๑๐ ประถมาภรณ์ช้างเผือก
๑.๑๑ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
๑.๑๒ ปฐมดิเรกคุณาภรณ์
๑.๑๓ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
๑.๑๔ รามาธิบดีชั้นที่ ๒ (มหาโยธิน)
๑.๑๕ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก
๑.๑๖ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย
๑.๑๗ ทุติยดิเรกคุณาภรณ์
๑.๑๘ ทุติยจุลจอมเกล้า
๑.๑๙ รามาธิบดีชั้นที่ ๓ (โยธิน)
๑.๒๐ วัลลภาภรณ์
๑.๒๑ ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
๑.๒๒ รามาธิบดีชั้นที่ ๔ (อัศวิน)
๑.๒๓ ตริตาภรณ์ช้างเผือก
๑.๒๔ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย
๑.๒๕ ตติยดิเรกคุณาภรณ์
๑.๒๖ รามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ
๑.๒๗ ตติยจุลจอมเกล้า
๑.๒๘ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก
๑.๒๙ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย
๑.๓๐ จตุตถดิเรกคุณาภรณ์
๑.๓๑ ตติยานุจุลจอมเกล้า
๑.๓๒ จตุตถจุลจอมเกล้า
๑.๒๓ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก
๑.๓๔ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย
๑.๓๕ เบญจมดิเรกคุณาภรณ์
๑.๓๖ วชิรมาลา

๒. เหรียญราชอิสริยาภรณ์
๒.๑ เหรียญบําเหน็จกล้าหาญ
๒.๑.๑ เหรียญรามมาลา เข็มกล้ากลางสมร
๒.๑.๒ เหรียญรามมาลา
๒.๑.๓ เหรียญกล้าหาญ หรือเหรียญดุษฎีมาลา เข็มกล้าหาญ
๒.๑.๔ เหรียญชัยสมรภูมิ
๒.๑.๕ เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๑
๒.๑.๖ เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๒ ประเภทที่ ๑
๒.๑.๗ เหรียญราชนิยม*
๒.๑.๘ เหรียญปราบฮ่อ*
๒.๑.๙ เหรียญงานพระราชสงครามยุโรป*
๒.๑.๑๐ เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ*
๒.๑.๑๑ เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ ๒ ประเภทที่ ๒
๒.๑.๑๒ เหรียญศานติมาลา*
๒.๒ เหรียญบําเหน็จในราชการ
๒.๒.๑ เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน หรือเข็มศิลปวิทยา
๒.๒.๒ เหรียญช่วยราชการเขตภายใน*
๒.๒.๓ เหรียญราชการชายแดน
๒.๒.๔ เหรียญทองช้างเผือก
๒.๒.๕ เหรียญทองมงกุฎไทย
๒.๒.๖ เหรียญทองดิเรกคุณาภรณ์
๒.๒.๗ เหรียญเงินช้างเผือก
๒.๒.๘ เหรียญเงินมงกุฎไทย
๒.๒.๙ เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์
๒.๒.๑๐ เหรียญจักรมาลา หรือเหรียญจักรพรรดิมาลา
๒.๒.๑๑ เหรียญศารทูลมาลา*
๒.๒.๑๒ เหรียญบุษปมาลา*
๒.๒.๑๓ เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ ๑
๒.๒.๑๔ เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ ๒
๒.๒.๑๕ เหรียญลูกเสือสรรเสริญ ชั้นที่ ๓
๒.๒.๑๖ เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ ๑
๒.๒.๑๗ เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ ๒
๒.๒.๑๘ เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ ๓
๒.๓ เหรียญบําเหน็จในพระองค์พระมหากษัตริย์
๒.๓.๑ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔*
๒.๓.๒ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๕ หรือเหรียญดุษฎีมาลาเข็มราชการใน พระองค์*
๒.๓.๓ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๖*
๒.๓.๔ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๗*
๒.๓.๕ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๘*
๒.๓.๖ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๙
๒.๓.๗ เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ ๕*
๒.๓.๘ เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ ๖*
๒.๓.๙ เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ ๗*
๒.๓.๑๐ เหรียญราชรุจิ รัชกาลที่ ๙
๒.๔ เหรียญที่พระราชทานเป็นที่ระลึก (ประชาชนทั่วไปสามารถจัดหามาประดับได้)
๒.๔.๑ เหรียญสตพรรษามาลา*
๒.๔.๒ เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา*
๒.๔.๓ เหรียญประพาสมาลา*
๒.๔.๔ เหรียญราชินี*
๒.๔.๕ เหรียญทวีธาภิเศก*
๒.๔.๖ เหรียญรัชมงคล*
๒.๔.๗ เหรียญรัชมังคลาภิเศก*
๒.๔.๘ เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๖*
๒.๔.๙ เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๗*
๒.๔.๑๐ เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๙**
๒.๔.๑๑ เหรียญชัย*
๒.๔.๑๒ เหรียญเฉลิมพระนคร ๑๕๐ ปี*
๒.๔.๑๓ เหรียญงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ
๒.๔.๑๔ เหรียญที่ระลึกในการเสด็จพระราชดําเนินเยือนสหรัฐอเมริกาและ ทวีปยุโรป
๒.๔.๑๕ เหรียญรัชดาภิเษก
๒.๔.๑๖ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
๒.๔.๑๗ เหรียญสนองเสรีชน***
๒.๔.๑๘ เหรียญที่ระลึกพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
๒.๔.๑๙ เหรียญที่ระลึกสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี
๒.๔.๒๐ เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระชนมายุ ๕๐ พรรษา
๒.๔.๒๑ เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระชนมายุ ๘๔ พรรษา
๒.๔.๒๒ เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีเฉลิมพระชนมายุ ๖๐ พรรษา
๒.๔.๒๓ เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพล อดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก
๒.๔.๒๔ เหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ
๒.๔.๒๕ เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพล อดุลยเดช มหามงคลสมัยพระราชพิธีกาญจนาภิเษก
๒.๔.๒๖ เหรียญเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพล อดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ
๒.๔.๒๗ เหรียญกาชาดสรรเสริญ**
๒.๔.๒๘ เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๑**
๒.๔.๒๙ เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๒**
๒.๔.๓๐ เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ ๓**
*     เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่พ้นสมัยการพระราชทานแล้ว ทายาทไม่สามารถนํามาประดับได้
**   ประดับได้เฉพาะผู้ได้รับพระราชทาน
*** ประดับได้เฉพาะผู้ได้รับตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย

การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์
การแต่งเครื่องแบบและการประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต้องเป็นไปตามหมายกําหนดการที่ สํานักพระราชวังระบุ หรือตามกําหนดนัดหมายของทางราชการระบุ โดยพิจารณาความเหมาะสมหลาย ประการประกอบกันแล้ว เช่น ความเหมาะสมด้านสถานที่ พิธีการ (เป็นการเข้าเฝ้าฯ ตามปกติหรือวาระพิเศษ) หรือบุคคล (เป็นงานพระราชทานเพลิงศพผู้ใด) เป็นต้น

การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ปฏิบัติดังนี้
๑. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ได้รับพระราชทานเข้าเฝ้าฯ รับ พระราชทาน มิให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ก่อนเวลาที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เข้าเฝ้าฯ รับ พระราชทาน
หากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เข้าเฝ้าฯรับพระราชทานแล้ว แต่ไม่สามารถเข้าเฝ้าฯ รับ พระราชทานได้ จะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นได้ นับตั้งแต่ผ่านพ้นพิธีพระราชทานแล้ว เว้นแต่ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้เข้าเฝ้าฯ ในโอกาสต่อไป
หากมีความจําเป็นไม่สามารถรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในวันพิธีพระราชทาน ได้ในกรณีใดก็ตาม จะประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้นได้ นับตั้งแต่สิ้นสุดพิธีพระราชทาน
๒. การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดมีสายสะพาย (บุรุษและสตรี)
กรณีหมายกําหนดการหรือกําหนดนัดหมายของทางราชการ ระบุชนิดของสายสะพาย ให้ สวมสายสะพายตามที่หมายกําหนดการระบุ โดยประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของแต่ละ ตระกูลที่ได้รับพระราชทานตามลําดับ ผู้ที่มิได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามที่หมายกําหนดการ ระบุไว้หรือกําหนดนัดหมายของทางราชการ ให้สวมสายสะพายชั้นสูงสุดหรือเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุด ที่ได้รับพระราชทาน
กรณีหมายกําหนดการหรือกําหนดนัดหมายของทางราชการมิได้ระบุชนิดของสายสะพาย ให้สวมสายสะพายที่ลําดับเกียรติสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน โดยมีวิธีปฏิบัติ ดังนี้
๒.๑ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) – สะพายบ่าซ้ายเฉียงลงทางขวา
๒.๒ มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) – สะพายบ่าซ้ายเฉียงลงทางขวา
๒.๓ ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) – สะพายบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย
๒.๔ ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) – สะพายบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย
ทั้งนี้ หากมิได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพาย ให้ประดับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลําดับเกียรติสูงสุดที่ได้รับพระราชทาน
๓. การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดดวงตราห้อยกับแพรแถบสวมคอ ซึ่งเป็น เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานให้แก่ บุรุษ ได้แก่
๓.๑ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
๓.๒ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
๓.๓ ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
๓.๔ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลําดับที่ ๒.๑ และ ๒.๒ มีดาราประกอบ ส่วนลําดับที่ ๒.๓ และ ๒.๔ ไม่มีดาราประกอบ มีวิธีประดับโดยให้คล้องแพรแถบไว้ในปกคอเสื้อ ให้ห่วงและแพรแถบห้อยดวง ตราลอดออกมานอกเสื้อระหว่างตะขอตัวล่างที่ขอบคอเสื้อกับดุมเม็ดแรกพองาม และให้ส่วนสูงสุดของดวงตรา จรดขอบล่างของคอเสื้อ หากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดสวมคอมากกว่า ๒ ดวง เพื่อความ เหมาะสมและสวยงามควรประดับเพียง ๒ ดวง โดยประดับดวงตราที่มีลําดับเกียรติรองลงมาให้แพรแถบลอด ออกมาจากรังดุมเม็ดที่สอง ให้แพรแถบอยู่ใต้ดุม ส่วนวิธีประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดนี้ (เฉพาะ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีดารา) ให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

