การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองคราม

0
791

ชื่อเรื่อง   การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองคราม

ผู้รายงาน        นางสาวภวมัย เพ็ชรคงทอง

หน่วยงาน        โรงเรียนบ้านคลองคราม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1

ปีที่       ปี 2563

บทสรุปผู้บริหาร

            การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองคราม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1).ประเมินความเหมาะสมด้านสภาวะแวดล้อม  2). เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้า 3). เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านกระบวนการ และ  4). เพื่อประเมินความเหมาะสมด้านความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา และผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจง  ได้แก่   15 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน   7  คน และเลือกโดยใช้ตารางสุ่มกลุ่มตัวอย่างของเคร็จซี่และมอร์แกน ได้แก่  นักเรียน 160 คน ผู้ปกครอง 160  คน และใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)  เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มี 5 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น จำนวน 3 ฉบับ แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 1 ฉบับ   และแบบบันทึกพฤติกรรม  จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม ผลการประเมินโครงการสรุปได้ ดังนี้    

  1. ผลการประเมินประเด็นด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ของโครงการพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมากที่สุด โดยตัวชี้วัดความสอดคล้องของนโยบาย ยุทธศาสตร์ สภาพปัญหาและความต้องการของโรงเรียน ความจำเป็นและความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน และความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกิจกรรมผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
  2. ผลการประเมินประเด็นด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก ทั้งตามตัวชี้วัดความเหมาะสมและพอเพียงของบุคลากร ความเหมาะสมและความพอเพียงของงบประมาณ  ความเหมาะสมและความพอเพียงของวัสดุอุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้ ความเหมาะสมในการบริหารจัดการ  ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
  3. ผลการประเมินประเด็นด้านกระบวนการ (Process) ของโครงการพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด   โดยตัวชี้วัดการวางแผนการจัดกิจกรรมตามโครงการ  วิธีการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ การดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด  และการติดตามผลการดำเนินโครงการ ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก
  4. ผลการประเมินประเด็นด้านผลผลิต (Product) ของโครงการ พบว่า ตัวชี้วัดความพึงพอใจของ นักเรียน ครู  ผู้ปกครอง คุณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด  และพฤติกรรมนักเรียนในภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก  ในตัวชี้วัดพฤติกรรมรักความเป็นไทย พฤติกรรมมีจิตสาธารณะ  พฤติกรรมรับผิดชอบ  พฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียง  พฤติกรรมจิตอาสา  พฤติกรรมรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  พฤติกรรมมีวินัย  พฤติกรรมซื่อสัตย์สุจริต ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด  ส่วนพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ และพฤติกรรมมุ่งมั่นในการทำงาน ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ

              การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองคราม ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายๆ ฝ่าย เช่น ครูและผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจะทำให้นักเรียนได้รับการส่งเสริมพัฒนาพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จากผลการประเมินโครงการ ส่งเสริมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองคราม  จะเห็นได้ว่าควรดำเนินโครงการนี้ต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ผู้เกี่ยวข้องควรนำผลการประเมินไปปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินโครงการอย่างจริงจังเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตามข้อเสนอแนะดังนี้

  1. ผลการประเมินประเด็นด้านสภาวะแวดล้อม (Context) พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุดแต่เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์โครงการผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก  ซึ่งสะท้อนว่าการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ของโครงการจะเป็นเข็มทิศชี้นำการปฏิบัติไปสู่ความสำเร็จได้ดี จึงควรมีการพิจารณาถึงความต้องการจำเป็นของสภาพแวดล้อม คือ ความต้องการของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู และกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของนโยบายหน่วยงานต้นสังกัด และสภาพปัญหาของนักเรียน อันเป็นการตอบสนองความต้องการของนักเรียนอย่างแท้จริง
  2. จากผลการประเมินประเด็นด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ของโครงการพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ความเหมาะสมและพอเพียงของบุคลากร  ความเหมาะสมและความพอเพียงของงบประมาณ  ความเหมาะสมและความพอเพียงของวัสดุอุปกรณ์และแหล่งเรียนรู้  ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก ผู้บริหารจึงควรควรส่งเสริมเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ และสร้างปราบการณ์ของบุคลากรให้ตรงตามภาระกิจที่ได้รับมอบหมาย ควรสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือและเทคโนโลยีที่ต้องใช้ในการดำเนินงานโครงการให้เหมาะสมกับการทำกิจกรรม และควรสร้างขวัญกำลังใจและพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ให้พร้อมก่อนการปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
  3. จากผลการประเมินประเด็นด้านกระบวนการ (Process) พบว่า ผ่านเกณฑ์          การประเมินในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าการติดตามผล ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของผู้เกี่ยวข้องโครงการทุกฝ่าย ที่ควรยึดถือปฏิบัติ เช่นครูผู้ดำเนินโครงการ  ควรมีการเก็บข้อมูลการปฏิบัติงาน  เพื่อใช้พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้บริหารก็ควร ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถ  ให้คำแนะนำช่วยเหลือ และติดตามผลในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุวัตถุประสงค์
  4. จากผลการประเมินประเด็นผลผลิต (Product) พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลผลิตด้านความพึงพอใจ ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ความพึงพอใจของ นักเรียน ครู  ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษา ต่อครู ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก  ผู้บริหารจึงควรส่งเสริมให้ครูพัฒนารูปแบบการสอนแบบบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน และส่งเสริมให้ครูปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  เพื่อสร้างความพึงพอใจแก่นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาให้มากยิ่งขึ้นไปส่วนผลผลิตด้านพฤติกรรมนักเรียน ในตัวชี้วัดพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ และพฤติกรรมมุ่งมั่นในการทำงาน ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้อาจเนื่องจากนักเรียนแต่ละคนยังมีปัญหาการเรียนรู้อื่นๆ อีก  ครูจึงควรหาข้อมูลหรือทำวิจัยเชิงสำรวจเกี่ยวกับปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายบุคคล  เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ให้แก่นักเรียน เมื่อครูทราบปัญหา และสามารถแก้หรือบรรเทาปัญหาการเรียนให้นักเรียนได้  นักเรียนจะเกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน และมีพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้และมุ่งมั่นในการทำงานเพิ่มขึ้นได้ 

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองคราม

Comments

comments

- Advertisement -