หากเราอยากเริ่มต้นสอนภาษาอังกฤษลูก เราควรต้องเริ่มสอนออกเสียงก่อน แต่! จะสอนออกเสียงแบบไหนดีนะ? วันนี้เราขอเชิญชวนผู้ปกครองทุกท่านมาเรียนรู้การออกเสียงภาษาอังกฤษ เพื่อยกระดับทักษะการพูด การฟัง การอ่านและการเขียนให้กับลูก ๆ ทุกคน
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม เพจ พ่อผมเป็นคนอังกฤษ ได้เผยแพร่ วิธีการสอนลูกออกเสียงภาษาอังกฤษอย่างไรให้เป๊ะเหมือนฝรั่ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
สอนลูกอ่านภาษาอังกฤษแบบฝรั่งนะ ไม่เอาแบบไทย พอแล้วกับการสะกดแบบ “ซี เอ ที – แคท – แมว” หรือ “บี เอ ที – แบท – ค้างคาว” แบบนี้ยิ่งสอนสกิลการออกเสียงมันจะยิ่งพัง
เอาแบบนี้แทน “เขอะ แอะ เถอะ – แคท(เถอะ) – แมว” ฝึกไว้แล้วมันจะเป็นผลดีในระยะยาว โดยเฉพาะในตอนที่เราเริ่มศึกษาเรื่อง “โฟนิกส์” และ “โฟเนติกส์” บอกเลยการอ่านภาษาอังกฤษจะง่ายขึ้นเยอะ!
อันนี้เอาไปฝึกออกเสียง ‘พยัญชนะท้าย’ (final sound) ก่อนคร่าว ๆ เพราะเป็นสกิลออกเสียงขั้นเบสิคที่สุด เราจะใช้ “สระเออะ” (หรือ schwa sound) ในการออกเสียงพยัญชนะเหล่านี้
เริ่ม!
*A – เอ เออะ เช่น Agree (อ่าน เออะ-‘กรี)
B – บี เบอะ เช่น Bob (อ่าน บอบ-เบอะ) *เบอะให้ออกเสียงเบา ๆ เหมือนเสียงกระซิบ
**C – ซี เสอะ เช่น Peace (อ่าน พีซ-เซอะ) *เสอะให้ใช้แค่ลมออกเสียง // C อ่านเป็น เขอะ ได้ด้วย เช่น Mac (อ่าน แมค-เขอะ) *เขอะให้แค่ลมออกเสียง
D – ดี เดอะ เช่น Did (อ่าน ดิด-เดอะ) *เดอะให้ออกเสียงเบา ๆ
*E – อี เอะ เช่น Very (อ่าน ‘เฝะ-หริ)
F – เอฟ เฝอะ เช่น chef (อ่าน เชฟ-เฝอะ) *เฝอะให้ใช้แค่ลมออกเสียง
**G – จี เจอะ เช่น George (อ่าน จอจ-เจอะ) *เจอะให้ออกเสียงเบา ๆ // G อ่านเป็นเสียง เกอะ ได้ด้วย เช่น dog (อ่าน ดอก-เกอะ) *เกอะให้ออกเสียงเบา ๆ
H – เอช เฉอะ แต่!! เสียงของมันคือ เหอะ *เหอะใช้แค่ลมออกเสียง และเป็นได้แค่พยัญชนะต้น เช่น he (อ่าน ฮี) *กระแทกลมออกตอนออกเสียง ฮ
*I – อาย อาย เช่น Library (อ่าน ‘ลาย-บริ)
J – เจ เจอะ *เจอะมีการเสียดสีของลิ้นกับเพดานปากเวลาออกเสียง และเป็นได้แค่พยัญชนะต้น เช่น Jar (อ่าน จา)
K – เค เขอะ เช่น kick (อ่าน คิก-เขอะ) *เขอะให้ใช้แค่ลมออกเสียง