ตัวอย่างแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญพระราชทานเป็นที่ระลึก

๔. การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดดวงตราห้อยกับแพรแถบประดับที่อกเสื้อ ซึ่ง เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานให้แก่ บุรุษ ได้แก่
๔.๑ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
๔.๒ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
๔.๓ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
๔.๔ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
โดยให้ประดับไว้ที่เหนือปกกระเป๋าเสื้อเบื้องซ้ายต่ํากว่าแนวรังดุมเม็ดแรกลงมา ให้ดวงตราอยู่ระหว่างขอบบนปกกระเป๋าพองาม และหากประดับตั้งแต่สองดวงขึ้นไป ให้เรียงลําดับเกียรติ จากด้านรังดุมไปปลายบ่าซ้าย
๕. การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดดวงตราห้อยกับแพรแถบประดับที่หน้าบ่าเสื้อ ซึ่งเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระราชทานให้แก่สตรีได้แก่
๕.๑ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
๕.๒ ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
๕.๓ ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
๕.๔ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
๕.๕ จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
๕.๖ จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
๕.๗ เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
๕.๘ เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
โดยให้ประดับที่หน้าบ่าเสื้อเบื้องซ้ายพองาม และหากประดับตั้งแต่สองดวงขึ้นไป ให้ประดับดวงตราที่มีลําดับเกียรติรองมาในระดับต่ํากว่าดวงตราที่มีลําดับเกียรติสูงกว่า โดยเรียงลําดับจาก ด้านรังดุมลดหลั่นไปปลายบ่าซ้าย ส่วนการประดับดารา (เฉพาะเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีดารา) ให้ประดับที่ อกเสื้อเบื้องซ้ายพองาม
๖. การประดับเหรียญราชอิสริยาภรณ์(เหรียญจักรพรรดิมาลา)
๖.๑ เหรียญราชอิสริยาภรณ์สําหรับบุรุษ ให้ปฏิบัติตามวิธีประดับตามข้อ ๓
๖.๒ เหรียญราชอิสริยาภรณ์สําหรับสตรี ให้ปฏิบัติตามวิธีประดับตามข้อ ๔
ทั้งนี้ การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์จะยึดแนวรังดุมเป็นหลัก โดยเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญราชอิสริยาภรณ์ที่มีลําดับเกียรติสูงจะเรียงลําดับจากแนวรังดุมออกไป ปลายบ่าซ้ายตามลําดับ
๗. การประดับดาราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การประดับดาราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุกชนิดที่มีดารา กับเครื่องแบบเต็มยศ หรือครึ่งยศของบุรุษ จะประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้ายระดับใต้ชายปกกระเป๋า ส่วนเครื่องแบบเต็มยศหรือครึ่งยศ ของสตรี กรณีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายตระกูลและมีดาราหลายดวง มีวิธีประดับตาม ความเหมาะสมและสวยงามกับสายสะพายที่จะสะพายจากบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย หรือจากบ่าซ้ายเฉียงลง ทางขวา ได้หลายแบบ ดังนี้
๗.๑ การประดับดารา ๒ ดวง
– แบบที่ ๑
๑) ดาราดวงแรก ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้ายพองาม
๒) ดาราดวงที่สองที่มีลําดับเกียรติรองลงมา ประดับในระดับต่ํากว่าดารา ดวงแรกเยื้องไปทางซ้าย


