การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลฟากท่า(วัดวังขวัญ วันครู 2503)
Home › ฟอรั่ม › บทคัดย่อ › การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลฟากท่า(วัดวังขวัญ วันครู 2503)
- This topic has 0 ข้อความตอบกลับ, 1 เสียง, and was last updated 2 weeks, 5 days มาแล้ว by
นิลวรรณ สอดแก้ว.
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
-
31 มีนาคม 2025 เวลา 4:32 pm #15600
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบและแนวทางการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลฟากท่า (วัดวังขวัญ วันครู 2503) 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตนักเรียนโรงเรียนอนุบาลฟากท่า (วัดวังขวัญ วันครู 2503) และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลฟากท่า (วัดวังขวัญ วันครู 2503) โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับการศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชากร ได้แก่ ครูโรงเรียนอนุบาลฟากท่า (วัดวังขวัญ วันครู 2503) จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ของลิเคอร์ท (Likert) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) ส่วนการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการสังเคราะห์เอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
- ผลการศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบและแนวทางการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียน พบว่า มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ปัจจัยการบริหาร 4) กระบวนการบริหาร 5) แนวทางการจัดกิจกรรม 6) ผลลัพธ์ และ 7) เงื่อนไขความสำเร็จ
2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลฟากท่า (วัดวังขวัญ วันครู 2503) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 ปัจจัยการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้วยคุณลักษณะของบุคลากร SMART Model ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารมืออาชีพ (SMART Director) 2) ครูมืออาชีพ (SMART Teacher) 3) นักเรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข (SMART Student) องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วม ด้วยกระบวนการ PODCA Model มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การมีส่วนร่วมในการวางแผน (Planning : P) ขั้นตอนที่ 2 การมีส่วนร่วมในการจัดองค์กร (Organizing : O) ขั้นตอนที่ 3 การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (Doing : D) ขั้นตอนที่ 4 การมีส่วนร่วมในการติดตามประเมิน (Checking : C) และ ขั้นตอนที่ 5 การมีส่วนร่วมในการปรับปรุงพัฒนา (Acting : A) องค์ประกอบที่ 5 แนวทางการจัดกิจกรรมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มี 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) การคัดกรองนักเรียน 3) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน 4) การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน 5) การส่งต่อนักเรียน องค์ประกอบที่ 6 ผลลัพธ์ และองค์ประกอบที่ 7 เงื่อนไขความสำเร็จ
- ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลฟากท่า (วัดวังขวัญ วันครู 2503) พบว่า 1) ผลการสำรวจความคิดเห็นของครูพบว่าครูสามารถปฏิบัติตามรูปแบบฯ ได้ อยู่ในระดับมาก 2) ผลการประเมินทักษะชีวิตของนักเรียน 4 ด้าน คือทักษะด้านร่างกาย ทักษะด้านสังคม ทักษะด้านอารมณ์ และทักษะด้านสติปัญญา ก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่าในภาพรวมการใช้ทักษะชีวิตของนักเรียนมีร้อยละของผลการประเมินทุกด้าน ในปีการศึกษา 2567 สูงกว่าในปีการศึกษา 2566 3) ผลการพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่าในภาพรวมร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 ที่ได้ระดับผลการเรียนระดับดี (ระดับ 3) ขึ้นไป ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2567 สูงกว่าในปีการศึกษา 2566 4) ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่าในภาพรวมร้อยละของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–6 ในปีการศึกษา 2567 สูงกว่าในปีการศึกษา 2566
- ผลการประเมินรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลฟากท่า (วัดวังขวัญ วันครู 2503) พบว่า 1) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการปฏิบัติตามรูปแบบฯ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลฟากท่า (วัดวังขวัญ วันครู 2503) ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่ารูปแบบฯ มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
- You must be logged in to reply to this topic.