รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายไตรภาคี ปีการศึกษา 2564

0
409

ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายไตรภาคี ปีการศึกษา
ผู้ประเมินโครงการ :
นายอานัส สินเบญจพงศ์
ปีที่ประเมิน :

บทสรุป

    รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายไตรภาคี  ปีการศึกษา  มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายไตรภาคี ปีการศึกษา 2564 2. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของใช้เครือข่ายไตรภาคี ปีการศึกษา 2564 3. เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายไตรภาคี  ปีการศึกษา 2564 4. เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายไตรภาคี ปีการศึกษา 2564 4.1   คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา 4.2 ความพึงพอใจของไตรภาคีในการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายไตรภาคี ปีการศึกษา 2564โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างครู ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้ครูโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำยกเว้นครูอัตราจ้างที่กำลังศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู จำนวน 12 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6  จำนวน 43 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ซึ่งกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยใช้ผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบสอบถาม 4 ฉบับ จากการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือแต่ละฉบับได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.85 - 0.97 และแบบบันทึกผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร่อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายไตรภาคี  ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู ซึ่งพิจารณาจากความต้องการจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงาน และความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ครูมีความคิดเห็นว่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.57, S.D. = 0.33)  ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินผลการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายไตรภาคี ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของครู ซึ่งพิจารณาจากความพร้อมของบุคลากร ความเพียงพอของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ ความเหมาะสมการบริหารจัดการ และหน่วยงานที่สนับสนุนโครงการ โดยพบว่าครูมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด  (x̄ = 4.42, S.D. = 0.42) ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 15 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินผลการประเมินกระบวนการของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายไตรภาคี  ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครูและผู้ปกครอง ซึ่งพิจารณาจากการวางแผน การดำเนินการจัดกิจกรรม การประเมินผล และการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา พบว่า ครูและผู้ปกครองมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด สูงสุด  (x̄= 4.59, S.D.=0.50) และ (x̄=4.51,S.D.=0.52) ส่วนนักเรียนมีความคิดเห็นว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (x̄=4.38,S.D.=0.65) ได้คะแนนเฉลี่ย 25 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินผลการประเมินผลผลิตของโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายไตรภาคี  ปีการศึกษา 2564ผู้รายงานประเมิน 4 ประเด็น ดังนี้
ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ปีการศึกษา 2564 พบว่า โดยภาพรวมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนทั้ง 8 ตัวชี้วัด อยู่ในระดับดีขึ้นไป เฉลี่ยร้อยละ 90.73 ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 25 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่ประเมินผลการประเมินความพึงพอใจของไตรภาคีในการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายไตรภาคี  ปีการศึกษา 2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน  และผู้ปกครอง พบว่า  มีความพึงพอใจเฉลี่ยสูงสุด  (x̄= 4.72, S.D. = 0.54)  อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือครู มีความพึงพอใจเฉลี่ย (x̄=  4.53, S.D. = 0.54)  อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนผู้ปกครอง มีความพึงพอใจเฉลี่ยต่ำสุด (x̄= 4.51, S.D. = 0.53) อยู่ในระดับมากที่สุด ได้คะแนนรวมเฉลี่ย 20 คะแนน ผ่านเกณฑ์ภาพรวมและทุกประเด็นตัวชี้วัดที่

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายไตรภาคีอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนอย่างยั่งยืน
2. ควรนำรูปแบบโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายไตรภาคี ไปปรับประยุกต์ ใช้ในโรงเรียนที่มีบริบทใกล้เคียงกัน
3. ควรสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโรงเรียนอื่น ๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย

ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป

1. ควรประเมินโครงการโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบอื่นๆ ตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสารสนเทศที่ต้องการ
2. ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
3. ควรประเมินโครงการอื่นๆ ของโรงเรียนทุกโครงการ เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ พัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งน้ำ ตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายไตรภาคี ปีการศึกษา 2564

Comments

comments

- Advertisement -