การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษาโดยมุ่งเน้นการเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

0
305

ชื่อวิจัย การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษาโดยมุ่งเน้นการเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผู้ นางสาวพิชญ์ธิกานต์ โพร้งจั่น
ปีที่ ปี 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลฯ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลฯ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลฯ 4) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลฯ เก็บรวบรวมข้อมูล 4 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ และครูวิชาการ จำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมินความเหมาะสม ความถูกต้องครอบคลุม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ปกครอง จำนวน 160 คน ผู้เรียน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นตอนที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ จำนวน 1 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาสภาพของการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษาเพื่อการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ การบริหารงานบุคคล โดยมีการส่งเสริมการประเมินวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ การบริหารงานทั่วไป โดยมีการรายงานผลการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด การบริหารงานวิชาการ โดยมีกระบวนการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และต่ำสุดได้แก่ การบริหารงานงบประมาณ โดยมีการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษาโดยมุ่งเน้นการเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียน พบว่า 1) ผลการประเมินความเหมาะสม ด้านคู่มือการบริหารสถานศึกษา x̄ = 4.70, S.D. = 0.10 อยู่ในระดับความเหมาะสม มากที่สุด ด้านคู่มือการปฏิบัติงานครู และบุคลากรทางการศึกษา x̄ = 4.81, S.D. = 0.12 อยู่ในระดับความเหมาะสม มากที่สุด 2) ผลการประเมินความถูกต้อง ครอบคลุม ด้านคู่มือการบริหารสถานศึกษา x̄ = 4.81 และ S.D. = 0.21 อยู่ในระดับความถูกต้อง ครอบคลุม มากที่สุด ด้านคู่มือการปฏิบัติงานครู และบุคลากรทางการศึกษา x̄ = 4.81, S.D. = 0.21 อยู่ในระดับความถูกต้อง ครอบคลุม มากที่สุด
3. การศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษาโดยมุ่งเน้นการเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโรงเรียนวัดวังหว้า ประจำปีการศึกษา 2564 เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาเป้าหมายคือร้อยละ 78 จาการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยร้อยละ 80.34 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ความพึงพอใจของผู้ปกครอง x̄ = 4.49, S.D. = 0.31 อยู่ในระดับความพึงพอใจ มาก 3) ความพึงพอใจของผู้เรียน x̄ = 4.51, S.D. = 0.33 อยู่ในระดับความพึงพอใจ มากที่สุด
4. การศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษาโดยมุ่งเน้นการเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า 1) ความเป็นไปได้ด้านคู่มือการบริหารสถานศึกษา (สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษา) x̄ = 4.52 อยู่ในระดับความเป็นไปได้ มากที่สุด และด้านคู่มือการปฏิบัติงานครู และบุคลากรทางการศึกษา (สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษา) x̄ = 4.59 อยู่ในระดับความเป็น ไปได้ มากที่สุด 2) ความเป็นไปได้ด้านคู่มือการปฏิบัติงานครู และบุคลากรทางการศึกษา (สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา) ภาพรวม x̄ = 4.83, S.D. = 0.31 อยู่ในระดับความเป็นไปได้ มากที่สุด 3) ความเป็นประโยชน์ ด้านคู่มือการบริหารสถานศึกษา (สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษา) x̄ = 4.57 อยู่ในระดับความเป็นประโยชน์ มากที่สุด และด้านคู่มือการปฏิบัติงานครู และบุคลากรทางการศึกษา (สำหรับผู้อำนวยการสถานศึกษา) x̄ = 4.55 อยู่ในระดับความเป็นประโยชน์ มากที่สุด 4) ความเป็นประโยชน์ ด้านคู่มือการปฏิบัติงานครู และบุคลากรทางการศึกษา (สำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา) ภาพรวม x̄ = 4.69, S.D. = 0.41 อยู่ในระดับความเป็นประโยชน์ มากที่สุด
คำสำคัญ รูปแบบ การบริหารโรงเรียน โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผลการวิจัยพบว่า

การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลตามเกณฑ์การดำเนินการที่เป็นเลิศด้านการศึกษาโดยมุ่งเน้นการเสริมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Comments

comments

- Advertisement -