บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ร่วมกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนา
ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาราชควาย
ชื่อผู้วิจัย นางศลิษา ผลาจันทร์
ปีที่ทำวิจัย 2566 – 2567
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ร่วมกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาราชควาย โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) หาแนวทางรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ร่วมกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาราชควาย 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ร่วมกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาราชควาย 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ร่วมกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาราชควาย และ 4) ประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ร่วมกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาราชควาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านนาราชควาย ปีการศึกษา 2566
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการหาแนวทางรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ร่วมกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาราชควาย มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ จุดประสงค์ วิธีการยกระดับผลสัมฤทธิ์ และผลลัพธ์จากการพัฒนา โดยรูปแบบการบริหารที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ร่วมกับการบริหารแบบมีส่วนร่วม มี 5 วิธีการ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน และการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนในการจัดการศึกษา 3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ร่วมกับการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดยพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า นักเรียนมีผลการเรียนในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 81.20 โดยนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 84.21 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าเฉลี่ย 70.00 นักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ย 89.00 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ย 82.00 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ย 87.00 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ย 75.00 4) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ร่วมกับการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาราชควาย พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณา เป็นรายด้านพบว่า ด้านความเป็นไปได้ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความเหมาะสม มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก ด้านความเป็นประโยชน์ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด