ครูการเงิน ครูพัสดุ เป็นแล้วได้อะไร ?

0
3759

เพิ่มเพื่อน

วันที่ 30 กันยายน ของทุกปีเป็นวันปิดงบประมาณของระบบราชการ หรือที่เรียกกันว่า วันสิ้นปีงบประมาณนั่นเอง ซึ่งแน่นอนว่าในหนึ่ง ๆ จำเป็นต้องมีการใช้เงินเพื่อนำมาพัฒนา จัดซื้อ จัดจ้างนู่นนี่นั่นมากมายซึ่งมีระบุในแผนปฏิบัติงานของหน่วยงานนั้น ๆ แต่ประเด็นมันอยู่ที่ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบ ซึ่งหน่วยงานที่ จขกท.หมายถึงอยู่นี่ก็คือ “โรงเรียน” ครับ แน่นอนว่า คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานการเงิน บัญชี จัดซื้อ จัดจ้าง เบิกจ่าย บลา ๆๆ ทั้งหลายแหล่นี่ก็คือ “ครู” ในโรงเรียนนั้น ๆ นั่นแหล่ะ

และที่ทุก ๆ คนรู้กันดีอยู่แล้วว่า ครูหนึ่งคนต้องมีภาระหน้าที่ในการที่ต้องจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนอย่างต่ำสัปดาห์ละ 18 ชั่วโมง แน่นอนว่าจะต้องมีการเตรียมการสอน ทำสื่อ ทำกิจกรรม ฯลฯ ลำพังแค่นี้ก็เหนื่อยจะแย่อยู่แล้ว ยังต้องมาทำงานด้านการเงิน พัสดุอะไรพวกนี้อีก ซึ่งถ้าจะบอกว่า ครูทุกคนก็มีภาระนอกเหนืองานสอนกันทั้งนั้นแหล่ะ เพราะโรงเรียนหนึ่ง ๆ ก็แบ่งเป็น 4 งานบริหารอยู่แล้ว (บริหารงานวิชาการ , บริหารงานงบประมาณ , บริหารงานบุคคล , บริหารงานทั่วไป) แต่ที่ครูพวกนี้ต่างออกไปคือ มี พรบ.หรือกฏหมายการเงินคุมอยู่อีกทีไงครับ เอาง่าย ๆ คือครู (ประจำการ)

ท่านใดที่ได้เพลี้ยงพล้ำมารับผิดชอบด้านนี้แล้ว ก็เท่ากับว่าตอนนี้ท่านได้เข้าคุกไปครึ่งตัวแล้ว เพราะเงินที่ท่านดูแล พัสดุที่ท่านรับผิดชอบ มันคือเงินแผ่นดิน เงินหลวง พัสดุที่มาจากภาษีประชาชน นั่นหมายความว่าหากท่านทำอะไรพลาดแม้เพียงนิด ท่านมีสิทธิ์ไปนอนกินข้าวมันไก่ในคุกได้เลยทีเดียว ถึงจะบอกว่ามันมีกระบวนการตรวจสอบที่รอบคอบอยู่ก็ตาม แต่นั่นก็ต้องแลกมาด้วยความเหน็ดเหนื่อย ภาระงานที่มากขึ้นตามไปด้วย และยิ่งทุกวันนี้นโยบายจากผู้หลักผู้ใหญ่แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา ทำให้ภาพของครูเหล่านี้ต้องมานั่งหัวฟูอยู่กับเอกสารกองเป็นตั้ง ๆ ไม่ใช่งานหรือการบ้านเด็กน้อยหรอกนะ เอกสารการเงิน เบิกจ่ายทั้งนั้น ไม่ทำก็ไม่ได้ เพราะหากปีงบ ฯ นี้ไม่ทำ ปีงบ ฯ หน้าก็จะถูกตัดงบนั้นออกไป

