การเตรียมความพร้อมเพื่อขอมีและเลื่อนวิทยฐานะตามหลักเกณฑ์ (ว 21/2560)

0
4793
การเตรียมความพร้อมเพื่อขอมีและลื่อนําวิทยฐานะ-ตามหลักเกณฑ์ว-21

หลังจากที่หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครู มีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะ ตามหนังสือสํานักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 (ว 21/2560) ประกาศใช้มาได้ระยะหนึ่งแล้ว และ สํานักงาน ก.ค.ศ. ได้ชี้แจงสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยว กับหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าวไปแล้วโดยหลักเกณฑ์ ดังกล่าวได้กําหนดคุณสมบัติไว้ ดังนี้

1) การดํารง ตําแหน่งครู และหรือวิทยฐานะ ในการขอมีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะในแต่ละวิทยฐานะ เป็นระยะเวลา 5 ปี
2) มีชั่วโมงการปฏิบัติงาน (ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ชั่วโมงงานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ (รวมชั่วโมง การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: PLC) และ ชั่วโมงงานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น) วิทยฐานะ ครูชํานาญการหรือวิทยฐานะครูชํานาญการพิเศษ จํานวน 800 ชั่วโมง/ปี และวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญหรือ วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ จํานวน 900 ชั่วโมง/ปี
3) ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย คุณธรรม จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพย้อนหลัง 5 ปี นับถึงวันที่ยื่นคําขอ
4) ผ่านการพัฒนาตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ. กําหนด และ
5) มีผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ สายงานการสอน ย้อนหลัง 5 ปีการศึกษาติดต่อกัน โดยต้องมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่า 3 ปี การศึกษา

ในช่วงที่ผ่านมามีข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ตําแหน่งครู ที่ประสงค์จะยื่นขอรับ การประเมิน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯว 21/ ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน ได้หารือมายังสํานักงาน ก.ค.ศ. เกี่ยวกับคุณสมบัติในการขอมีวิทยฐานะและ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ดังกล่าว เกี่ยวกับชั่วโมงการปฏิบัติงาน และการประเมินผลงาน ที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ วารสารฉบับนี้จึงต้องการ สร้างความเข้าใจในเรื่องที่ครูมีความสงสัย และให้ คําแนะนําในการเตรียมความพร้อม เนื่องจากหลักเกณฑ์ และวิธีการฯว 21/ เป็นการนําผลการปฏิบัติงาน ที่ผ่านมาย้อนหลัง 5 ปี มาเสนอขอรับการประเมิน

ซึ่งครูจะต้องสะสมผลงานอย่างต่อเนื่อง มิใช่มาสร้าง ผลงานในปีที่จะยื่นคําขอรับการประเมินเท่านั้น

คุณครูที่ประสงค์จะยื่นขอรับการประเมิน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 21/ ควรจะต้อง เตรียมความพร้อม โดยการศึกษามาตรฐานตําแหน่ง และมาตรฐานวิทยฐานะที่ก.ค.ศ. กําหนดก่อนเนื่องจาก เป็นการกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและลักษณะงาน ที่ปฏิบัติของครู และคุณภาพการปฏิบัติของแต่ละ วิทยฐานะในการขอรับการประเมินที่มีความแตกต่างกัน จากนั้นต้องศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการฯว 21/2560 และคู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา ตําแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อน วิทยฐานะ เนื่องจากคู่มือดังกล่าวได้อธิบายรายละเอียด เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 21/2560 และ รายละเอียดเกี่ยวกับตัวชี้วัดการประเมินไว้ทําให้สามารถ เข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งท่าน สามารถดาวน์โหลดคู่มือการประเมินดังกล่าวได้ทาง เว็บไซต์สํานักงาน ก.ค.ศ. www.otepc.go.th โดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ฉบับนี้ผมจะขอ อธิบายเกี่ยวกับชั่วโมงการปฏิบัติงานและการประเมิน ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อสร้างความ เข้าใจและสามารถนําไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ดังนี้

1. ชั่วโมงการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย ชั่วโมง สอนตามตารางสอนชั่วโมงงานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ (รวมชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: PLC) และชั่วโมงงานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จะขออธิบาย ดังนี้

