การพัฒนาระบบความร่วมมือแบบพลัง 3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

0
857

เพิ่มเพื่อน

อุมาพร  รังสิยานนท์  (2564)  การพัฒนาระบบความร่วมมือแบบพลัง 3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพ        สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ  (1)  เพื่อพัฒนาระบบความร่วมมือแบบพลัง 3  เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร (2)  เพื่อศึกษาผลการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง 3  เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

          ขั้นตอนการศึกษามี 2 ระยะ  คือ ระยะที่ 1  พัฒนาระบบความร่วมมือแบบพลัง  3 เพื่อการจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครประกอบด้วย 4 ขั้นตอน  คือ ขั้นตอนที่ 1  การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน  ขั้นตอนที่ 2  สร้างและพัฒนาระบบความร่วมมือแบบพลัง  3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ขั้นตอนที่ 3  การตรวจสอบประสิทธิภาพระบบความร่วมมือแบบพลัง 3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร   (ด้วยการสัมมนาผู้เชี่ยวชาญ) ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงระบบความร่วมมือแบบพลัง  3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร  ระยะที่ 2  ศึกษาผลการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง  3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีลำดับขั้นตอนการดำเนินการประกอบด้วย  2 ขั้นตอน  คือ ขั้นตอนที่ 1  ทดลองการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง 3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร  ขั้นตอนที่ 2  ผลการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง 3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

               กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  มี 2 ระยะ คือ  ระยะที่ 1  พัฒนาระบบความร่วมมือแบบพลัง  3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ดังนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา จำนวน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษา จำนวน  1 คน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิชาอาชีพ จำนวน 1 คน  ผู้เชี่ยวชาญด้านวัดและประเมินผล  จำนวน  ๑  คน  ศึกษานิเทศก์  2 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง  ( Purposive  Sampling ) ระยะที่ 2   ศึกษาผลการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง  3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา  เป็นบุคลากรโรงเรียนและบุคลากรของหน่วยงาน  ทางการศึกษาที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมเวทีและประชาคมเพื่อการจัดทำรูปแบบและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยงการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกรุงเทพมหานคร   ปีงบประมาณ   รวมทั้งหมดจำนวน 130  คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling) การทดลองใช้การทดลองแบบ  One – Group  Pretest – Posttest  Design เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา  คือ  (1) ระบบความร่วมมือแบบพลัง  3 เพื่อการจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร  (2) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 8  ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1  แบบทดสอบความรู้  ความเข้าใจก่อนและหลังการศึกษาระบบความร่วมมือแบบพลัง  3 เพื่อการจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร  ฉบับที่  2  คู่มือการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง 3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร  ฉบับที่  3  แบบประเมินทักษะอาชีพ ฉบับที่ 4  แบบประเมินคุณลักษณะในการประกอบอาชีพ ฉบับที่ 5 แบบประเมินประสิทธิภาพระบบความร่วมมือแบบพลัง 3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร   ฉบับที่ 6  แบบประเมินประสิทธิภาพคู่มือการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง 3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร  ฉบับที่ 7  แบบประเมินประสิทธิผลการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง 3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียน     ชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร  ฉบับที่ 8  แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องในการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง 3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร  สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t -test

ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

1. ผลการพัฒนาระบบความร่วมมือแบบพลัง 3  เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า

1.1  ระบบความร่วมมือแบบพลัง 3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า มีประสิทธิภาพค่าดัชนีความสอดคล้องทั้งฉบับ  = 0.94  โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในระดับสูง ตั้งแต่ 1.00 ถึง 0.85 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้  ประกอบด้วย 1) องค์ของระบบ ได้แก่  (1) ปัจจัยนำเข้า  (Input)  (2) กระบวนการ  (Process)  (3) ผลผลิต  (Output) 2) ลักษณะความร่วมมือ ได้แก่ (1) ลักษณะความร่วมมือสร้างเป้าหมาย ภารกิจ มีการแบ่งปันทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกัน (Jurisdiction – based Management Model). (2) ลักษณะความร่วมมือระหว่างองค์กรที่รับบทบาทเป็นผู้ให้เงินสนับสนุน (Granter) กับองค์กรที่รับบทบาทเป็นผู้รับเงินสนับสนุน (Grantee) (Donor – Recipient Model)  (3) ลักษณะความร่วมมือแบบครั้งคราว (Reactive Model)

            1.2 คู่มือการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง  3  เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า  มีประสิทธิภาพค่าดัชนีความสอดคล้อง  (IOC)  ทั้งฉบับ  = 0.93  โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในระดับสูง ตั้งแต่ 1.00 ถึง 0.85 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้  คู่มือมีทั้งหมด  3  เล่ม ประกอบด้วย  เล่มที่ 1  คู่มือการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง  ๓  เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร  เล่มที่ 2 หลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร  เล่มที่ 3 ระบบการนิเทศ  ติดตามและประเมินผล

            1.3 หลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร  พบว่า มีประสิทธิภาพค่าดัชนีความสอดคล้อง  (IOC) รายวิชาช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ทั้งฉบับ =0.94  และรายวิชาเบเกอรี่เบื้องต้น ทั้งฉบับ  =0.93  ทั้ง 2 หลักสูตรมีองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) แนวคิดและหลักการของหลักสูตร  (2) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร (3)  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง      (4) โครงสร้างรายวิชา  (5) สาระการเรียนรู้   (6) คำอธิบายรายวิชา  (7) หน่วยการเรียนรู้              (8) แนวทางการจัดการเรียนรู้  (9) การวัดผลและประเมินผล 

2. ผลการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง  3  เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า

2.1  ผลการวิเคราะห์คุณภาพของระบบความร่วมมือแบบพลัง 3 เพื่อจัดทำหลักสูตร

อาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า มีคุณภาพสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้  82.22 /89.72

                   2.2  ผลการทดสอบความรู้ ความเข้าใจของของผู้บริหาร ครูและศึกษานิเทศก์ พบว่า ผลการเรียนรู้หลังศึกษาระบบความร่วมมือแบบพลัง 3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเพิ่มกว่าก่อนการศึกษา  ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  

                   2.3 ผลการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง 3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า ประสิทธิผลของการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง  3   เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม   มีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 3 ปัจจัยอยู่ในระดับมาก (x =4.40 , S.D. = 0.49) 

                   2.4 ผลการวิเคราะห์คุณภาพนักเรียนสําเร็จหลักสูตรตามเกณฑ์ที่กําหนด  พบว่า    ผลการเรียนของนักเรียนที่จบหลักสูตรอาชีพรายวิชาเพิ่มเติมที่สําเร็จตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกําหนด   จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ  100  และผลการเรียนของนักเรียนที่สําเร็จหลักสูตรอาชีพช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเปิดเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า นักเรียนสําเร็จตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกําหนดโดยผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนจำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 100

2.5 ความพึงพอใจของผู้บริหาร  ศึกษานิเทศก์  และครูที่มีต่อการใช้ระบบความ

ร่วมมือแบบพลัง  3  เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร   พบว่า   โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (x = 4.22, S.D. = 6.13)     ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง  3  เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร  พบว่า  โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (x = 4.31, S.D. =24.58)  และความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการใช้ระบบความร่วมมือแบบพลัง  3  เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก  (x = 4.05 , S.D. = 26.93) 

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนาระบบความร่วมมือแบบพลัง 3 เพื่อจัดทำหลักสูตรอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

Comments

comments

- Advertisement -