รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) “6อ 3ส” โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2563

0
500

ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)  “6อ 3ส” โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา

ผู้รายงาน : นางสาววีซานา อับดุลเลาะ

ปีที่รายงาน :

          รายงานประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)  “6อ 3ส” โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และ ด้านผลผลิตของโครงการประกอบด้วย 1) ระดับคุณภาพการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) “6อ. 3ส.” 2) สภาวะสุขภาพอนามัยของนักเรียน 3) สมรรถภาพทางกายของนักเรียนรายบุคคล 4) พฤติกรรมด้านสุขภาพของครู 5) ความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อโครงการส่งเสริมสุขภาพตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) “6อ. 3ส.” โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างครูผู้สอน 17 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียนจำนวน 76 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 76 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินจำนวน 9 ฉบับ มี 2 ลักษณะได้แก่ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ และอีก 2 ฉบับ เป็นแบบบันทึกข้อมูลตามสภาพจริงเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะสุขภาพของนักเรียน ปีการศึกษา ตามสภาพจริง แบบบันทึกผลสมรรถภาพทางกายของนักเรียน ปีการศึกษา 2563 ตามสภาพจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้

1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)  “6อ 3ส”โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนรวมเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.86, S.D. = 0.17) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.83, S.D. = 0.12) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด

2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)  “6อ 3ส”โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน และเมื่อพิจารณาความคิดเห็นของครู พบว่า ครูมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.70, S.D. = 0.19) ได้คะแนนรวมเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด

3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)  “6อ 3ส”โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2563 เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ตามความคิดเห็นของครูโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.78 , S.D. = 0.19) อยู่ในระดับมากที่สุดและ พบว่า ผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (= 4.50, S.D. = 0.13) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.53, S.D. = 0.13) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด

4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่

4.1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับระดับคุณภาพการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)  “6อ 3ส”โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2563 โดยรวมพบว่า ทั้งสามกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ตามความคิดเห็นของครูโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.78 , S.D. = 0.17) อยู่ในระดับมากที่สุดและ พบว่า ผู้ปกครองมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.75, S.D. = 0.14) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.78, S.D. = 0.16) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ได้คะแนนรวมเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด

4.2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาวะสุขภาพของนักเรียน ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง ภาวะโภชนาการ ภาวะทางทันต
กรรม การเจ็บป่วยและอุบัติเหตุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีสภาวะสุขภาพ ร้อยละ 96.28 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนบ้านกรือซอปีการศึกษา 2563 พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ร้อยละ 91.79 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน

4.4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพของครูเพื่อการมีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดีและเป็นแบบอย่าง  ตามความคิดเห็นของครู และนักเรียน ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านกรือซอ โดยรวมพบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ประเมินพบว่า ตามความคิดเห็นของครูโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.62 , S.D. = 0.19) อยู่ในระดับมากที่สุดและ พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นโดยรวมมีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.60, S.D. = 0.15) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ทั้งสองกลุ่มได้คะแนนรวมเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด

4.5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) “6อ. 3ส.” โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2563โดยรวมพบว่า ทั้งสี่กลุ่มที่ประเมินมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อพิจารณาแต่ละกลุ่มผู้ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (  x̄ = 4.69 , S.D. = 0.60) อยู่ในระดับมากที่สุด ครูมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (  x̄ = 4.61 , S.D. = 0.15)  อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ปกครองมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (  x̄ = 4.65 , S.D. = 0.16) อยู่ในระดับมากที่สุดและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย (  x̄ = 4.66 , S.D. = 0.15)  ทั้งสี่กลุ่มได้คะแนนรวมเฉลี่ยผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัด

5. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) “6อ. 3ส.” ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2563 ทั้ง 4 ด้าน พบว่า ทุกตัวชี้วัดที่ประเมินและทุกกลุ่มที่ประเมินสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผ่านเกณฑ์การประเมิน

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้

1.โรงเรียนควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา รวมทั้งความสำเร็จและอุปสรรคที่เกิดขึ้น เพื่อกำหนดรูปแบบการพัฒนาสร้างสรรค์ “6อ 3ส” ที่ดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในการนำโครงการมาพัฒนาต่อไป

2. ควรนำกิจกรรม “6อ 3ส” ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) โดยปรับให้เหมาะสมกับบริบทและสิ่งแวดล้อมแต่ละโรงเรียน และศึกษาผลกระทบในการพัฒนาสุขภาพนักเรียนในบริบทที่แตกต่างกัน

3. ควรนำผลการประเมินโครงการไปใช้เป็นข้อมูล เพื่อวางแผนพัฒนาสุขภาพนักเรียนให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาฝ่ายต่าง ๆ เพื่อความมีประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาต่อไป

4. โรงเรียนควรดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) “6อ. 3ส.”อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพแนวการพัฒนาจนกลายเป็นแบบอย่างของโรงเรียนอื่นอย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะในการประเมินหรือวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรมีการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียน โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่น ๆ เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการและประสิทธิผลที่เกิดขึ้นกับนักเรียน

2. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะสุขภาพนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา หรือระดับจังหวัดต่อไป

3. ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะสุขภาพที่ดีกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา หรือระดับจังหวัดต่อไป

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสุขภาพตามแนวฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) “6อ 3ส” โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านกรือซอ ปีการศึกษา 2563

Comments

comments

- Advertisement -