การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
Home › ฟอรั่ม › บทคัดย่อ › การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด
ติดป้ายกำกับ: การบริหารจัดการศึกษา, การวิจัย, หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- This topic has 0 ข้อความตอบกลับ, 1 เสียง, and was last updated 7 months, 1 week มาแล้ว by ประจักษ์ บรรยง.
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
-
28 กุมภาพันธ์ 2024 เวลา 7:12 pm #15117
ผู้วิจัย นายประจักษ์ บรรยง
สถานที่ โรงเรียนมัธยมหนองเขียด อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนมัธยมหนองเขียด 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษารายกรณี ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนบุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม จำนวน 19 คน กลุ่มที่ 2 คือผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนบุคลากรผู้รับผิดชอบการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมในโรงเรียนทดลองใช้ตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ทำการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 24 คน และกลุ่มที่ 3 คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนบุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม จำนวน 19 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 184 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของรูปแบบหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) แบบสอบถามเพื่อประเมินรูปแบบ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นแบบประเมินความพึงพอใจ และ4) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ลำดับขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) การศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ร่างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด คือ PPFERE Model ซึ่งมี 6 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ (Preliminary) ขั้นดำเนินการ (Processing) ขั้นติดตามแนะนำ (Follow – Up recommendation) ขั้นประเมินผล (Evaluation Process) ขั้นรายงานผล (Report results) และขั้นขยายผล (Extension Step) ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนา (ร่าง) รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด ระยะที่ 3 การนำรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียดไปใช้ ระยะที่ 4 การประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด จะบริหารและจัดการศึกษาได้ดี ต้องมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ส่วนแรก ได้แก่ องค์ประกอบของรูปแบบที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา ประกอบด้วย 1) หลักการของการบริหารจัดการศึกษา 2) จุดมุ่งหมาย 3) การจัดองค์การ 4) การดำเนินการ 5) ตัวชี้วัดความสำเร็จ 6) การนำรูปแบบใช้ (PPFERE Model) และ7)เงื่อนไขความสำเร็จ และ ส่วนที่ 2 ได้แก่ องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการศึกษา ประกอบด้วย 1) การบริหารและจัดการศึกษา 2) การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 3)การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา 4)การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนรู้ 5)การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6) การนิเทศติดตาม ประเมินผลและรายงานผล 7) การประชาสัมพันธ์และการสร้างเครือข่าย และ8)คุณภาพนักเรียนตามลักษณะความมีชีวิตพอเพียง คือ ความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี
2) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบกับการบริหารและการจัดการศึกษาความสอดคล้องทุกองค์ประกอบ รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนมัธยมหนองเขียด มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้อง และตระหนักถึงความสำคัญในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ โรงเรียนส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และสืบสานวิถีชีวิตวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตนและการดำเนินชีวิตตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมีการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างหลากหลาย และ โรงเรียนส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมความมีระเบียบวินัย ความสามัคคี และการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขของคนในสังคม ส่งเสริมการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา ครู บุคลากรในโรงเรียน นอกจากนี้โรงเรียนมีการขยายผลและเผยแพร่หลักการดำเนินชีวิตตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านนักเรียนสู่บุคคลในครอบครัวและ ครูในโรงเรียน นำผลที่ได้ไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนในรูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนบุคลากรผู้ที่รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์ทุกรายการ
3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด พบว่า นักเรียนมีระดับผลการเรียนโดยรวมเฉลี่ยสูงขึ้น และผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนบุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม นักเรียน และผู้ปกครองมีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์ทุกรายการ
- 4. รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด 1) หลักการจัดต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มียุทธศาสตร์ที่อยู่บนพื้นฐานการรู้จักตนเอง การช่วยเหลือตนเอง การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการสร้างเครือข่าย หลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ภายใต้เงื่อนไขการมีความรู้และคุณธรรม และมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม มีความสมดุล พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง สอดคล้องกับภูมิสังคม และโรงเรียนต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) 2) จุดมุ่งหมาย เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งผลสู่การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาอย่างตอเนื่องและยั่งยืน 3) การจัดองค์การ ยึดหลักการมีส่วนร่วม และเน้นการทำงานเป็นทีม 4) การดำเนินการ มีดังนี้ การบริหารและจัดการศึกษาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม การนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและรายงานผล และการประชาสัมพันธ์และการสร้างเครือข่าย 5) ตัวชี้วัดความสำเร็จ ได้แก่ โครงสร้างการบริหาร แผนปฏิบัติการ หลักสูตรสถานศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวนแหล่งเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและรายงานการประเมินตนเอง 6) การนำรูปแบบไปใช้ในโรงเรียน มียุทธศาสตร์ ขั้นตอน วิธีการอย่างเป็นระบบ ดำเนินการตามขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการ ขั้นติดตาม แนะนำ และขั้นประเมินผล รายงานผล และขยายผล 7) เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนต้องมีความรู้ ตระหนักในความสำคัญของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณธรรม จริยธรรม ประพฤติตน เป็นแบบอย่างที่ดี ผู้บริหารต้องมีความรู้ ความสามารถในการบริหารและจัดการศึกษา โดยมุ่งประโยชน์สูงสุดที่นักเรียน และให้ความสำคัญกับชุมชน
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
- You must be logged in to reply to this topic.