– แบบที่ ๒
๑) ดาราดวงแรก ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้ายพองาม
๒) ดาราดวงที่สองที่มีลําดับเกียรติรองลงมา ประดับในแนวเดียวกับดวง ดาราเยื้องไปทางซ้าย


– แบบที่ ๓
๑) ดาราดวงแรก ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้ายพองาม
๒) ดาราดวงที่สองที่มีลําดับเกียรติรองลงมา ประดับในระดับต่ํากว่าดารา ดวงแรกในแนวดิ่ง (ดาราดวงที่สองอยู่ตรงกับดาราดวงแรก)


7.๒ การประดับดารา ๓ ดวง
– แบบที่ ๑
๑) ดาราดวงแรกที่มีลําดับเกียรติสูงสุดประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้ายพองาม
๒) ดาราดวงที่มีลําดับเกียรติสูงเป็นลําดับสอง ประดับในระดับต่ํากว่าดารา ดวงแรกในแนวดิ่ง (ดาราดวงที่สองอยู่ตรงกับดาราดวงแรก)
๓) ดาราดวงที่มีลําดับเกียรติสูงเป็นลําดับสาม ประดับในแนวเดียวกับดารา ดวงที่สองเยื้องไปทางซ้าย


– แบบที่ ๒
๑) ดาราดวงแรกที่มีลําดับเกียรติสูงสุดประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้ายพองาม
๒) ดาราดวงที่มีลําดับเกียรติสูงเป็นลําดับสอง ประดับในระดับต่ํากว่าดารา ดวงแรกเยื้องไปทางซ้าย
๓) ดาราดวงที่มีลําดับเกียรติสูงเป็นลําดับสาม ประดับในระดับต่ํากว่าดารา ดวงที่สองเยื้องไปใกล้แนวรังดุม


– แบบที่ ๓
๑) ดาราดวงแรกที่มีลําดับเกียรติสูงสุดประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้ายพองาม
๒) ดาราดวงที่มีลําดับเกียรติสูงเป็นลําดับสอง ประดับในแนวเดียวกับดารา ดวงแรกเยื้องไปทางซ้าย
๓) ดาราดวงที่มีลําดับเกียรติสูงเป็นลําดับสาม ประดับในระดับต่ํากว่าดารา ทั้งสองดวงข้างต้น โดยให้มีระยะห่างจากดาราดวงแรกเท่ากับดาราดวงทที่สอง


