การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

0
536

ชื่องานวิจัย : การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ผู้ : นางชญาภา  บุญมีวิเศษ
ปีการศึกษา : 2564

                      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) กับเกณฑ์ร้อยละ 80 3) เพื่อศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) 4) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) กับเกณฑ์ร้อยละ 70 5) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es)

       กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  โรงเรียนโพธิ์ธาตุประชาสรรค์  อำเภอวังหิน  จังหวัดศรีสะเกษ  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 34 คนที่ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random  sampling) โดยการจับสลากใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ตามรูปแบบการวิจัยเป็นแบบที่มีการทดสอบก่อนและหลังทดลอง (One group pretest posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) จำนวน 6 ประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ทำความรู้จักเศรษฐศาสตร์กันเถอะ  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง อุปสงค์และอุปทาน  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง มารู้จักการบริโภคอย่างมีคุณค่า  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง สถาบันการเงินกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย  แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง มองดูเศรษฐกิจไทยของเรา และแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่อง ชีวิตเป็นสุขด้วยเศรษฐกิจพอเพียง และนำมาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษา2                   (ส21102) ใช้เวลาในการจัดการเรียนรู้ 18 ชั่วโมง  2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่าระหว่าง 0.80 – 1.00  และแบบทดสอบทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่น 0.93

3) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผล อัตนัย จำนวน 4 ข้อ  ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) มีค่าระหว่าง 0.80 – 1.00 และแบบทดสอบทั้งฉบับมีค่าความเชื่อมั่น 0.85 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ บรรยากาศการจัดการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับ จำนวน 16 ข้อ  ค่าดัชนีความสอดคล้องความคิดเห็นกับจุดประสงค์การเรียนรู้รายข้อ (IOC) มีค่าระหว่าง 0.80 – 1.00 ในการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบที

                      ผลการวิจัยพบว่า   

1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการประเมินคุณภาพและความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยรายแผนการจัดการเรียนรู้ระหว่าง 4.35- 4.58 และค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.49 มีคุณภาพและเหมาะสมมาก  ผลคะแนนเฉลี่ยระหว่างเรียนและคะแนน หลังเรียนมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.99/82.13 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.62 คิดเป็นร้อยละ 62

                     2.  ผลวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05    

                     3.  ผลวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) กับเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) มีค่าร้อยละ 82.13 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80

                     4.  ผลการศึกษาทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) มีผลคะแนนที่ได้จากการวัดทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผลรวมทุกด้านของนักเรียนส่วนใหญ่มีทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ(x̄= 2.76, S.D. = 0.11) อยู่ในระดับดี 

                     5.  ผลวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผลหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) กับเกณฑ์ร้อยละ 70 โดยการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es)   มีค่าร้อยละ 92.00 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70

                     6.  ผลวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น(5Es)  มีความพึงพอใจในการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) ทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ และด้านประโยชน์ที่ได้รับ  ซึ่งจากผลความพึงพอใจส่วนใหญ่นักเรียนได้สร้างความรู้ความเข้าใจด้วยตนเอง สามารถตัดสินใจโดยใช้เหตุผล และกล้าแสดงความคิดเห็น และบรรยากาศของการเรียนเปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนรวมในการทำกิจกรรมการเรียนรู้กล้าคิด กล้าตอบในการแสดงความคิดเห็นและกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมกับเนื้อหามีความพึงพอใจโดยรวมมีค่าเฉลี่ย(x̄= 4.31, S.D. = 0.40)อยู่ในระดับมาก

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมการสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

Comments

comments

- Advertisement -