การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้ชุดกิจกรรมนิทานพื้นบ้าน Amazing Cities ตามกระบวนการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาเสริมทักษะภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

0
618

ชื่อวิจัย การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้ชุดกิจกรรมนิทานพื้นบ้าน Amazing Cities ตามกระบวนการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาเสริมทักษะภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้

ผู้ กฤษณา สถิตย์เกิด
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครู โรงเรียนบ้านเขาพริกอนุสรณ์ สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามกระบวนการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) ด้วยนิทานพื้นบ้าน Amazing Cities สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจตามกระบวนการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) ด้วยนิทานพื้นบ้าน Amazing Cities สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปี 2564 โรงเรียนบ้านเขาพริกอนุสรณ์ จำนวน 14 คน โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purpose Sampling) ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สอนทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามกระบวนการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) ด้วยนิทานพื้นบ้าน Amazing Cities, แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และแบบสอบถามความพึงพอใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การหาค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม คือ ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติที (t–test)
ผลการวิจัย พบว่า

  1. ผลการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามกระบวนการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) นิทานพื้นบ้าน Amazing Cities สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาเสริมทักษะภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ปี 2564 จำนวน 14 คน พบว่า ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจ โดยรวมมีค่าเท่ากับ 90.98/91.43 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
  2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปี 2564 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจตามกระบวนการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) ด้วยนิทานพื้นบ้าน Amazing Cities พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.47)
    คำสำคัญ : การอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ, วิธีการสอนอ่านแบบบูรณาการของเมอร์ด็อค

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้ชุดกิจกรรมนิทานพื้นบ้าน Amazing Cities ตามกระบวนการสอนอ่านของเมอร์ด็อค (MIA) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รายวิชาเสริมทักษะภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

Comments

comments

- Advertisement -