นวัตกรรม“พอเพียง สุจริต รับผิดชอบ มีอาชีพ บูรณาการ ปราชญ์ท้องถิ่น”

Home ฟอรั่ม บทคัดย่อ นวัตกรรม“พอเพียง สุจริต รับผิดชอบ มีอาชีพ บูรณาการ ปราชญ์ท้องถิ่น”

กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)
  • ผู้เผยแพร่
    บทคัดย่อ
  • #15595

    กิจกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอนของ QSCCS กระบวนการใน 5 ขั้นตอนของ QSCCS ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 Learn to Question ได้แก่การเตรียมแหล่งเรียนรู้การเตรียมบทบาทครู การสำรวจชุมชนสร้างแรงบันดาลใจ และการระดมความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 2 Learn to Search ได้แก่การสืบค้น วิเคราะห์จำแนกแยกแยะข้อมูลที่ถูกต้องและการออกแบบการเรียนรู้ร่วมกัน ขั้นที่ 3 Learn to Construct ได้แก่ การลงมือปฏิบัติจากการเรียนรู้การทดลอง การสร้างชิ้นงาน การเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญและของจริง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นที่ 4 Learn to Communicate ได้แก่ การสรุปข้อมูลเพื่อนำเสนอ สื่อสารใน รูปแบบต่าง ๆ และขั้นที่ 5 Learn to Service ได้แก่ การประยุกต์ต่อยอดองค์ความรู้เพื่อสังคม/องค์กร ดังนั้นเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติ โรงเรียนบ้านเหวตาบัว จึงนำกระบวนการเรียนรู้ตามขั้นตอนของ QSCCS มาบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นบูรณาการกับรูปแบบ HTBSAPPAN MODEL  เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ครบทุกด้านตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่มีเป้าหมายชัดเจน และอาศัยแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น “ศูนย์การเรียนรู้โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าเขาซับแกงไก่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ” และวัดป่าชุมชนเขาซับแกงไก่  หมู่บ้านลำน้ำเขียว หมู่ที่ 5 ตำบลเขาน้อย อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านในท้องถิ่น กลุ่มแม่บ้าน ชุมชน ร่วมกันถ่ายทอดความรู้ ซึ่งมีกิจกรรมหลักคือ การนำสมุนไพรในท้องถิ่น ได้แก่ “ต้นฝาง” สามารถพบได้จำนวนมากบริเวณเขาซับแกงไก่ ซึ่งมีลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นภูเขาดินผสมหินปูน มีการนำส่วนต่างๆ ของต้นฝางมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑต่างๆ ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน และเปิดให้ชาวบ้านผู้สนใจเข้าศึกษาวิชาการสร้างอาชีพจากศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรได้หลายอาชีพ นอกจากนักเรียนจะได้สัมผัสกับภูมิปัญญาจากปราชญ์ชาวบ้านแล้วยังสามารถศึกษาวิธีการต่างๆ แล้วนำไปปฏิบัติได้จริงตรงตามหลักการใช้ชีวิตแบบพอเพียงได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ซึ่งจะนำไปสู่ กระบวนการ Active learning ได้ง่าย โดยให้นักเรียนได้คิดทุกชั่วโมง ทุกวิชา คิดอย่างอัตโนมัติ ไม่เพิ่มภาระงาน แต่นักเรียนจะมีเวลาเพิ่ม และเข้าใจ เข้าถึงความรู้แบบมีความหมาย และรู้ว่าสิ่งที่เรียนไปเกิดประโยชน์ ต่อชีวิตประจำวัน สร้างเวที และสถานการณ์ให้นักเรียนในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ทักษะ และเห็นคุณค่าในการปฏิบัติงานจนสำเร็จ แล้วเติมเต็มด้วยเครือข่ายแหล่งเรียนรู้นำมาบูรณาการเข้าสู่ห้องเรียน เพราะแหล่งเรียนรู้เป็นระบบ นิเวศทางการเรียนรู้ที่ให้นักเรียนได้ใช้ความรู้บนฐานของการปฏิบัติจริงจากปราชญ์ท้องถิ่น ที่มีการบ่มเพาะ ประสบการณ์จนกลายเป็น Soft power ของความเป็นไทยได้ครบทุกมิติต่อยอดด้านอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองครอบครัว ภายใต้กิจกรรมของสถานศึกษา “พอเพียง สุจริต รับผิดชอบ มีอาชีพ บูรณาการ ปราชญ์ท้องถิ่น”

