การพัฒนารูปแบบการ Coach แบบ GPOPAC-Net Model ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์

0
1000

เพิ่มเพื่อน

บทคัดย่อ

อุมาพร  รังสิยานนท์  (2564) การพัฒนารูปแบบการ Coach แบบ GPOPAC-Net Model ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์   1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการ Coach แบบ GPOPAC-Net  Model ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร   2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการ Coach แบบ GPOPAC-Net  Model ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร   3) เพื่อขยายผลของรูปแบบการ Coach แบบ GPOPAC-Net MODEL ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร วิธีวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีแบบพหุวิธี (Multiple  Methods  Research)  ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ(qualitative  research)และ การวิจัยเชิงปริมาณ (quantitative research) ( Creswell  and  Clark, 2007)  โดยแบ่งวิธีการวิจัยเป็น 2 ระยะ  คือ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง  ขั้นตอนที่1  กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive selection) จำนวน 20  คน  ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ  มี 2 กลุ่ม ได้แก่  1) กลุ่มตัวอย่าง  ที่เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นผู้โค้ช   ปีการศึกษา 2562 ผู้วิจัยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive  selection) จำนวน  50  คน  2)  กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ที่รับการโค้ช ซึ่งเป็นครูจาก 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้  ได้แก่  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์, กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย,สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ), กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม   ปีการศึกษา 2562 จำนวน 70 คน  โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) ระยะที่ ๒  เป็นการใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ(quantitative  research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1)  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องการเป็นผู้โค้ช ปีการศึกษา 2563  ผู้วิจัยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง  (purposive  selection)  จำนวน  280  คน   2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นผู้ที่รับการโค้ช  ได้แก่  ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้  5 กลุ่มสาระการเรียนรู้  ได้แก่  กลุ่มสาระการเรียนรู้,สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์,  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย,กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ), กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม ปีการศึกษา จำนวน 410  คน  โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) การทดลองใช้แบบ  One – Group  Pretest – Posttest  Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ 1) รูปแบบการ Coach แบบ  GPOPAC-Net Model ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร   2) ชุดการเรียนรู้รูปแบบการ  Coach  แบบ  GPOPAC-Net  Model ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  3) แบบทดสอบความรู้  รูปแบบการ Coach แบบ GPOPAC-Net Model ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  4) แบบประเมินพฤติกรรมของผู้โค้ช  5) แบบประเมินพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ช   6)  แบบประเมินความพึงพอใจของผู้โค้ชที่มีต่อการใช้รูปแบบการ Coach แบบ GPOPAC-Net  Model 7) แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้รับการโค้ชที่มีต่อรูปแบบการ Coach แบบ GPOPAC-Net   Model     8) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการ  Coach แบบ GPOPAC-Net  Model   9) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการใช้รูปแบบการ Coach แบบ GPOPAC-Net  Model  เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  (Mean , ) , วิเคราะห์หาค่าความยากง่าย (Difficulty) และค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (Discrimination) ของกลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ , ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard  Deviation : SD) , ค่าทีแบบไม่อิสระ t – test (Dependent)  แบบ  One – tailed  test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1.  รูปแบบการ Coach แบบ GPOPAC-Net Model ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับ

การโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  มีองค์ประกอบรูปแบบการโค้ช  ทั้งหมด  7  องค์ประกอบ ดังนี้  1) ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย (G = Goal) 2) วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดปัญหา (P = Problem analysis)  3) ค้นหาทางเลือก/โอกาส/วิธีการ (O=Option) 4) การให้ข้อมูลป้อนกลับเชิงบวก  (P= Positive Feedback ) 5) ลงมือปฏิบัติการโค้ช (A= Activity)    6) การประเมินสภาพการจัดการเรียนการสอนของผู้รับการโค้ช (C= Check) ๗) ขยายเครือข่าย  (Net = Network) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 8๓.๖๗/๙๔.๐๐  ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่  1 ว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

          2. ประสิทธิผลของรูปแบบการ Coach แบบ GPOPAC-Net  Model ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  สรุปได้ดังนี้    

                   2.1 ผลการทดสอบความรู้ ของผู้โค้ชก่อนและหลังการศึกษารูปแบบการ Coach แบบ GPOPAC-Net Model  ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                   2.2 ผลพฤติกรรมของผู้โค้ชที่มีต่อการใช้รูปแบบการ Coach แบบ  GPOPAC-Net  Model ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ( x = 4.38 , S.D. = 56.57) ซึ่งพฤติกรรมของผู้โค้ชสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการ Coach แบบ   GPOPAC-Net  Model 

                    2.3 ผลพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก  (x=3.91 , S.D. = 10.84)  ครูผู้รับการโค้ชมีพัฒนาการดีขึ้นในทุกคุณลักษณะ

2.4  ผลการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 

หลังการใช้รูปแบบการ  Coach แบบ GPOPAC -Net  Model มีระดับผลการเรียนเฉลี่ยสะสมสูงทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้  อยู่ระหว่างร้อยละ 34.58-34.58 

2.5  ผลความพึงพอใจของผู้โค้ชที่มีต่อการใช้รูปแบบการ Coach แบบGPOPAC-Net 

Model  ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยรวมทั้ง ๒ ด้านอยู่ในระดับมาก  (x = 4.40 , S.D. = 62.10) 

๒.๖ ผลความพึงพอใจของครูผู้รับการโค้ชที่มีต่อการใช้รูปแบบการ Coachแบบ

GPOPAC-Net  Model  ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการ

เรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก  (x = 4.23 , S.D. = 85.40) 

2.7  ผลความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการ Coach แบบ

GPOPAC-Net  Model ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร   โดยรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมากที่สุด  (x = 4.48, S.D. = 6.16) 

๒.๘ ผลความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการ Coach แบบ

GPOPAC-Net  Model ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก  (x = 4.40 , S.D. = 72.64)

3. ผลของการขยายผลของรูปแบบการ  Coach แบบ GPOPAC-Net  Model

ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  พบว่า  ในปีงบประมาณ  พ.ศ. 2562  มีสถานศึกษาให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ Coaching  Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  จำนวน  7  โรงเรียนและมีผู้เข้ารวมทั้งหมด 440 คน และในปีงบประมาณ พ.ศ.   มีสถานศึกษาให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการCoaching  Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร  จำนวน  41  โรงเรียน และมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 2,210  คน ซึ่งมีการขยายจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น 

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการ Coach แบบ GPOPAC-Net Model ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของครูผู้รับการโค้ชในการยกระดับผลสัมฤทธิ์

Comments

comments

- Advertisement -