การทดสอบประสิทธิภาพ E1/E2 ต้นฉบับที่ถูกต้อง โดย ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์

1
19483
e1e2

เพิ่มเพื่อน

ตั้งแต่การเผยแพร่นวัตกรรมการทดสอบประสิทธิภาพสื่อการสอน ชุดการสอน บทเรียน หรือ การถ่ายความรู้และการฝึกอบรม ตั้งแต่ พ.ศ.2520 ได้มีผู้นำเรื่องการทดสอบประสิทธิภาพไปเผยแพร่เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่ มิได้อ้างผู้คิดนวัตกรรม และสอดแทรกความคิดเห็นผิดๆ หลายประเด็น

นักวิชาการควรอ่านบทความที่นำภาพถ่ายมาเสนอ เพื่อปรับความเข้าใจที่ถูก ไม่ตีความเพราะคิดเอาเอง
บทความที่เสนอลงพิมพ์ในวารสารของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มี 13 หน้า

การทดสอบประสิทธิภาพ E1/E2 ต้นฉบับที่ถูกต้อง  โดย ศ.ดร.ขัยยงค์ พรหมวงศ์





ปัญหาที่พบจากการนำ ไปใช้ เพิ่มเติมจากที่นำเสนอในบทความที่แนบมา โดยเฉพาะอย่างเกี่ยวกับ ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้อ่านผลงานวิชาการเพื่อเข้าสู่ ชำนาญการพิเศษ (คศ.3) และ เชี่ยวชาญ (คศ.4) เพราะติดสินให้ผู้ขอตก เพราะตนเองเข้าใจผิด เพิ่มเติมอีกหลายประการ อาทิ
(1) แนะนำนิสิต นักศึกษา และผู้ขอตำแหน่งวิชาการว่า ค่า E2 ต้องมากกว่า E1 (คงเข้าใจผิดว่า E1 คือ Pretest) และไม่ทราบว่า เจตนาของการทดสอบประสิทธิภาพ คือ พิจารณาความสมดุลระหว่างกระบวนการ (Process-E1) และผลลัพท์(Product-E2) หมายเหตุ-เลข 1 และ 2 ต้องห้อยหลัง E แต่อนุโลมให้ไม่ห้อยในกรณีพิมพ์ไม่ได้
(2) เวลาอ้างอิงเอกสาร ที่เกี่ยวกับการทดสอบประสิทธิภาพ เมื่อนิสิตนักศึกษาและผู้ขอตำแหน่งวิชาการ อ้างอิงหนังสือ “ระบบสื่อการสอน” ปีพ.ศ. 2520 หรือ 2521 ก็หาว่า เอกสารล้าสมัยหรือเก่าไป เพราะไม่เข้าใจหลักการที่ว่า การอ้างทฤษฎี และสูตร ต้องอ้างปีที่เผยแพร่ครั้งแรก เช่น POSDCORB ต้องอ้าง ปี 2480 (1837) Gantt Chart ของ Professor Henry Gantt ต้องอ้าง 2458 (1915) นั่นคือเอกสารปฐมภูมิ เว้นเสียแต่หาไม่ได้ก็อ้างเอกสารที่ตีพิมพ์หลังจากนั้น ข้อนี้ก็มีผู้อ่านที่ติดสินให้คนที่ขอตำแหน่งวิชาการตกไปแล้วหลายคน
(3) บอกให้นิสิตนักศึกษาและผู้ขอแก้ไขโดยนำค่า ของหน่วยการสอนหรือชุดการสอนไปรวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ย นี่ก็ไม่ถูกต้อง เพราะการทดสอบประสิทธิภาพ ต้องหาประสิทธิภาพเป็นรายสื่อ รายชุด หรือรายหน่วย ไม่ใช่นำไปรวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ย
(4) แนะนำให้นิสิต นักศึกษาหรือ ผู้ขอตำแหน่ง ทำการทดสอบก่อนเรียนรวมทั้งวิชา และทดสอบหลังเรียนรวมทั้งวิชา นี่ก็ไม่ถูกต้อง เพราะการทดสอบประสิทธิภาพมุ่งทดสอบหาความก้าวหน้าในการเรียนเป็นรายครั้ง คือจะต้องทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียนเป็นรายสื่อ รายชุดการสอน หรือรายบทเรียน ขอให้เข้าใจนะครับว่า การทดสอบประสิทธิภาพไม่ใช่การทดสอบผลสัมฤทธิ์

ยังมีข้อผิดพลาดที่เกิดจากความเข้าใจผิดของผู้อ่าน (Readers) ที่ตัดสินให้ครูที่ขอ คศ.3 และ คศ.4 ตกเป็นจำนวนมาก ท่านกรุณาอ่านเถอะครับ จะได้ไม่ทำบาปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

Comments

comments

- Advertisement -

1 ความคิดเห็น

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่