การบริหารโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะครูในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและบูรณาการเครื่องมือผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall
Home › ฟอรั่ม › บทคัดย่อ › การบริหารโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะครูในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและบูรณาการเครื่องมือผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall
- This topic has 0 ข้อความตอบกลับ, 1 เสียง, and was last updated 6 months, 2 weeks มาแล้ว by สมหวัง เป้ากลาง.
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
-
26 มีนาคม 2024 เวลา 5:01 pm #15129
ชื่อเรื่อง การบริหารโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะครูในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
และบูรณาการเครื่องมือผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall
เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดแจ้ง
ผู้วิจัย นางอรทิพา เกตุมะยูร
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดแจ้ง สังกัดเทศบาลตำบลบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
ปีที่วิจัย 2567
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และปัญหาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและบูรณาการเครื่องมือผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall เพื่อการจัดการเรียนรู้ 2) หาแนวทางการพัฒนาทักษะครูในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและบูรณาการเครื่องมือผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall เพื่อการจัดการเรียนรู้และ 3) ติดตามผลการพัฒนาทักษะครูในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและบูรณาการเครื่องมือผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall เพื่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย 30 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล 90 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละความก้าวหน้า การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพ และปัญหาในการผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดแจ้ง ปรากฏดังนี้
1.1 สภาพ ด้านครูผู้สอน พบว่า 1) ครูผู้สอนมีการผลิตและใช้สื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall ในการจัดการเรียนการสอนน้อยมาก ครูมีทักษะและประสบการณ์ในการผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall น้อย 2) ด้านผู้บริหาร การจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดหาสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ยังมีน้อยไม่เพียงพอ และการกระตุ้นให้ครูปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้สื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall ไม่ต่อเนื่อง 3) ด้านแหล่งข้อมูลในการศึกษาค้นคว้า โรงเรียน มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาในการผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall น้อย และเอกสาร ตำรา ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall มีน้อยมาก
1.2 ปัญหา ด้านครูผู้สอน พบว่า 1) ครูมีงบประมาณส่วนตัวที่ใช้ในการผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall น้อย ครูบางส่วนยังมีความรู้ความเข้าใจความหมายและประโยชน์ของสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall ทักษะและประสบการณ์ในการผลิตสื่อระดับน้อย 2) ด้านผู้บริหาร การจัดให้มีการประชุมหรือนำคณะครูเข้าร่วมประชุมยังน้อย การกระตุ้นให้ครูปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนในการใช้สื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall น้อย และการให้ความสำคัญในการใช้สื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall เพื่อการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับน้อย 3) ด้านแหล่งข้อมูลในการศึกษาค้นคว้า มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาในการผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall น้อย ระบบเครือข่ายในการสืบค้น ไม่เพียงพอ และบุคลากรแกนนำที่ให้ความรู้ในเรื่องนี้มีน้อย
- แนวทางการพัฒนาทักษะครูในการผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall เพื่อการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดแจ้ง วงรอบที่ 1 ใช้แนวทางพัฒนา 2 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ และ 2) การนิเทศภายใน วงรอบที่ 2 ใช้แนวทางการพัฒนาโดยการนิเทศภายใน
- ผลการพัฒนาทักษะครูในการผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall เพื่อการจัด การเรียนรู้ในโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดแจ้ง
3.1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ ในการผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall เพื่อการจัดการเรียนรู้ ก่อนการพัฒนาผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจด้านการผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall มีค่าคะแนน ( = 9.90) จากคะแนนเต็ม 20 คิดเป็นร้อยละ 49.50 หลังจากได้รับการพัฒนา ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall เพื่อการจัดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นมีค่าคะแนน ( =17.70) คิดเป็นร้อยละ88.50 มีค่าร้อยละความก้าวหน้า 39.00
3.2 ด้านการประเมินคุณภาพการผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Word wall เพื่อการจัดการเรียนรู้ พบว่า วงรอบที่ 1 ใน 8 ด้าน ไม่ผ่านเกณฑ์ 3 ด้าน คือ ด้านการจัดการในบทเรียนและแบบฝึก ด้านการออกแบบระบบการเรียนการสอน และด้านกราฟิก โดยรวม ทั้ง 3 ด้านนั้นมีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับปานกลาง มีค่า (= 3.41) และวงรอบที่ 2 พบว่า โดยรวม ทั้ง 3 ด้าน มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่า ( = 4.48) ซึ่งมีค่าเพิ่มมากขึ้นและมีค่าร้อยละความก้าวหน้า 21.40
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
- You must be logged in to reply to this topic.