การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเหนือ(วัดลำพะยา 2)

0
964

ชื่อผลงาน     การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนบ้านเหนือ(วัดลำพะยา 2)

ชื่อผู้ศึกษา    นางอัมนี่   อับดุลวาริษ

ปีการศึกษา 

บทคัดย่อ

              การศึกษาครั้งนี้เป็นการการพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนบ้านเหนือ(วัดลำพะยา 2) โดยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการพัฒนาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเหนือ(วัดลำพะยา 2) อำเภอเมือง จังหวัดยะลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลาเขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา จำนวน 10 คน เครื่องมือในการพัฒนา ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน โดยใช้เทคนิคการวาดรูบาร์โมเดลของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 เล่ม 2) เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 17 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 ข้อ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีการการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า

  1. แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.79/81.44  สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80ที่กำหนดไว้
  2. ผลการทดสอบวัดทักษะการแก้โจทย์ปัญหา ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ด้วยแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5อยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.45

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนาแบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน โดยใช้เทคนิคการวาดรูปบาร์โมเดล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านเหนือ(วัดลำพะยา 2)

Comments

comments

- Advertisement -