    วัตถุประสงค์

    3.1.1 เพื่อพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เชื่อมโยงระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นบูรณาการเข้าสู่ห้องเรียน

    3.1.2 เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ มีทักษะชีวิตและเห็นคุณค่าในการปฏิบัติจริงจากปราชญ์ท้องถิ่น ศูนย์การเรียนรู้ในท้องถิ่น และมีความพร้อมสู่การดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21

    3.1.3 เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ความรู้บนฐานของการปฏิบัติจริงด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากปราชญ์ท้องถิ่น เข้าถึงและต่อยอดความรู้ เกี่ยวกับการนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงและบ่มเพาะประสบการณ์จนกลายเป็น Soft Power ต่อยอดด้านอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองครอบครัว ภายใต้กิจกรรมของสถานศึกษา “พอเพียง สุจริต รับผิดชอบ มีอาชีพ บูรณาการ ปราชญ์ท้องถิ่น”

    เป้าหมายเชิงปริมาณ

    1) นักเรียนได้เรียนรู้หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และนำความรู้ที่ได้จากการใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นนำมาบูรณาการเข้าสู่ห้องเรียนได้

    2) นักเรียนมีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ มีทักษะชีวิตและเห็นคุณค่าในการปฏิบัติจริงจากปราชญ์ท้องถิ่น ศูนย์การเรียนรู้ในท้องถิ่น และมีความพร้อมสู่การดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21

    3) นักเรียนได้ใช้ความรู้บนฐานของการปฏิบัติจริงด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากปราชญ์ท้องถิ่น เข้าถึงและต่อยอดความรู้เกี่ยวกับการนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงและบ่มเพาะประสบการณ์จนกลายเป็น Soft Power ต่อยอดด้านอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองครอบครัว ภายใต้กิจกรรมของสถานศึกษา “พอเพียง สุจริต รับผิดชอบ มีอาชีพ บูรณาการ ปราชญ์ท้องถิ่น”

    เป้าหมายเชิงคุณภาพ

    โรงเรียนมีการจัดการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เชื่อมโยงระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นบูรณาการเข้าสู่ห้องเรียน นักเรียนมีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้มีทักษะชีวิต และเห็นคุณค่าในการปฏิบัติจริงจากปราชญ์ท้องถิ่น ศูนย์การเรียนรู้ในท้องถิ่น มีความพร้อมสู่การดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้ใช้ความรู้บนฐานของการปฏิบัติจริงด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากปราชญ์ท้องถิ่น เข้าถึงและต่อยอดความรู้เกี่ยวกับการนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงและบ่มเพาะประสบการณ์จนกลายเป็น Soft Power ต่อยอดด้านอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองครอบครัว ภายใต้กิจกรรมของสถานศึกษา “พอเพียง สุจริต รับผิดชอบ มีอาชีพ บูรณาการ ปราชญ์ท้องถิ่น”

    กระบวนการพัฒนานวัตกรรม

    การดำเนินชีวิตโดยมีประเพณีวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หล่อหลอมจากบรรพบุรุษสืบทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ให้เห็นคุณค่าและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยังคงสืบไป โรงเรียนบ้านเหวตาบัว ตระหนักเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงได้จัดกระบวนการเรียนรู้แก่นักเรียนตามนโยบายและมุ่ง ส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาความรู้แบบบูรณาการตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้นักเรียนได้ใช้ความรู้บนฐานของการปฏิบัติจริงด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากปราชญ์ท้องถิ่น เข้าถึงและต่อยอดความรู้เกี่ยวกับการนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงและบ่มเพาะประสบการณ์จนกลายเป็น Soft Power ต่อยอดด้านอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองครอบครัว ภายใต้กิจกรรมของสถานศึกษา “พอเพียง สุจริต รับผิดชอบ มีอาชีพ บูรณาการ ปราชญ์ท้องถิ่น”

