การพัฒนาการบริหารโรงเรียนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

0
1389

ชื่องานวิจัย

การพัฒนาการบริหารโรงเรียนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

ผู้ นายคเณศ เทพสุวรรณ

ปีที่

การวิจัย เรื่อง การพัฒนาการบริหารโรงเรียนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA)  และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน เพื่อพัฒนาการบริหารโรงเรียนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน และเพื่อศึกษาผลการใช้การบริหารโรงเรียนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ประชากรและกลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูลมี 2 กลุ่ม คือ ประชากรที่ให้ข้อมูลในการศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียน โรงเรียนเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง และศึกษาการใช้การบริหารโรงเรียนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน จำนวน 67 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพในการพัฒนาการบริหารโรงเรียนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในการบริหารโรงเรียน หรือบริหารการศึกษา หรือการนิเทศการศึกษา หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารโรงเรียนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) จำนวน 21 คน ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลที่ได้จากการตอบคำถามปลายเปิด ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพการบริหารโรงเรียนเทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน พบว่า ภาพรวมสภาพการบริหารโรงเรียนอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน ทุกด้านทั้งด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารบุคคล และด้านการบริหารทั่วไปมีสภาพการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง มีข้อเสนอแนะในภาพรวม คือ การนำกระบวนการบริหารที่เป็นระบบ ตรวจสอบได้มาใช้ในการบริหารงานควบคู่กับการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2. การพัฒนาการบริหารโรงเรียนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ทำให้ได้การบริหารโรงเรียนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ในการบริหารวิชาการ จำนวน 6 รายการ การบริหารงบประมาณ จำนวน 3 รายการ การบริหารบุคคล จำนวน 4 รายการ และการบริหารทั่วไป จำนวน 4 รายการ ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในทุกด้านและทุกรายการเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

3. การใช้การบริหารโรงเรียนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน พบว่า

3.1 คุณภาพการบริหารโรงเรียนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) ในโรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า ด้านการบริหารบุคคล และด้านการบริหารวิชาการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด  ส่วนด้านการบริหารงานทั่วไป และด้านการบริหารงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 

3.2 คุณภาพการบริหารโรงเรียนด้วยการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายการ พบว่า ด้านการบริหารบุคคล  ด้านการบริหารทั่วไป และด้านการบริหารงานวิชาการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด   ส่วนด้านการบริหารงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 

3.3 คุณภาพการจัดประสบการณ์ของครูที่เน้นเด็กเป็นสำคัญในระดับปฐมวัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

3.4 คุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญในระดับประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

3.5 ผลการประเมินพัฒนาการเด็กระดับปฐมวัย ปีการศึกษา ถึงปี 2562  พบว่า ปีการศึกษา 2560  พัฒนาการด้านร่างกาย ผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 90.36 ปีการศึกษา 2561 คิดเป็นร้อยละ 70.75 ปีการศึกษา   คิดเป็นร้อยละ 79.49 สำหรับพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ พัฒนาด้านสังคม และพัฒนาการด้านสติปัญญา ทุกปีการศึกษาผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนด คิดเป็นร้อยละ 100 

3.6  ผลการประเมินผลการเรียนของนักเรียนระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2560 ถึงปีการศึกษา 2562    ในปีการศึกษา 2560 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อยู่ในระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 38.89  ปีการศึกษา 2561 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ อยู่ในระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 72.55  และในปีการศึกษา 2562  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อยู่ในระดับ 3 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 51.47

3.7 คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของเด็กระดับปฐมวัย โรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2560 ถึงปีการศึกษา 2562 เด็กทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านการประเมินตามรายการและเกณฑ์การประเมินที่กำหนด

3.8 คุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอ ทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2560 ถึงปีการศึกษา 2562 นักเรียนทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านการประเมินตามรายการและเกณฑ์การประเมินที่กำหนด

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนาการบริหารโรงเรียนด้วยวงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) และการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียนเทศบาลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

Comments

comments

- Advertisement -