– แบบที่ ๔
๑) ดาราดวงแรกที่มีลําดับเกียรติสูงสุดประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้ายพองาม
๒) ดาราดวงที่มีลําดับเกียรติสูงเป็นลําดับสอง ประดับในระดับต่ํากว่าดารา ดวงแรกเยื้องไปทางซ้าย
๓) ดาราดวงที่มีลําดับเกียรติสูงเป็นลําดับสาม ประดับในระดับต่ํากว่าดารา ดวงที่สองเยื้องไปทางซ้าย

นอกจากนี้ ยังสามารถประดับได้ตามรูปแบบอื่นที่เหมาะสมและสวยงามอีก โดยยึด หลักให้ดาราที่มีลําดับเกียรติสูงสุดอยู่บนสุด กรณีประดับดาราดวงที่สองในระดับเดียวกัน ดาราดวงแรกที่มี ลําดับเกียรติสูงสุดจะต้องอยู่ใกล้แนวรังดุม ทั้งนี้ให้รวมถึงกรณีประดับดารามากกว่า ๓ ดวงขึ้นไปด้วย

การประดับเครื่องหมายเข็มพระราชทาน
เครื่องหมายเข็มพระราชทาน เป็นเครื่องหมายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็น เข็มที่ระลึกในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลต่าง ๆ ให้แก่ข้าราชการและคณะบุคคลต่าง ๆ เพื่อเป็นการเฉลิม พระเกียรติและแสดงความจงรักภักดี เช่น

เข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

เข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

เข็มที่ระลึกสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

การประดับเครื่องหมายเข็มพระราชทานกับเครื่องแบบ มีวิธีการดังนี้
1. เครื่องแบบปฏบัติราชการ (สีกากี)
– บุรษุ ให้ประดับเครื่องหมายเข็มพระราชทานที่อกเสื้อเบื้องขวาเหนือปากกระเป๋าเสื้อ (เหนือป้ายชื่อ)
– สตร ี ให้ประดับเช่นเดียวกับบุรุษ
2. เครื่องแบบพิธีการ (ปกติขาว ครึ่งยศและเต็มยศ)
– บุรษุ ให้ประดับเครื่องหมายเข็มพระราชทานที่อกเสื้อเบื้องขวาเหนือปากกระเป๋าเสื้อ
– สตรี ให้ประดับเครื่องหมายเข็มพระราชทานที่อกเสื้อเบื้องขวาเหนือปากกระเป๋าเสื้อ โดย อยู่ในระดับเทียบเคียงกับบุรุษ
ทั้งนี้ ห้ามประดบเครื่องหมายเข็มพระราชทานในงานอวมงคล เช่น งานศพ

ตัวอย่างภาพแสดงการแต่งเครื่องแบบ
เครื่องแบบเต็มยศ (ม.ป.ช. และม.ว.ม.)

เครื่องแบบเต็มยศ (ม.ว.ม. และ ป.ช.)

เครื่องแบบเต็มยศ (ป.ช. และ ป.ม.)

เครื่องแบบเต็มยศ (ป.ม. และ ท.ช.)

เครื่องแบบเต็มยศ (ท.ช. และ ท.ม.)

เครื่องแบบเต็มยศ (ท.ม. และ ต.ช.)

เครื่องแบบเต็มยศ (ต.ม. และ จ.ช.)

เครื่องแบบเต็มยศ (จ.ช. และ จ.ม.)

เครื่องแบบเต็มยศ (บ.ช. และ บ.ม.)

ขอบคุณที่มา: www.rd.go.th
อ้างอิง: http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/roa/Ry150_54.pdf
อย่าลืม กดถูกใจเพจสถานีครูดอทคอม ไว้ด้วยนะครับ จะได้ไม่พลาดข่าวครู สื่อการเรียนการสอนของครูจากเรา เพราะเราอยากเห็นคุณครูมีความสุข

Comments

comments

- Advertisement -

1 ความคิดเห็น

  1. ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรในช่วงเช้าการแต่งกายข้าราชการเครื่องแบบเต็มยศไว้ทุกข์ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ได้รับชั้นสูงสุด อยากทราบว่าถ้าสูงสุดคือท.ช. และมีเหรียญจักรพรรดิมาลาด้วยสามารถนำมาประดับได้หรือไม่ ถ้าได้เรียงลำดับใดขึ้นก่อนหลังสำหรับสตรี ขอบพระคุณค่ะ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่