              ขั้นตอนการดำเนินงาน

    1. วิเคราะห์หลักสูตรและแหล่งเรียนรู้ท้องถิ่น
    2. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้
    3. จัดทำเอกสารประกอบหลักสูตรรายวิชา
    4. ทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีสื่อ นวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้มาใช้ในการจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย
    5. มีการวัดผลประเมินผลที่หลากหลาย
    6. มีการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยดำเนินงานตาม กระบวนการเรียนรู้ HTBSAPPAN MODEL

    ผลการดำเนินงาน

    นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และนำความรู้ที่ได้จากการใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นนำมาบูรณาการเข้าสู่ห้องเรียนได้ นักเรียนมีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ มีทักษะชีวิตและเห็นคุณค่าในการปฏิบัติจริงจากปราชญ์ท้องถิ่น ศูนย์การเรียนรู้ในท้องถิ่น และมีความพร้อมสู่การดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้ใช้ความรู้บนฐานของการปฏิบัติจริงด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) จากปราชญ์ท้องถิ่น เข้าถึงและต่อยอดความรู้เกี่ยวกับการนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงและบ่มเพาะประสบการณ์จนกลายเป็น Soft Power ต่อยอดด้านอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองครอบครัว ภายใต้กิจกรรมของสถานศึกษา “พอเพียง สุจริต รับผิดชอบ มีอาชีพ บูรณาการ ปราชญ์ท้องถิ่น”

    ผลที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา

    โรงเรียนมีนวัตกรรมจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนบูรณาการตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สู่การสร้าง Soft Power ต่อยอดด้านอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองครอบครัว ภายใต้กิจกรรมของสถานศึกษา “พอเพียง สุจริต รับผิดชอบ มีอาชีพ บูรณาการ ปราชญ์ท้องถิ่น” อย่างเป็นรูปธรรมยั่งยืนเป็นที่ยอมรับของชุมชน และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนและผู้ที่สนใจให้เข้ามาศึกษาได้

    ปัจจัยความสำเร็จ

    การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ 5 STEPS ควบคู่กับ HTBSAPPAN MODEL

    ขั้นตอนที่ 1 การเรียนรู้ตั้งคำถาม หรือขั้นตั้งคำถาม เป็นขั้นตอนให้นักเรียนฝึกสังเกตสถานการณ์ ปรากฏการณ์ต่างๆ จนเกิดความสงสัย จากนั้นฝึกให้เด็กตั้งคำถามสำคัญ รวมทั้งการคาดคะเนคำตอบด้วยการสืบค้นความรู้จากแหล่งต่างๆ และสรุปคำตอบชั่วคราว

    ขั้นตอนที่ 2 การเรียนรู้แสวงหาสารสนเทศ เป็นขั้นตอนการออกแบบ/วางแผนเพื่อรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งการทดลองเป็นขั้นที่เด็กใช้หลักการนิรภัย (Deduction reasoning) เพื่อการออกแบบข้อมูล

    ขั้นตอนที่ 3 การเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ เป็นขั้นตอนที่เด็กมีการคิดวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การสื่อความหมายข้อมูลด้วยแบบต่างๆ หรือด้วยผังกราฟิก การแปรผลจนถึงการสรุปผล หรือการสร้างคำอธิบายเป็นการสร้างองค์ความรู้ซึ่งเป็นแก่นความรู้ประเภทข้อเท็จจริง คำนิยาม มโนทัศน์ หลักการ กฏ ทฤษฏี    ขั้นตอนที่ 4 การเรียนรู้เพื่อการสื่อสาร คือขั้นนำเสนอความรู้ด้วยการมใช้ภาษาที่ถูกต้องชัดเจน และเป็นที่เข้าใจอาจเป็นการนำเสนอภาษาและนำเสนอด้วยวาจา

