ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21

Home ฟอรั่ม บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21

กำลังดู 2 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 2 (ของทั้งหมด 2)
  • ผู้เผยแพร่
    บทคัดย่อ
  • #15582

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการ บริหารงานวิชาการ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการ มีวิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 76 คน และการสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาและรองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ จำนวน 6 คน ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการ โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 63 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย ในปีการศึกษา 2566 รวมจำนวน 248 คน และ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 รวมจำนวน 324 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องของรูปแบบ และแบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการหาความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการวิจัยพบว่า

    1. ผลการศึกษาแนวทางการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21โดยรวมมีการปฏิบัติในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน มีการปฏิบัติระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการวัดและประเมินผล การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการใช้สื่อเทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ ตามลำดับ
    2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21  พบว่า มีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ  วัตถุประสงค์ของรูปแบบ  กระบวนการดำเนินงาน แนวทางในการประเมิน และเงื่อนไขความสำเร็จ โดยกระบวนการดำเนินงานของรูปแบบ ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล และการใช้สื่อเทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้ ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิโดยภาพรวม รูปแบบการบริหารงานวิชาการมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 พบว่า

    3.1 นักเรียนมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกระดับชั้นและทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อยู่ในระดับดีเยี่ยม ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) พบว่า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับชาติทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

    3.2 นักเรียนมีสมรรถนะตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

    3.3 ครูมีความสามารถในการปฏิบัติงานตามรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 โดยรวม ทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับการปฏิบัติมากที่สุด

    1. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 พบว่า

    4.1 ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้องของรูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมากที่สุด

    4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 พบว่า ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดทักษะการเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมและชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนแห่งศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

    #15583

    .

กำลังดู 2 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 2 (ของทั้งหมด 2)
  • You must be logged in to reply to this topic.