ชื่องานวิจัย: การพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตน โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563-2564
ผู้ทำวิจัย: นางสาวจิรสุดา เรืองเพ็ง
ปีการศึกษาที่ทำวิจัย: 2563-2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความ เป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตน โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL (2) พัฒนาศักยภาพนักเรียน สู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตน โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL (3) เปรียบเทียบความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของนักเรียน หลังการพัฒนาศักยภาพ โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL (4) ศึกษาการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตน โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL และ (5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาศักยภาพนักเรียน สู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตน โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL โดยการศึกษาทั้งหมดดำเนินการศึกษาในโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563-2564
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินรูปแบบการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตน โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL จำนวน 5 ท่าน (2) นักเรียนที่มีแววอัจฉริยภาพของโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 966 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,383 คน และสำหรับตอบแบบประเมินพฤติกรรมทางด้านอารมณ์และสังคม แบบสอบถามการมีส่วนร่วม และแบบสอบถามความพึงพอใจ ในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตน โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 276 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 302 คน (3) ครูของโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 179 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 181 คน (4) ผู้ปกครองของนักเรียนที่มีแววอัจฉริยภาพของโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 276 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 302 คน และ (5) ภาคีเครือข่ายโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บและรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย (1) แบบประเมินคุณภาพรูปแบบการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตน โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.899 (2) แบบประเมินพฤติกรรมทางด้านอารมณ์และสังคม ของนักเรียน หลังการพัฒนาศักยภาพโดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.946 (3) แบบสอบถามการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตน โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.870 และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่าย ในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตน โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.952
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที แบบกลุ่ม 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
(1) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพ ของตน โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ที่พัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบที่มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (2) เมื่อใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตน โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563-2564 นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพมีความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตนในด้านผลการเรียนเฉลี่ย รางวัลการแข่งขัน และพฤติกรรมทางด้านอารมณ์และสังคม สูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด (3) ผลการเรียนเฉลี่ยของนักเรียนที่มีแววอัจฉริยภาพด้านภาษา ด้านการเข้าใจตนเอง และด้านธรรมชาติวิทยา รวมทั้งพฤติกรรมทางด้านอารมณ์และสังคมของนักเรียน หลังการพัฒนาศักยภาพโดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL ปีการศึกษา 2564 มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ปีการศึกษา 2563 (4) นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตน โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL โรงเรียน มหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563-2564 อยู่ในระดับมาก และ (5) นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และภาคีเครือข่าย มีความพึงพอใจในการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตน โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ปีการศึกษา 2563-2564 อยู่ในระดับมาก
ดาวน์โหลดบทคัดย่อ
การพัฒนาศักยภาพนักเรียนสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตน โดยใช้แม่แบบ MAHA GENIUS MODEL