สรุปคือเป็นไฟต์บังคับที่ต้องทำ และพวกงานเร่งด่วนก็อีก สั่งเช้าจะเอาบ่าย สั่งสาย ๆ จะเอาเดี๋ยวนี้ จึงทำให้ภาพที่ครูเหล่านั้นต้องเคร่งเครียดกับการเบิกจ่ายมากกว่าการที่จะต้องมานั่งเตรียมการสอน เตรียมสื่อ เพราะไม่มีเวลาเลย ผู้บริหารการศึกษาหลาย ๆ ท่านก็แนะมาว่าให้ฝึกแบ่งเวลา ถึงจะแบ่งได้ดีแค่ไหน เวลามันก็ไม่เพิ่มไปมากกว่า 24 ชั่วโมงหรอกครับท่าน ในที่สุดต้องมาทำงานในวันหยุด วันเสาร์ อาทิตย์ แทนที่จะได้กลับบ้านไปหาครอบครัว หาลูก ที่รออยู่ที่บ้าน บางคนซ้ำร้าย มีปัญหากับครอบครัวถึงขั้นทะเลาะกันกัน เหตุเพราะไม่มีเวลาให้ครอบครัวเพราะบางวันต้องเลิกงานดึก ๆ ดื่น ๆ เดินทางกลับบ้านก็อันตราย (ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง) ส่วนคนที่ครอบครัวเข้าใจก็ถือว่าโชคดีไป หลาย ๆ ครั้งที่ผมเห็นครูเหล่านี้แอบร้องไห้ แอบโทรศัพท์หาพ่อ หาแม่ และระบายเรื่องราวเหล่านี้ให้ครอบครัวฟัง ซึ่งก็คงจะช่วยอะไรได้ไม่มากนอกจากกำลังใจเล็ก ๆ น้อยผ่านหูโทรศัพท์เท่านั้น แล้วบุคลากรเหล่านี้จะได้อะไรจากตรงนี้ เพราะแน่นอนว่าไม่มีใครทำงานได้เพอร์เฟค เป๊ะไปซะหมดหรอก วันดีคืนดีต้องไปนอนในคุก หรือถูกตั้งกรรมการสอบสวนวันไหนยังไม่รู้เลย ดีหน่อยก็อาจถูกปรับเป็นเงินเท่าเงินเดือน แลกกับสิ่งที่เสียไป อย่างน้อยก็เรื่องสุขภาพแหล่ะครับ ที่ไปแน่ ๆ และระเบียบโน่นนี่นั่นก็ซับซ้อนวุ่นวายซะเหลือเกิน อะไรหนักหนาก็ไม่รู้ แล้วบุคลากรเหล่านี้มีอะไรเป็นเครื่องการันตีความมั่นคงในอาชีพข้าราชการของเขาบ้าง ตอนเรียนในมหาวิทยาลัยก็ไม่มีวิชาการเงิน การพัสดุสอนเสียด้วย เข้ามาเป็นข้าราชการครูด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักในวิชาชีพ รักในความเป็นครู รักที่จะสั่งสอนถ่ายทอดวิชาให้แก่ เปี่ยมด้วยอุดมการณ์ความรักต่าง ๆ นานา ก็ต้องมาถดถอยไปเพราะเหตุนี้นะหรือ ? มันใช่แล้วหรือ ?


…หากจะฝากไปถึงผู้หลักผู้ใหญ่ในกระทรวง ในสภา ก็คงเป็นเรื่องที่ไกลตัวไป เอาเป็นว่า จขกท.ขอเป็นกำลังใจให้ ครูพัสดุทุกท่านนะครับ ผมเองยังไม่ได้เป็นข้าราชการหรอกครับ แต่ได้ทำงานในส่วนที่ได้เห็น ได้รู้มา เกี่ยวกับภาระเหล่านั้นในหน่วยงานราชการหนึ่ง ๆ นั้นเหมือนกันครับ เลยเกิดคำถามขึ้นในใจเสมอว่า เราต้องไปเจออะไรแบบนี้หรือไม่ ถ้าเจอจริง ๆ จะทำอย่างไร แต่วันนั้นยังมาไม่ถึงทำได้ก็แค่ช่วย เท่าที่ช่วยได้ในส่วนที่รับผิดชอบได้ และรวมถึงหน่วยงานราชการอื่น ๆ นอกเหนือจากโรงเรียนด้วยนะครับ …ท้ายนี้ ผมอาจเขียนกระทู้วกไป วนมาบ้างก็ต้องขอภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ อยากจะเป็นส่วนหนึ่งในการแสดงความเห็นใจจริง ๆ ครับ

ขอบคุณที่มา: กระทู้พันทิป

อย่าลืมกดถูกใจเพจสถานีครูดอทคอม ไว้ด้วยนะครับ จะได้ไม่พลาดข่าวครู สื่อการเรียนการสอนของครูจากเรา เพราะเราอยากเห็นคุณครูมีความสุข

Comments

comments

- Advertisement -

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่