ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของจังหวัดชัยภูมิ
- This topic has 0 ข้อความตอบกลับ, 1 เสียง, and was last updated 1 year, 7 months มาแล้ว by พัทธนันท์ พูนประสิทธิ์.
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
-
8 เมษายน 2023 เวลา 12:45 pm #14501
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาพอนาคตทางยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา ในศตวรรษที่ 21 ของจังหวัดชัยภูมิ และความสอดคล้องและความเป็นไปได้ในการนำสู่การปฏิบัติของข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ผู้ทรงคุณวุฒิได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purpose Sampling) จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมที่ส่งผลต่อภาพอนาคตด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของจังหวัดชัยภูมิ และ 2) แบบประเมินความสอดคล้องและความเป็นไปได้ในการนำสู่การปฏิบัติของข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งการเก็บข้อมูลครั้งนี้ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บข้อมูล แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพแวดล้อมและรวบรวมข้อมูลเหตุการณ์ (Events) ปัจจุบันและแนวโน้ม (Trends) ของเหตุการณ์อนาคตด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ ระยะที่ 2 พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของจังหวัดชัยภูมิ โดยสร้างภาพอนาคตและนำภาพอนาคตไปวิเคราะห์หาโอกาสและอุปสรรค (O&T) เพื่อสร้างทางเลือกทางยุทธศาสตร์ (Strategic Options) โดยการจัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพอนาคตการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของจังหวัดชัยภูมิ และระยะที่ 3 ประเมินความสอดคล้องและความเป็นไปได้ในการนำสู่การปฏิบัติของข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งผลการวิจัย พบว่า
- ผลการสร้างภาพอนาคตทางยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของจังหวัดชัยภูมิ ได้ภาพอนาคต (Scenario) 4 ภาพ ซึ่งสรุปเป็นเรื่องเล่า ได้แก่ ฉากทัศน์ที่ 1 ดาวกระจาย คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงแต่เข้าไม่ถึง ทำให้ผู้เรียนมีความแตกต่างในการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล และหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านการศึกษามีนโยบาย/ยุทธศาสตร์ที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับภาพการจัดการศึกษาในอนาคต ฉากทัศน์ที่ 2 ดาวรุ่ง คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสูงและมีนโยบาย/ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมและนำสู่การปฏิบัติได้ เป็นภาพที่พึงประสงค์เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของจังหวัดชัยภูมิ กำหนดว่า “คนชัยภูมิเป็นคนดี มีปัญญา พึ่งพาตนเองได้โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยการจัดการศึกษาสำหรับคนทุกช่วงวัยอย่างทั่วถึงและสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ฉากทัศน์ที่ 3 ดาวร่วง คือ ความล้าหลังของหน่วยงานด้านการศึกษาที่ไม่สามารถนำเทคโนโลยีมีมาใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ ค่านิยมของชุมชนและผู้ปกครองขาดความเชื่อมั่นในหน่วยงานด้านการจัดการศึกษา และ ฉากทัศน์ที่ 4 ดาวหาง คือ หน่วยงานด้านการศึกษามีการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ผู้เรียนได้รับการศึกษาจากหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดการศึกษา แต่ในกระบวนการจัดการศึกษาไม่ได้นำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมาใช้การสร้างสื่อการเรียนการสอนมีเนื้อหา สาระ องค์ความรู้ที่ไม่ถูกต้อง ผู้เรียนขาดสมรรถนะด้านการคิดดิจิทัลไม่รองรับโลกในศตวรรษที่ 21 กลายเป็นผู้เรียนที่ล้าหลังไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
- ผลการประเมินความสอดคล้องและความเป็นไปได้ในการนำสู่การปฏิบัติของข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของจังหวัดชัยภูมิ มีข้อเสนอแนะจำนวน 57 ข้อ โดยภาพรวมข้อเสนอแนะ มีความสอดคล้อง ( =4.30 , S.D.=0.74) และความเป็นไปได้ในการนำสู่การปฏิบัติ ( =4.26, S.D.=0.78) อยู่ที่ระดับมาก ( =4.28,S.D.=0.76) เมื่อพิจารณาข้อเสนอแนะที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ส่งเสริมการจัดบรรยากาศในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน มีความสอดคล้อง ( =4.79 , S.D.=0.41) และความเป็นไปได้ในการนำสู่การปฏิบัติ ( =4.50, S.D.=0.62) อยู่ระดับมากที่สุด ( =4.65, S.D.=0.54) ควรส่งเสริมการสร้างเครือข่ายทางสังคมดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ และออกแบบแนวทางการใช้เครือข่ายให้คุ้มค่ามีความสอดคล้อง ( =4.71 , S.D.=0.52) และความเป็นไปได้ในการนำสู่การปฏิบัติ ( =4.53, S.D.=0.56) อยู่ระดับมากที่สุด ( =4.62, S.D.=0.55) ศึกษาและสร้างแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีความสอดคล้อง ( =4.62 , S.D.=0.49) และความเป็นไปได้ในการนำสู่การปฏิบัติ ( =4.59, S.D.=0.66) อยู่ระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D.=0.58) และข้อเสนอแนะที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ กำหนดนโยบายให้หน่วยงานและสถานศึกษาใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและปลูกฝังค่านิยมรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความสมดุลในระบบนิเวศมีความสอดคล้อง ( =4.03 , S.D.=0.87) และ ความเป็นไปได้ในการนำสู่การปฏิบัติ ( =3.76, S.D.=1.33) อยู่ระดับมาก ( =3.90, S.D.=1.12)
การวิจัยเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของจังหวัดชัยภูมิ ควรเผยแพร่ให้หน่วยงานการศึกษาในระดับจังหวัดที่มีหน้าที่ในการจัดทำยุทธศาสตร์ด้านการศึกษานำข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของจังหวัดชัยภูมิไปพิจารณาและเป็นข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของจังหวัด และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการตัดสินใจวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาหรือนำไปเป็นข้อมูลแนวคิดเบื้องต้นในการคิดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
- You must be logged in to reply to this topic.