ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรวมสำหรับครูระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE
ผู้ศึกษา นายวรเศรษฐ์ อมรนันทพัฒน์
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
ปีที่ศึกษา 2563
การวิจัยเรื่องการพัฒนาการจัดการเรียนรวมสำหรับครูระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 2)พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม และ 3) ส่งเสริมการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการเรียนรวมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะดังนี้
ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารหรือครูผู้รับผิดชอบเรียนรวม โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 จำนวน 42 โรงเรียน รวมทั้งหมด 42 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่แบบสอบถามสภาพการดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 เป็นการสอบปลายเปิด (แบบมีโครงสร้าง)
ระยะที่ 2 เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนหรือพี่เลี้ยงเด็กพิการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 จำนวน 42 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวมทั้งหมด 84 คนเครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1)แบบทดสอบก่อนและหลังอบรม ( Pre – Post Test) กิจกรรม “การอบรมคัดกรองทางการศึกษาเบื้องต้นและการพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศเรียนรวม SET” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 2) แบบสอบถามความพึงพอใจในการอบรมโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวม ฯ จำนวน 20 ข้อมีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนแบบประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ 3) คู่มือ การดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 4) คู่มือ การใช้แบบนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
ระยะที่ 3 เพื่อศึกษาผลการนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34ประชากรได้แก่ ครูผู้สอนหรือพี่เลี้ยงเด็กพิการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34จำนวน 42 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวมทั้งหมด 84 คน กลุ่มตัวอย่าง ครูผู้สอนหรือพี่เลี้ยงเด็กพิการสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 จำนวน 10 โรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน รวมทั้งหมด 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่1) แบบนิเทศ ติดตาม เกี่ยวกับสภาพสภาพ การดำเนินการบริหารจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 จำนวน 20 ข้อ 2) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศการศึกษา“เรื่อง การดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34”จำนวน 19 ข้อ มีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1 .ผลการศึกษาสภาพ ปัญหา การดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 พบว่า ด้านนักเรียน (S-Students) พบว่า ผู้ตอบสอบถามส่วนใหญ่ มีปัญหาในการจัดทำแผนในการรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ เข้าเรียนรวมกับนักเรียนปกติ 2.ด้านสภาพแวดล้อม (E-Environment) พบว่า โรงเรียนมีการจัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกอาคารที่ไม่เหมาะสมกับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวม เช่น ยังขาดทางลาดสำหรับนักเรียนที่ใช้ วีลแชร์ เป็นต้น 3.ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (A-Activities) พบว่า ครูมีการจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล( IIP) และแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) ไม่ครบนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษทุกคนเนื่องจากภาระงานที่มาก 4.ด้านเครื่องมือ (T-Tool) พบว่า โรงเรียนไม่ได้สำรวจจัดทำสารสนเทศจากโปรแกรม SET สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมที่เป็นปัจจุบัน
2.ผลพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสรุปดังนี้ 1) ผลของการทดสอบของผู้เข้ารับการอบรมพัฒนาครู ด้วยแบบทดสอบก่อนและหลังอบรม พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนหลังการอบรม(Post-Test) มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 18.10 สูงกว่าคะแนนก่อบอรม (Pre-Test) ซึ่งมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 7.45 2) ผลความพึงพอใจการอบรมโครงการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนแบบเรียนรวมกิจกรรม“การอบรมคัดกรองทางการศึกษาเบื้องต้นและการพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศเรียนรวม SET” โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41
3.ผลการนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 สรุปดังนี้ 1) ผลการนิเทศ ติดตาม การดำเนินงานจัดการเรียนรวมโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.03 2) ผลความพึงพอใจที่มีต่อการการนิเทศ ติดตามเรียนรวม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.50
ดาวน์โหลดบทคัดย่อ