การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWL ร่วมกับแบบฝึก

0
870

ชื่อเรื่อง  การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWL ร่วมกับแบบฝึก

ผู้   นางสาวสมพร  หงษ์ยิ้ม

          การศึกษาเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWL ร่วมกับแบบฝึก มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWL ร่วมกับแบบฝึก และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWL ร่วมกับแบบฝึก  ประชากรที่ใช้ในการศึกษา นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านดงซ่อม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWL ร่วมกับแบบฝึกของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 แผน  แบบฝึกทักษะจับใจความ เรียนรู้การอ่านด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWL เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 ชุด ซึ่งประกอบไปด้วย นิทานจำนวน  6 เรื่อง  แบบทดสอบความสามารถการอ่านจับใจความก่อนเรียนและหลังเรียน  การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง  (Experimental Research) โดยใช้แบบแผนการวิจัย ก่อนทดลอง  (Pre-Experimental Design) แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน  (The One -group Pretest-posttest Design) การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนโดยใช้ค่าเฉลี่ย  (X)  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (S.D.) และนำคะแนนมาเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยทดสอบค่าที (t)  แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent samples t-test) วิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ  ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWL ร่วมกับแบบฝึก แบบมาตราส่วนประมาณค่าโดยใช้ค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

          ผลการศึกษาพบว่า

                   1. ความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWL ร่วมกับแบบฝึกหลังเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWL ร่วมกับแบบฝึกสูงกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWL ร่วมกับแบบฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .01  ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

                   2. ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ  ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWL ร่วมกับแบบฝึกในภาพรวมนักเรียนเห็นด้วยมาก มีค่าเฉลี่ย (x= 2.51) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D. = 0.43) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนเห็นด้วยมาก

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบ KWL ร่วมกับแบบฝึก

Comments

comments

- Advertisement -