การพัฒนารูปแบบการนิเทศ RIVeR เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับปฐมวัย

Home ฟอรั่ม บทคัดย่อ การพัฒนารูปแบบการนิเทศ RIVeR เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับปฐมวัย

กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)
  • ผู้เผยแพร่
    บทคัดย่อ
  • #15647

    ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศ RIVeR เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครู
    ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับปฐมวัย
    ผู้วิจัย กังสดาล แจ้งมณี
    ปีที่พิมพ์ 2568
    คำสำคัญ รูปแบบการนิเทศ RIVeR, การจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับปฐมวัย, สมรรถนะครู

    บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการนิเทศ RIVeR เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับปฐมวัย 2. สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศ RIVeR เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับปฐมวัย 3. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศ RIVeR เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้าน
    การจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับปฐมวัย 4. เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ RIVeR เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับปฐมวัย โดยมีขั้นตอนการวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการนิเทศ RIVeR โดยการสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบ
    มีโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการนิเทศ RIVeR และคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ RIVeR โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน ใช้แบบประเมินรูปแบบการนิเทศ RIVeR แบบประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ RIVeR ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศ RIVeR คือ ครูผู้สอนระดับปฐมวัยโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ
    การจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับปฐมวัยมีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ ส่วนแบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและแบบประเมินเจตคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับปฐมวัย
    เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    และขั้นตอนที่ 4 ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ RIVeR โดยใช้แบบสอบถาม
    ความพึงพอใจ แหล่งข้อมูลคือครูผู้สอนจำนวน 30 คนโดยใช้แบบประเมินที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการวิจัย พบว่า
    1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการนิเทศ RIVeR เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครู
    ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับปฐมวัย พบว่า แนวคิดที่นำมาใช้เป็นแหล่งข้อมูลในการพัฒนารูปแบบการนิเทศ RIVeR ได้แก่ แนวคิดการนิเทศแบบพัฒนาการ แนวคิดการโค้ช แนวคิด
    การเรียนรู้ที่มองเห็นได้ แนวคิดการเสริมพลังการสร้างการมีส่วนร่วมและแนวคิดการปฏิบัติสะท้อนคิด มีหลักการคือปรับวิธีการและเนื้อหาให้สอดคล้องกับความต้องการของครู เน้นการมีปฏิสัมพันธ์แบบสองทางระหว่างผู้นิเทศกับครูผู้สอน สร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ที่เปิดกว้าง
    และมีพลังให้ความสำคัญกับพัฒนาการของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ให้ครูมีส่วนร่วม
    ในการนิเทศอย่างกระตือรือร้น สนับสนุนให้ครูและผู้นิเทศมีการสะท้อนคิดจากประสบการณ์จริงอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกให้ดียิ่งขึ้น
    2. รูปแบบการนิเทศ RIVeR เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
    ระดับปฐมวัยที่สร้างขึ้น มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการนิเทศ การวัดและประเมินผล โดยมีขั้นตอนการนิเทศ ดังนี้ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมและกำหนดทิศทาง ขั้นที่ 2 การร่วมมือออกแบบและดำเนินการ ขั้นที่ 3 การสะท้อนผลและประเมินความก้าวหน้า และขั้นที่ 4 การเสริมพลังและสร้างการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ซึ่งผลการประเมินรูปแบบการนิเทศ RIVeR เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับปฐมวัย และคู่มือการใช้รูปแบบการนิเทศ RIVeR พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากทั้งสองรายการ
    3. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการนิเทศ RIVeR เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัด
    การเรียนรู้เชิงรุกระดับปฐมวัย พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
    ระดับปฐมวัย หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนระดับปฐมวัยในส่วนกิจกรรมการเรียนรู้
    มีลักษณะเชิงรุกส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กอยู่ในระดับมากที่สุด รวมทั้งการส่งเสริมให้เด็กเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้กับประสบการณ์เดิมหรือสถานการณ์จริง อยู่ในระดับมากที่สุดและครูผู้สอน
    มีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับปฐมวัยอยู่ในระดับดี
    4. ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการนิเทศ RIVeR เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครู
    ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกระดับปฐมวัย พบว่า ครูผู้สอนระดับปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการนิเทศ RIVeR ในระดับมากที่สุด

กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)
  • You must be logged in to reply to this topic.