แนวทางการพัฒนากระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่

Home ฟอรั่ม บทคัดย่อ แนวทางการพัฒนากระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่

กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)
  • ผู้เผยแพร่
    บทคัดย่อ
  • #14496

    ชื่องานวิจัย  แนวทางการพัฒนากระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่

    ผู้วิจัย                วิร์ธิมา กันยายน

    ปีที่พิมพ์            2566

    บทคัดย่อ

    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนากระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้    ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะ การจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรประกอบด้วย พนักงานครู และบุคลากร โรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่งในปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน เครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นอนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 415 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 453 คน ดำเนินการตามกระบวนการของการวิจัยและพัฒนา (Research Devenlopment) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ประกอบด้วย แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวทางการพัฒนากระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสานวิธี (mixed methods) โดยเก็บรวบรวมข้อมูล     ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviations) และนำเสนอผลโดยพรรณนาความ

          ผลการวิจัยพบว่า

    1.             ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน ของการปฏิบัติงานตามกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่                                          พบว่าสภาพปัญหาและข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารเพื่อพัฒนาความสามารถของครูด้านจัดการเรียนรู้ส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนโดยกระบวนการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในภาพรวมนั้นยังต้องการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครูยังขาดกระบวนการจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลจัดการเรียนรู้ส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนอย่างเป็นระบบชัดเจน คุณภาพผู้เรียนยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดตามเป้าหมาย  รวมถึงการดำเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษาที่ยังต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ควรมีการสร้างนวัตกรรมด้านการบริหารและการจัดการสถานศึกษาที่มีความชัดเจนในการปฏิบัติงาน และเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมจนเป็นแบบอย่างที่ดี และได้รับการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    2. ผลการหาแนวทางการพัฒนากระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่

    ผลการหาสภาพปัจจุบัน ของการปฏิบัติงานตามกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่  พบว่า ควรประกอบ ด้วย  5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)การสนับสนุนและการเป็นผู้นำร่วม 2)การสร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม 3)การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย 4)การร่วมเรียนรู้และประยุกต์ใช้ และ5)การแลกเปลี่ยน ประสบการณ์

    1.            ผลการศึกษาผลการดำเนินงานตามทางการพัฒนากระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่                                                             3.1 ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ของรูปแบบแนวทาง  พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือมากกว่า หรือเท่ากับ 3.51  ค่าเฉลี่ย (m) 4.25  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) 0.22 เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ องค์ประกอบที่ 3 การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย องค์ประกอบที่ 2 การสร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม องค์ประกอบที่ 1 การสนับสนุนและการเป็นผู้นำร่วม องค์ประกอบที่ 5 การแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ และองค์ประกอบที่ 4 การร่วมเรียนรู้และประยุกต์ใช้  ตามลำดับ

    3.2 ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่ารูปแบบมีค่าประสิทธิภาพ    ด้านความเหมาะสมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.53 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.00 – 4.80 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์      ที่กำหนดคือ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.51

    1.             ผลการประเมินผลและพัฒนาแนวทางการพัฒนากระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่                                                            4.1 การพัฒนาแนวทางการพัฒนากระบวนการชุมชนแห่งการ เรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่  ควรมีแนวปฏิบัติตาม 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสนับสนุนและการเป็นผู้นำร่วม 2)การสร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม 3)การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย 4)การร่วมเรียนรู้และประยุกต์ใช้ และ5)การแลกเปลี่ยน ประสบการณ์

    4.2 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อแนวทาง  จำแนกตามรายด้าน พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (m= 4.79, s=0.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 องค์ประกอบ โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ องค์ประกอบที่ 2 การสร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม (m = 4.84, s = 0.37) องค์ประกอบที่ 5 การแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ (m = 4.83, s =0.36) องค์ประกอบ  ที่ 4 การร่วมเรียนรู้และประยุกต์ใช้   (m = 4.81, s = 0.37) องค์ประกอบที่ 3 การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย             (m = 4.79, s = 0.34) และ องค์ประกอบที่ 1 การสนับสนุนและการเป็นผู้นำร่วม (m = 4.71, s = 0.52) ตามลำดับ

    1. ผลการประเมินซ้ำเพื่อยืนยันผลการดำเนินงานตามทางการพัฒนากระบวนการชุมชนแห่งการ เรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่                        ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความเหมาะสมของรูปแบบ พบว่ารูปแบบมีค่าประสิทธิภาพด้านความเหมาะสมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.60 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.00 – 4.80 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.51
    2.             ผลการประเมินผลและพัฒนาแนวทางการพัฒนากระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่

    ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อแนวทางจำแนกตามรายด้าน พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (m= 4.81, s=0.21) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ องค์ประกอบที่1.การสนับสนุนและการเป็นผู้นำร่วม (m = 4.86, s = 0.52) องค์ประกอบที่4.การร่วมเรียนรู้และประยุกต์ใช้   (m = 4.84, s = 0.37) องค์ประกอบ    ที่3.การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย(m = 4.81, s =0.34) องค์ประกอบที่5.การแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ (m = 4.79,   s = 0.36) และ องค์ประกอบที่2.การสร้างค่านิยมและวิสัยทัศน์ร่วม (m = 4.77, s = 0.37) ตามลำดับ

กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)
  • You must be logged in to reply to this topic.