แนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายค่าสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานสอนในโรงเรียน

0
267
แนวปฏิบัติในการเบิกจ่ายค่าสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานสอนในโรงเรียน

เพิ่มเพื่อน

ในปัจจุบันครูไทยทำงานหนักมากนอกจากงานสอนที่ต้องสอนมากกว่า 30 คาบต่อสัปดาห์แล้ว กับยังมีภาระงานอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับหน้าที่สอนอีก เช่น งานการเงิน พัสดุ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้การส่งเสริมให้ครูมีรายได้ที่เหมาะสมกับการทำงานจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

ค่าสอนเกินภาระงาน คุณครูหลายคนคงเคยได้ยินคำนี้มาก่อน เพราะว่า ในสถานศึกษาอื่นสามารถที่จะเบิกค่าสอนเกินภาระงานได้ ไม่ว่าจะเป็น วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัย

ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานสอนในสถานศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551

และตอนนี้นั้นกำลังเป็นประเด็นในการถกเถียงกันอย่างหนักสำหรับการเบิกจ่าย “ค่าสอนเกินภาระงาน” สำหรับครูที่สอนเกินภาระงาน(มีคาบสอนมากกว่า 20 คาบต่อสัปดาห์) ว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่? แอดมินสถานีครูดอทคอมเองก็ได้สืบค้นก็ไปพบกับระเบียบตัวหนึ่ง ที่ทำความความฝันของครูไทยที่จะได้ลืมตาอ้างปาก และมีรายได้ที่เหมาะสมกับที่ทำงานหนักพอจะมีความหวังขึ้นมาได้บ้าง นั้นก็คือ ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานสอนในสถานศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 >>> https://krustation.com/ค่าสอนเกินภาระงาน-ครู/

อัตราค่าสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานสอน

ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานสอนในสถานศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 เป็นระเบียบที่ทางวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยใช้เบิกเงินส่วนนี้กันมานานแล้ว พอศึกษาเข้าไปจริง ๆ ก็พอว่าเนื้อหามีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่า โรงเรียนก็สามารถที่จะเบิกค่าสอนเกินภาระงาน ให้กับครูได้เช่นเดียวกับทางวิทยาลัยและมหาลัยเบิกกัน ส่วนจะมีแนวทางและวิธีการอย่างไรจะกล่าวในหัวข้อสุดท้าย

จำนวนชั่วโมงที่ต้องทำการสอนในหนึ่งสัปดาห์

ผู้รู้ที่มายืนยันอีกหนึ่งเสียงว่าสามารถเบิกค่าสอนเกินภาระงานได้ก็คือ แอดมินเพจคุณครูครับ กล่าวว่า

โรงเรียนสามารถเบิกค่าสอนเกินภาระงานได้โดยใช้ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินค่าสอนพิเศษและเงินค่าสอนเกินภาระงานสอนในสถานศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๕๑ ไม่ว่าจะเป็นครู สังกัดใด เบิกได้หมด ผู้มีสิทธิเบิกจะกำหนดไว้ในหมวด ๒ ของ พรบ.นี้

หมวด ๒ ข้อ ๑๑ ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าสอนพิเศษในสถานศึกษา ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
๑๑.๑ ผู้สอนที่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างของทางราชการที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งประจำในสถานศึกษานั้น
๑๑.๒ ข้าราชการและลูกจ้างของสถานศึกษาซึ่งไม่มีหน้าที่ในการสอน แต่ได้รับคำสั่งให้สอนในสถานศึกษานั้น
ข้อ ๑๒ ผู้ที่ทำการสอนในสถานศึกษา หรือสถานศึกษาที่ซึ่งเป๋นสถาบันอาชีวศึกษาที่สอนครบตามตามหลักเกณฑ์กำหนดในบัญชี หมายเลข ๒ หมายเลข ๓ ท้ายระเบียบนี้ ฯ
โดยสรุป คือถ้าครูสอนเกิน ๒๐ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ชั่วโมงที่เกินสามารถเบิกได้ ชั่วโมงละ ๒๐๐ บาท ถ้ารองผอ. ผอ. สอนเกิน ๑๒ ชั่วโมง ก็เบิกได้ เช่นกันกับครู โดยต้องเป็นการสอนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป ระดับประถม ไม่สามารถเบิกได้ตามระเบียบนี้

และนี้คือแนวทางการเบิกค่าสอนเกินภาระงานจาก แอดมินเพจ คุณครูครับ

หลายคนมีคำถามคาใจว่า “ค่าสอนเกินภาระงาน” เบิกจากเงินอะไร ? หรือ มีระเบียบให้เบิก แต่เบิกไม่ได้เพราะไม่มีเงิน ขออธิบายดังนี้ครับ