    ขั้นตอนที่ 5 การเรียนรู้เพื่อตอบแทนสังคม เป็นขั้นตอนการฝึกเด็กให้นำความรู้ที่เข้าใจนำการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์เพื่อส่วนรวมหรือเห็นต่อประโยชน์ส่วนรวมด้วยการทำงานเป็นกลุ่ม ร่วมสร้างผลงานที่ได้จากการแก้ปัญหาสังคมอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งอาจเป็นความรู้แนวทางสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ ชิ้นงาน สินค้า ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้วยตวามรับผิดชอบต่อสังคม อันเป็นการแสดงออกของการเกื้อกูลและแบ่งปันให้สังคมมีสันติอย่างยั่งยืน

    การจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำและได้คิดในสิ่งที่ทำลงไปเพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ตรงให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน โดยผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครูด้วยการลงมือทำกิจกรรมร่วมกันทั้งในชั้นเรียนและ นอกชั้นเรียน จากนั้นก็สร้างองค์ความรู้ขึ้นจากสิ่งที่ได้ลงมือทำนั้นผ่านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน การอภิปราย และการสะท้อนคิดเพื่อสร้างความหมายกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ อีกทั้งได้จัดทำหลักสูตรบูรณาการท้องถิ่นเพื่อสร้างความตระหนักให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดกระบวนการเรียนรู้แก่นักเรียนตามนโยบายและมุ่งส่งเสริมให้นักเรียนพัฒนาความรู้แบบบูรณาการตามแนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สู่การสร้าง Soft Power ผ่านแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นเพื่ออนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย มาประยุกต์ต่อยอดสร้างสรรค์ผลงานให้ทันสมัยเพื่อให้เข้ากับการใช้งานของคนในปัจจุบันและยังเป็นการเผยแพร่ วิธีการสร้างผลิตภัณฑ์ตามปราชญ์วิถีชาวบ้าน ให้ยังคงอยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับสภาพปัญหาและบริบทของโรงเรียน ตามรูปแบบการบริหารงาน HTBSAPPAN MODEL ร่วมกับวงจรคุณภาพ PDCA ซึ่งมีรูปแบบการบริหารงาน

    บทเรียนที่ได้รับ

    โรงเรียนมีผลสำเร็จของการดำเนินงานที่เกิดจากการนำไปใช้ คุณค่าของนวัตกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนา ผู้เรียนและประโยชน์ที่ได้รับจากนวัตกรรม ดังนี้

    ด้านนักเรียน

    1. นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และนำความรู้ที่ได้จากการใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นนำมาบูรณาการเข้าสู่ห้องเรียนได้
    2. นักเรียนมีความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ มีทักษะชีวิตและเห็นคุณค่าในการปฏิบัติจริงจาก ปราชญ์ท้องถิ่น มีความพร้อมสู่การดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21
    3. นักเรียนได้ใช้ความรู้บนฐานของการปฏิบัติจริงจากปราชญ์ท้องถิ่น บนฐานของการปฏิบัติจริงด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เข้าถึงและต่อยอดความรู้ จากปราชญ์ท้องถิ่น การนำวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ นำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงและบ่มเพาะประสบการณ์จนกลายเป็น Soft Power ต่อยอดด้านอาชีพ สร้างรายได้ให้กับตนเองครอบครัว ภายใต้กิจกรรมของสถานศึกษา “พอเพียง สุจริต รับผิดชอบ มีอาชีพ บูรณาการ ปราชญ์ท้องถิ่น”