– ชั่วโมงสอนตามตารางสอน ต้องเป็น ชั่วโมงสอนที่กําหนดไว้ตามหลักสูตร จึงจะสามารถ นํามานับเป็นชั่วโมงสอนตามตารางสอนได้ ทั้งนี้ ก.ค.ศ. และสถานศึกษาที่ทําการสอน เช่น ระดับปฐมวัย ต้องมี ชั่วโมงสอนไม่ต่ํากว่า 6 ชั่วโม/สัปดาห์ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ไม่ต่ํากว่า 12 ชั่วโมง/สัปดาห์เป็นต้น

ซึ่งกําหนดไว้ตามหนังสือสํานักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/0635 ลงวันที่ 10 ตุลาคม

– ชั่วโมงงานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และชั่วโมงงานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น เป็นงาน ที่นอกเหนือจากงานสอน หากผู้อํานวยการสถานศึกษา มอบหมายงานให้ครูรับผิดชอบงานดังกล่าว ต้องกําหนด ชั่วโมงขั้นต่ําไว้ด้วย เช่น ครูมีคําสั่งมอบหมายให้ปฏิบัติงาน พัสดุ ไม่เกิน 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ สามารถนําชั่วโมง การปฏิบัติงานจริงมานับเป็นชั่วโมงสนับสนุนการจัด การเรียนรู้ได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมง เป็นต้น

ทั้งนี้ ก.ค.ศ. ได้กําหนดให้มีการดําเนินการ มีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Leaming Community : Loซึ่งผู้อํานวยการสถานศึกษา ต้องสนับสนุนให้มีการดําเนินการดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหา การจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาด้วย โดยผู้ที่จะ ขอมีวิทยฐานะครูชํานาญการหรือขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะ ครูชํานาญการพิเศษ ต้องมีชั่วโมงการปฏิบัติงาน ในแต่ละปี ไม่น้อยกว่า 800 ชั่วโมง โดยชั่วโมงการปฏิบัติงานต้องมี ชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง และต้องมีชั่วโมงสอนขั้นต่ํา ตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด สําหรับผู้ที่จะขอเลื่อนเป็น วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญหรือวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ พิเศษ ต้องมีชั่วโมงการปฏิบัติงาน ในแต่ละปี ไม่น้อย กว่า 900 ชั่วโมง โดยชั่วโมงการปฏิบัติงานต้องมีชั่วโมง การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในแต่ละปีไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง และต้องมีชั่วโมงสอน ขั้นต่ําตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด | ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม เป็นต้นมา

การยื่นคําขอรับการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว2/ ในช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน คุณครูส่วนใหญ่ จะไม่เข้าใจเกี่ยวกับการนับชั่วโมงการปฏิบัติงาน และ ชั่วโมง PLC ก่อนวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 และตั้งแต่ วันที่ 5 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป จึงจะขอยกตัวอย่าง ดังต่อไปนี้ เพื่อให้คุณครูเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ตัวอย่าง นาย ก ยื่นคําขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชํานาญการพิเศษ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2562 การรายงานชั่วโมงการปฏิบัติงาน ย้อนหลัง 5 ปี คือ วันที่ 12 ตุลาคม 2557 – วันที่ 11 ตุลาคม 2562 ดังนี้

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า

1) ในรอบปีที่ 1 (12 ต.ค. 57 – 11 ต.ค. 58) และ รอบปีที่ 2 (12 ต.ค. 58 – 11 ต.ค. 59) เป็นช่วงก่อน วันที่ 5 กรกฎาคม ในแต่ละปี ต้องมีชั่วโมงสอน ขั้นต่ําและมีภาระงานอื่นรวมแล้วไม่ต่ํากว่า 18 ชั่วโมง/ สัปดาห์ ไม่มีชั่วโมง PLC และมีจํานวนชั่วโมงปฏิบัติงาน รวมไม่ถึง 800 ชั่วโมง ก็ถือว่ามีชั่วโมงการปฏิบัติงาน เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด

สรุป รอบปีที่ 1 มี 780 ชั่วโมง และรอบปีที่ 2 มี 770 ชั่วโมง จึงมีชั่วโมงปฏิบัติงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด คือ มีชั่วโมงสอนขั้นต่ําและมีภาระงานอื่น

รวมแล้วไม่ต่ํากว่า 18 ชั่วโมง/สัปดาห์

2) ในรอบปีที่ 3 (12 ต.ค. 59 – 11 ต.ค. 60) เป็นช่วงคาบเกี่ยววันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ให้แยก คํานวณเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ก่อนวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 (วันที่ 12 ต.ค. 2559 – 4 ก.ค. 2560) และช่วงที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป (5 ก.ค. 2560 – 11 ต.ค. 2560)

(1) ช่วงที่ 1 ก่อนวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 (12 ต.ค. 59 – 4 ก.ค. 60) พิจารณาเช่นเดียวกับข้อ 1)

(2) ช่วงที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นไป (5 ก.ค. 2560 – 11 ต.ค. 2560) ต้องมี

ชั่วโมงสอนขั้นต่ําตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด และมีจํานวน ชั่วโมง PLC ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง

(3) ทั้ง 2 ช่วง (12 ต.ค. 59 – 11 ต.ค. 60) ต้องมีจํานวนชั่วโมงปฏิบัติงานรวมไม่น้อยกว่า 800 ชั่วโมง มีชั่วโมงสอนขั้นต่ําตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด และมีชั่วโมง PLC ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง จึงจะถือว่าเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด เนื่องจากรอบปีที่ 3 ก.ค.ศ. ประกาศใช้ หลักเกณฑ์ฯ ว 21/2560 แล้ว

สรุป รอบปีที่ 3 มีชั่วโมงปฏิบัติงานรวม 850 ชั่วโมง (520 + 330 = 850 ชั่วโมง) จึงมีชั่วโมงปฏิบัติงาน เป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด คือ มีชั่วโมงสอนขั้นต่ํา ตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด มีPLC จํานวน 50 ชั่วโมง และ มีชั่วโมงปฏิบัติงาน รวมไม่น้อยกว่า 800 ชั่วโมง

3) ในรอบปีที่ 4 (12 ต.ค. 60 – 11 ต.ค. 61) และ รอบปีที่ 5 (12 ต.ค. 60 – 11 ต.ค. 62) เป็นช่วง ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม 2560 เป็นต้นมา ในแต่ละปี ต้องมีจํานวนชั่วโมง PLC ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง และ ต้องมีชั่วโมงปฏิบัติงาน รวมไม่น้อยกว่า 800 ชั่วโมง

สรุป รอบปีที่ 4 มี 850 ชั่วโมง และรอบปีที่ 5 มี 840 ชั่วโมง จึงมีชั่วโมงปฏิบัติงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กําหนด คือ มีชั่วโมงสอนขั้นต่ําตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด มี PLC ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง และมีชั่วโมงปฏิบัติงาน รวมไม่น้อยกว่า 800 ชั่วโมง

4) เมื่อรวม 5 ปีเล้ว (12 ต.ค. 57 – 11 ต.ค62) ในแต่ละปี ต้องมีชั่วโมงขั้นต่ําตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด และมีจํานวนชั่วโมงการปฏิบัติงานรวม 5 ปีไม่น้อยกว่า 4,000 ชั่วโมง จึงจะถือว่าเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด

สรุป เมื่อรวม 5 ปี มีชั่วโมงปฏิบัติงาน รวม 4,070 ชั่วโมง จึงมีชั่วโมงปฏิบัติงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด คือ มีชั่วโมงขั้นต่ําตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด มีชั่วโมงปฏิบัติงาน รวมไม่น้อยกว่า 4,000 ชั่วโมง ดังนั้น นาย ก. จึงเป็นผู้มีคุณสมบัติต้านชั่วโมง การปฏิบัติงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กําหนด

2. การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติ

หน้าที่ ซึ่งคุณครูส่วนใหญ่ที่สอบถามเข้ามายังไม่เข้าใจ เกี่ยวกับการประเมิน ว่าจะต้องประเมินอะไร ประเมิน อย่างไร ประเมินเมื่อใด ใครเป็นผู้ประเมิน ขอให้คุณครู ศึกษารายละเอียดตัวชี้วัดการประเมินผลงานที่เกิดจาก การปฏิบัติหน้าที่ ว่าในแต่ละตัวชี้วัดมีระดับคุณภาพ และเกณฑ์การตัดสิน ก.ค.ศ. กําหนดไว้อย่างไร ซึ่งสามารถ ศึกษาได้ตามหนังสือสํานักงานก.ค.ศ. ที่ ศธ 0206.3/0635 ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2560 ดังนั้นจะขออธิบายส่วน ที่สําคัญ ดังนี้

2.1 การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติ หน้าที่ ประกอบด้วย การประเมิน ด้านที่ 1 ด้านการจัดการเรียนการสอน

1.1 สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร 1.2 การจัดการเรียนรู้

1.2.1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ 1.2.2 การจัดทําแผนการจัดการเรียนรู้

แผนการจัดการศึกษาเฉพาะ บุคคล (IEP)/ แผนการสอนรายบุคคล (IP/

แผนการจัดประสบการณ์ 1.2.3 กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้

1.2.4 คุณภาพผู้เรียน

1.3 การสร้างและการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้

1.4 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

1.5 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ด้านที่ 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน

2.1 การบริหารจัดการชั้นเรียน 2.2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน 2.3 การจัดทําข้อมูลสารสนเทศ และเอกสาร

ประจําชั้นเรียนหรือประจําวิชา ด้านที่ 3 ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ

3.1 การพัฒนาตนเอง
3.2 การพัฒนาวิชาชีพ

2.2 การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติ หน้าที่ ในแต่ละวิทยฐานะจะมีเกณฑ์ การตัดสินที่แตกต่างกัน สามารถดูรายละเอียดเกณฑ์ การตัดสินได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯ ว 21/2560 ซึ่งการประเมินดังกล่าว คุณครูจะทราบแล้วว่าในแต่ละ ตัวชี้วัด เกณฑ์การตัดสินได้กําหนดระดับคุณภาพไว้แล้ว ว่าต้องได้ระดับใด และในรายละเอียดตัวชี้วัดก็จะกําหนด รายละเอียดของระดับคุณภาพไว้แล้ว ซึ่งคุณครูจะต้อง ปฏิบัติงานตามที่ระดับคุณภาพของตัวชี้วัดกําหนด โดยจะต้องมีเอกสารหลักฐานยืนยันว่าได้ปฏิบัติงานจริง ตามระดับคุณภาพของตัวชี้วัด ตัวอย่างเช่น คุณครู ขอเลื่อนเป็นวิทยฐานะครูชํานาญการพิเศษ ซึ่งเกณฑ์ การตัดสินกําหนดว่า ตัวชี้วัดที่ 1 ทุกตัวต้องได้คุณภาพ ไม่ต่ํากว่า ระดับ 3 โดยด้านที่ 1 ตัวชี้วัดที่ 1.1 การสร้าง และหรือพัฒนาหลักสูตรคุณภาพระดับ 3 ต้องดําเนินการ ดังนี้ 1) มีการวิเคราะห์หลักสูตรมาตรฐานการเรียนรู้และ ตัวชี้วัด และหรือผลการเรียนรู้ และนําไปจัดทํารายวิชา และหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และหรือผลการเรียนรู้ 2) ปรับประยุกต์หลักสูตร รายวิชาและหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับบริบท ของสถานศึกษา ผู้เรียนท้องถิ่น และสามารถนําไปปฏิบัติ ได้จริง 3) ประเมินผลการใช้หลักสูตรอย่างเป็นระบบและ

นําผลการประเมินการใช้หลักสูตรมาปรับปรุงพัฒนา ให้มีคุณภาพสูงขึ้น 4) ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านหลักสูตร โดยต้องปฏิบัติงานในเรื่องดังกล่าว ครบ 4 เรื่อง และ มีเอกสารหลักฐานหรือร่องรอยยืนยันว่าคุณครูได้ ปฏิบัติงานจริง ก็จะถือว่าคุณครูผ่านเกณฑ์การประเมิน สําหรับตัวชี้วัดที่ 1.1 เนื่องจากได้ระดับคุณภาพ 3 ตามเกณฑ์ที่ ก.ค.ศ. กําหนด เป็นต้น