๑. เงินที่สามารถใช้ในการเบิกจ่ายเป็นค่าสอนเกินภาระงานในสถานศึกษานั้น โรงเรียนในสังกัด สพฐ.จะใช้จากเงินอุดหนุนรายหัวที่ได้รับจัดสรรมาทุกปี ส่วนโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต. เทศบาล อบจ.) จะใช้จากเงินรายได้สถานศึกษา (ข้อ ๖ (๑)ถึง(๙) ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยรายได้และการจ่ายเงินของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๖๒)

๒. รู้อย่างไรว่าโรงเรียนสามารถใช้เงินอุดหนุน หรือเงินรายได้สถานศึกษา จ่ายเป็นค่าสอนเกินภาระงานได้ ? คำตอบคือ

โรงเรียนในสังกัด สพฐ.ให้ดูจาก เอกสารแนวทางทางการดำเนินงานตามโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน หน้า ๓๙ ข้อ ง ลักษณะการใช้งบประมาณ (รายจ่ายในงบดำเนินงาน จ่ายเป็นค่าตอบแทน)

ลิ้งค์เอกสาร https://drive.google.com/…/197yVUY0BmlTbObpIPxZ6M…/view

ส่วนโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ดูจากระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยรายได้และการจ่ายเงินของสถานศึกษาในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๖๒ หมวด ๒ ข้อ ๙ (๑๐)

ลิ้งค์เอกสาร https://drive.google.com/…/1I…/view

๓. ทำไมโรงเรียนบอกว่าไม่มีเงิน จ่ายไม่ได้ ? คำตอบคือ

๓.๑ ผู้บริหารโรงเรียนอาจพิจารณาจัดสรรงบประมาณในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน แล้วเห็นว่ารายจ่ายอื่น ๆ มีความสำคัญกว่า และงบประมาณที่ได้รับจัดสรรมานั้นไม่เพียงพอ จึงต้องตัดรายจ่ายในส่วนค่าการสอนเกินภาระงานออก หรือ

๓.๒ โรงเรียนไม่มีการวางแผนการใช้งบประมาณอย่างเป็นระบบ แผนที่ทำก็เพื่อให้มี ให้ตรวจ แต่ใช้งบประมาณแบบตามใจฉัน ประกอบกับขาดความรู้ความเข้าใจในการบริหารงบประมาณ จึงไม่ได้สนใจที่จะจัดสรรงบประมาณไว้เพื่อเบิกจ่ายเป็นค่าสอนเกินภาระงาน หรือ

๓.๓ มีการสำรวจข้อมูลจำนวนชั่วโมงสอนของครูในโรงเรียนแล้ว พบว่าไม่มีครูสอนเกินภาระงาน จึงไม่ได้จัดงบประมาณไว้

***หากโรงเรียนต้องการให้สามารถเบิกค่าสอนเกินภาระงานได้อย่างถูกต้อง โรงเรียนต้องสำรวจข้อมูลจำนวนชั่วโมงสอนของครูในโรงเรียนว่ามีการสอนเกินจำนวนที่กำหนดหรือไม่ (๒๐ ชั่วโมง) และทำการคำนวณว่าจะต้องใช้งบประมาณเพื่อจ่ายเป็นค่าสอนเกินภาระงานเท่าไหร่ หากคำนวณแล้วเป็นจำนวณเงินที่มาก ก็สามารถปรับลดค่าตอบแทนลงได้ (ระเบียบกำหนดไม่เกิน ๒๐๐ บาทต่อชั่วโมง) หรือสามารถกำหนดลิมิตในการเบิกของแต่ละคนว่าเบิกได้ไม่เกินกี่ชั่วโมงก็ได้ เพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอ แล้วบรรจุรายการจ่ายนั้นลงในโครงการ และแผนปฏิบัติการประจำปีของโรงเรียน ถ้าไม่มีการจัดสรรรายจ่ายนี้ไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปี ต่อให้มีเงินในโรงเรียนมากเพียงใด ก็ไม่สามารถจ่ายค่าสอนเกินภาระงานได้

ขอบคุณที่มา : เพจ คุณครูครับ
ได้เห็นแบบนี้แล้วก็ทำให้ครูครูอย่างเราใจชื่นขึ้นมาบางแล้วละครับ เพื่อนครูสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ได้ให้กับวงการครู ด้วยการแชร์บทความนี้ให้ถึงผู้บริหาร ถ้าสิ่งนี้ทำได้อย่างแพร่หลายไปยังหลายๆ โรงเรียน แน่นอนครับมันจะทำให้ครูอย่างเรามีเกียรติ ไม่ต้องกู้หนี้ยืมสิน เพื่อมาเสียสละอีกต่อไป ขอบคุณคุณครูที่อ่านมาจนจบบทความครับ

ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานสอนในสถานศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 มีดังต่อไปนี้

ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานสอนในสถานศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551

อ่านระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายค่าสอนพิเศษและค่าสอนเกินภาระงานสอนในสถานศึกษาและสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 >>> https://krustation.com/ค่าสอนเกินภาระงาน-ครู/

Comments

comments

- Advertisement -