การประเมินโครงการส่งเสริมศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนสายปัญญาในพระบรมราชินูปถัมภ์

0
476

ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการส่งเสริมศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนสายปัญญา
ในพระบรมราชินูปถัมภ์
ผู้ประเมิน นางสาววิมลนาถ บัวแก้ว

การประเมินโครงการส่งเสริมศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนสายปัญญาในพระบรมราชินูปถัมภ์ ใช้รูปแบบการประเมินแบบจำลองซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ย่อย 1.1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการฯ 1.2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการฯ 1.3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการของโครงการฯ 1.4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการ และ 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ย่อย 2.1) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการฯ ในด้านคุณธรรมของนักเรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน 2.2 เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการฯ ในด้านความสำเร็จของโครงการ

กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 4 คน จำนวน 57 คน จำนวน 297 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 297 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 670 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามการประเมินด้านบริบท แบบสอบถามการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า แบบสอบถามการประเมินด้านกระบวนการ แบบสอบถามการประเมินด้านผลผลิต และแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณาคือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการประเมิน พบว่า โครงการส่งเสริมศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งด้านบริบทของโครงการฯ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ โครงการฯ กำหนดวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการส่งเสริมศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนไว้ อย่างชัดเจน กิจกรรมมีความเหมาะสมกับการดำเนินโครงการฯ และกิจกรรมของโครงการฯ นำไปปฏิบัติได้จริง ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการฯ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ โรงเรียนมีการแต่งตั้งบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการฯ อย่างชัดเจน บุคลากรที่รับผิดชอบโครงการฯ มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินโครงการฯ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินโครงการฯ มีความเหมาะสม โรงเรียนกำหนดแผนการจัดกิจกรรมตามโครงการฯ ไว้อย่างชัดเจน กิจกรรมของโครงการฯ มีความเหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน กิจกรรมของโครงการฯ มีความสอดคล้องกับสภาพของโรงเรียน และการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการฯ โรงเรียนมีการประสานงานร่วมกับชุมชนและหน่วยงานต่าง ๆ ด้านกระบวนการของโครงการฯ อยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ โครงการฯ มีการวางแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจน บุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์วางแผนดำเนินงานและจัดกิจกรรมตามโครงการฯ โครงการฯ ได้ดำเนินการไปตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้ การดำเนินงานโครงการฯ เป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้ การดำเนินงานโครงการฯ เป็นไป ตามระยะเวลาที่กำหนด และการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการฯ ด้วยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และ ด้านผลผลิตของโครงการฯ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ นักเรียนมีผลงานที่เกิดจาก การพัฒนาทักษะอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริหารเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและเป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริหารได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติในการส่งเสริมคุณธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด และโรงเรียนได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติในการบริหารจัดการโรงเรียนด้านคุณธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนสายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทั้งด้านคุณธรรมของนักเรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์ ของโรงเรียน และด้านความสำเร็จของโครงการ ด้านคุณธรรมของนักเรียนตามคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน สายปัญญา ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ นักเรียนมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ลักขโมย หรือหยิบของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต และนักเรียนรู้จักแบ่งปัน มีน้ำใจ รู้จักการช่วยเหลือผู้อื่น และด้านความสำเร็จ ของโครงการ ซึ่งข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และผู้บริหาร และครูนำศาสตร์พระราชาโดยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การประเมินโครงการส่งเสริมศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนสายปัญญาในพระบรมราชินูปถัมภ์

Comments

comments

- Advertisement -