2.3 การประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติ หน้าที่ หลักเกณฑ์และวิธีการฯว21/2560 ได้กําหนดให้ ในภาคเรียนที่ 1 เมื่อคุณครูปฏิบัติงานในภาคเรียนที่ 1 แล้ว ต้องประเมินตนเองตามระดับคุณภาพของตัวชี้วัด จํานวน13 ตัวชี้วัด และเสนอให้ผู้อํานวยการสถานศึกษา ประเมินเพื่อให้คําแนะนํา โดยผู้อํานวยการสถานศึกษา ต้องให้คําแนะนําเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ในภาคเรียนที่ 1 จะเป็นการประเมินเพื่อให้คําแนะนําเท่านั้น แต่ยังไม่ต้อง สรุปผลการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ ในแต่ละตัวชี้วัด และก็นําคําแนะนําที่ผู้อํานวยการ สถานศึกษาได้ให้ไว้ไปพัฒนางานในภาคเรียนที่ 2 ต่อไป ทั้งนี้ ในระหว่างภาคเรียนคุณครูอาจไปอบรมพัฒนา เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแล้วก็สามารถนําความรู้ ต่าง ๆ ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนในชั้นเรียนของ ตนเองด้วย และเมื่อสิ้นปีการศึกษา คุณครูก็ประเมิน

ตนเองอีกครั้งในภาพรวมทั้งปีการศึกษาโดยประเมิน ตามตัวชี้วัดและให้ระดับคุณภาพตามความเป็นจริง และ บันทึกผลการประเมินลงในแบบรายงานผลงานที่เกิดจาก การปฏิบัติหน้าที่ ตําแหน่งครู รายปีการศึกษา (วฐ.2) พร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐานประกอบการพิจารณา ด้วย และเสนอให้ผู้อํานวยการสถานศึกษาพิจารณา

2.4 ผู้อํานวยการสถานศึกษา มีบทบาท เป็นผู้ประเมินในภาคเรียนที่ 1 ประเมินผลงานที่เกิดจาก การปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้คําแนะนําและเมื่อสิ้นภาคเรียนที่ 2 ผู้อํานวยการสถานศึกษาต้องประเมินผลงานที่เกิดจาก การปฏิบัติหน้าที่เป็นรายปีการศึกษาของครูทุกคน ในสถานศึกษาเพื่อเก็บผลการประเมินฯสะสมไว้เพื่อนําไป ขอมีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะ ซึ่งผู้อํานวยการ สถานศึกษา สามารถตั้งคณะกรรมการจากข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษานั้น หรือ

นอกสถานศึกษาก็ได้ตามความเหมาะสม เพื่อตรวจสอบ และกลั่นกรองข้อมูลของครูที่เสนอมา แต่คณะกรรมการ กลั่นกรองไม่ใช่ผู้ประเมินและเสนอความเห็นให้ผู้อํานวยการ สถานศึกษา ประเมินเสร็จแล้ว ต้องแจ้งผลการประเมิน ให้ครูทราบทุกปีการศึกษา

ดังนั้น เมื่อข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษาที่ประสงค์จะยื่นคําขอตามหลักเกณฑ์และ วิธีการฯว21/2560 ได้ทราบวิธีการนับชั่วโมงการปฏิบัติ และขั้นตอนการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติ หน้าที่แล้วว่าประเมินอะไรประเมินอย่างไร ประเมินเมื่อใด และใครเป็นผู้ประเมิน คุณครูก็จะต้องเตรียมความพร้อม ในเรื่องของคุณสมบัติ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และ วิธีการที่ ก.ค.ศ. กําหนด นะครับ เพื่อที่จะได้ยื่นคําขอรับ การประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการฯว 2/2560 ได้ แล้วไว้พบกันใหม่ในโอกาสต่อไป สวัสดีครับ

การเตรียมความพร้อมเพื่อขอมีและลื่อนําวิทยฐานะ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา ตําแหน่งครูมีวิทยฐานะ และเลื่อนวิทยฐานะ (ว 21/2560)

ที่มา : วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

Comments

comments

- Advertisement -