รายงานการประเมินโครงการป้องกัน เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม)

0
1897

ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการป้องกัน เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของ
โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม)
ผู้รายงาน : นางสาวนันท์นภัส บุญยอด
ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
ปีการศึกษา : 2562

บทคัดย่อ

รายงานการประเมินโครงการป้องกัน เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม) ในครั้งนี ้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการป้องกัน เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์(วังชมภูวิทยาคม) โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Modelของสตัฟเฟิ ลบีม (Stufflebeam) ซึ่ง มีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ

  1. เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติด ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม)
  2. เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติด ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม)
  3. เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติด ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม)
  4. เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติด ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม)
  5. เพื่อประเมินด้านผลกระทบของโครงการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติดของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม)
  6. เพื่อประเมินด้านประสิทธิผลของโครงการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติดของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม)
  7. เพื่อประเมินด้านความยั่งยืนของโครงการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติดของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม)
  8. เพื่อประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อของโครงการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติด ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม)
    กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถาม ได้ แก่ ครูผู้ รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั ้นพื้นฐาน ผู้ปกครองของนักเรียน และนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 –6 ปี 2562 กำหนดกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 43 คน โดยใช้ประชากร เป็น กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 260 คน โดยใช้วิธีการของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และที่ระดับความคลาดเคลื่อน 5% และใช้การสุ่มแบบง่าย (Sample Random Sampling) ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 260 คน โดยใช้โดยใช้ วิธีการของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และที่ระดับความคลาดเคลื่อน 5% และใช้
    การสุ่มแบบง่าย (Sample Random Sampling) คณะกรรมการสถานศึกษาขั ้นพื ้นฐาน จำนวน 15 คน โดยใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่สัมภาษณ์ได้แก่ ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 20 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 20 คน และผู้ ปกครองของนักเรียน ใช้ วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 20 คน
    เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินโครงการ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 9 ฉบับ แบบสัมภาษณ์มีลักษณะเป็นแบบปลายเปิดเขียนแสดงความคิดเห็น รายงานจำนวนนักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงและเสพยาเสพติด รายงานผลงานนักเรียนจากกิจกรรมของโครงการ สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ และการสร้างข้อสรุปจากการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการประเมินพบว่า
  1. การประเมินโครงการด้านบริบท ในภาพรวมมีระดับความสอดคล้อง/เหมาะสมในระดับมากที่สุด
  2. การประเมินโครงการด้านปัจจัยนำเข้า ระดับความสอดคล้อง/เหมาะสมในระดับมากที่สุด
  3. การประเมินโครงการด้านกระบวนการ ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุด
  4. การประเมินโครงการด้านผลผลิต ในการประเมินพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของนักเรียน ในภาพรวมมีระดับการปฏิบัติในระดับมากที่สุด การประเมินพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของนักเรียนตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง ในภาพรวมนักเรียนมีระดับการปฏิบัติในระดับมาก จำนวนนักเรียนทุกระดับชั ้นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงใช้ยาเสพติดในภาพรวมลดลงร้อยละ 40.82 และผลงานของนักเรียนจากการใช้เวลาว่างในการพัฒนาตนเองโดยได้รับรางวัลทางด้านวิชาการ ศิลปะดนตรีกีฬา การหลีกเลี่ยงป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากยาเสพติดโดยได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานและรางวัลระดับประเทศด้านกีฬา และการตระหนักถึงพิษภัยและโทษของยาเสพติดโดยได้รับพระราชทาน ถ้วยรางวัลชนะเลิศ TO BE NUMBER ONE ในชุมชน (ภูมิภาค)
  5. การประเมินโครงการด้านผลกระทบ ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
  6. การประเมินโครงการด้านประสิทธิผล ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นในระดับมากจากการสัมภาษณ์ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ปกครอง และนักเรียน เกี่ยวกับการดำเนินการโครงการป้องกัน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหายาเสพติด มีประโยชน์ต่อนักเรียนมากที่สุด นักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และควรมีการดำเนินจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและนำไปใช้จริง
  7. การประเมินโครงการด้านความยั่งยืน ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด และจากการสัมภาษณ์ครูผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติอย่างเป็นระบบในการดำเนินโครงการให้ประสบผลสำเร็จและคงอยู่อย่างยั่งยืน ควรพัฒนากิจกรรมใหม่ๆ ไปทุกครั ้งที่ดำเนินโครงการ และแก้ไขจุดบกพร่องของโครงการเพื่อทำให้โครงการดีขึ ้นในทุกๆ ปี
  8. การประเมินโครงการด้านการถ่ายทอดส่งต่อ ในภาพรวมมีระดับความคิดเห็นในระดับมากที่สุด จากการสัมภาษณ์ครูผู้รับผิดชอบโครงการ แนวทางในการถ่ายทอดความรู้และขยายผลโครงการจะต้องมีการแนะนำและประชาสัมพันธ์โครงการ ส่งเสริมให้นักเรียนมีประสบการณ์ที่หลากหลายในการถ่ายทอด สร้างนักเรียนเครือข่ายทำงานร่วมกับชุมชน และนำผลที่ได้ขยายสู่ชุมชน เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งปราศจากยาเสพติด

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

รายงานการประเมินโครงการป้องกัน เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหายาเสพติด ของโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภูวิทยาคม)

Comments

comments

- Advertisement -