    ด้านครู

    ครูผู้สอนมีแนวทางการทำงานที่พัฒนาคุณภาพนักเรียนให้ไปสู่ศตวรรษที่ 21 ในการทำงานเป็นทีม บูรณาการองค์ความรู้ของแต่ละศาสตร์เข้าด้วยกันด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และนำความรู้ที่ได้จากการใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นนำมาบูรณาการเข้าสู่ห้องเรียน เน้นให้นักเรียนปฏิบัติจริง ตามขั้นตอน 5 STEPS

    ด้านโรงเรียน

    1. โรงเรียนได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีลักษณะ ใกล้เคียงกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน
    2. โรงเรียนมีหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่เชื่อมโยงระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการใช้แหล่ง เรียนรู้ท้องถิ่นบูรณาการกับหลักสูตรสถานศึกษา
    3. สามารถพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภายใน ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีความยั่งยืนต่อไป

              ด้านผู้ปกครอง

    นักเรียนสามารถขยายผลจากความรู้ที่ได้ศึกษาไปยังผู้ปกครอง ในการประกอบอาชีพได้

    ด้านชุมชน

    ชุมชนสามารถใช้แหล่งเรียนรู้ภายในของโรงเรียน เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน และมีส่วนร่วมในการเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน

    ปัจจัยส่งผลให้เกิดความสำเร็จ

    ปัจจัยภายใน

    1. ผู้บริหารและคณะครูให้ความเห็นชอบและให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมมีวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัด กิจกรรมอย่างเพียงพอ
    2. ครูและนักเรียนกล้าที่จะก้าวข้ามขีดจำกัดของตนเองกล้าคิดกล้าลงมือทำเพื่อพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ ในการเรียนรู้ร่วมกัน
    3. นักเรียนมีความรู้มาใช้ในการอธิบายเชื่อมโยงและบูรณาการองค์ความรู้ทั้งทางด้านสังคมศาสตร์เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน

    ปัจจัยภายนอก

    ผู้ปกครองชุมชนและหน่วยงานภายนอกให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และให้ความช่วยเหลือใน ด้านต่างๆเป็นอย่างดี

    บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)

    บทเรียนที่ได้รับจากการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงระหว่างการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นบูรณาการกับหลักสูตรสถานศึกษา ทำให้นักเรียนได้นำเสนอผลงานจากการเรียนรู้ของตนเองด้วยความภาคภูมิใจ นักเรียนยังได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ผู้ปกครอง ครู ที่มาเยี่ยมชม ที่เกิดจากความพยายามคิดค้นนวัตกรรมการเรียนการสอน และการดำเนินการอย่างต่อเนื่องของครู ตลอดจนการนิเทศติดตามอย่างเป็นระบบ ทำให้การดำเนินงานประสบผลสำเร็จส่งผลต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ถือเป็น บทเรียนที่ได้รับ ดังนี้

    – นักเรียนมีความรู้ มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ

    – ครูมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความภาคภูมิใจ และชื่นชมในผลที่เกิดแก่นักเรียน

    – ชุมชนมีความภาคภูมิใจที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของโรงเรียน

    เงื่อนไขความสำเร็จ

    สำหรับเงื่อนไขความสำเร็จของนวัตกรรม เรื่อง “พอเพียง สุจริต รับผิดชอบ มีอาชีพ บูรณาการ ปราชญ์ท้องถิ่น” เป็นความร่วมมือกันในการพัฒนา ความพอเพียง ความซื่อสัตย์สุจริต ความรับผิดชอบ และคุณธรรมความมุ่งมั่น ความสามัคคีให้เกิดขึ้นกับนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยนำกิจกรรมที่ดังกล่าวมาใช้ในการดำเนินการ ผู้บริหารและครูได้ประชุมร่วมกัน เพื่อวางแผนการพัฒนางานผ่านกระบวนการ PLC และการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ 5 STEPS ควบคู่กับ HTBSAPPAN MODEL ในการทำงาน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ประเด็นปัญหาใดที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็จะมีผู้บริหาร คณะครูที่คอยให้คำปรึกษา จนทำให้งานประสบผลสำเร็จ

กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)
  • You must be logged in to reply to this topic.