L – เอล เหลอะ เช่น feel (อ่าน ฟีล-เหลอะ) *เหลอะให้ออกเสียงเบา ๆ
M – เอ็ม เหมอะ เช่น mum (อ่าน มัม-เหมอะ) *เหมอะให้ออกเสียงเบา ๆ
N – เอ็น เหนอะ เช่น nun (อ่าน นัน-เหนอะ) *เหนอะให้ออกเสียงเบา ๆ
*O – โอว โอว / เออว เออว เช่น Oh (อ่าน โอว / เออว)
P – พี เผอะ เช่น pop (อ่าน พอพ-เผอะ) *เผอะให้ใช้แค่ลมออกเสียง
Q – คยู เควอะ *เควอะใช้แค่ลมออกเสียง เช่น Quota (อ่าน ‘คโว-เถอะ)
R – อา เหรอะ *ห่อปากเหมือนจะพูด ว แหวนแต่ให้ออกเสียงเหรอะ และไม่ต้องออกเสียงหากเป็นพยัญชนะท้าย (แต่คนอเมริกันอาจจะออกด้วย) เช่น rare (อ่าน วแร) // ส่วนคนอเมริกันอาจจะอ่าน วแร-เหรอะ *เหรอะให้ออกเสียงเบา ๆ และยกลิ้นค้างไว้
S – เอส เสอะ เช่น sis (อ่าน สิส-เสอะ) *เสอะให้ใช้แค่ลมออกเสียง
T – ที เถอะ เช่น tat (อ่าน แถท-เถอะ) *เถอะให้ใช้แค่ลมออกเสียง
*U – ยู / ยูว เช่น Uni (อ่าน ยู-หนิ // ยูว-หนิ)
V – ฟี เฝอะ (หรือบางคนคำอ่านว่า ฝวี / ฟวี ก็ได้อยู่) เช่น love (อ่าน ลัฟ-เฝอะ) *เฝอะให้ออกเสียงเบา ๆ
W – ดับเบิลยู เหวอะ เช่น now (อ่าน นาว-เหวอะ) *เหวอะให้ออกเสียงเบา ๆ
X – เอ็กเขอะเสอะ *เขอะเสอะให้ใช้แค่ลมออกคล้ายเสียงกระซิบ เช่น box (อ่าน บ็อก-เขอะ-เสอะ) *ใช้แค่ลมออกนะ! ไม่งั้นจะเป็นภาษาอะไรไม่รู้ 555
***Y – วาย หยิ เช่น my (อ่าน มาย-หยิ) *หยิให้ออกเสียงเบา ๆ
Z – เซ็ด เสอะ *มีการเสียดสีของลิ้นกับเพดานปากเวลาออกเสียง และมีเสียงก้องในคอ (ต่างจาก S ที่จะมีแค่ลม) เช่น is (อ่าน อิส-เสอะ) *เสอะให้ออกเสียงเบา ๆ *หลายคนที่สะกดด้วย -s อาจจะเป็นเสียง -z
_____
พยัญชนะที่ผมบอกให้ “ออกเสียงเบา ๆ” เราเรียกว่า voiced consonant ส่วนพยัญชนะที่ผมบอกให้ “ใช้แค่ลมออกเสียง” เราเรียกว่า voiceless connsonant ลองหาศึกษาเพิ่มเติมดู
หลายคนอ่านแล้วอาจจะเกิดข้อสงสัยในหัวเต็มไปหมด ให้ใจเย็น ๆ แล้วลองวิเคราะห์ว่าเราไม่เข้าใจตรงไหน คอมเมนต์ทิ้งไว้ให้ครบประเด็นที่ต้องการรู้ แล้วเดี๋ยวผมจะรวบรวมมาตอบให้โพสต์หน้านะ
อีกหนึ่งตัวช่วยที่จะช่วยได้คือ “Phonemic chart” ถ้าเป็นแบบ interactive ยิ่งดี (หมายความว่าสามารถกดฟังเสียงได้) ลองหาดูมีหลายเว็บเลย (ที่แนะนำก็ของเว็บ Englishclub)
“รู้ให้มากกว่าเมื่อวาน”
Stay knowledge-hungry
JGC.
* = เป็นสระ เป็นได้หลายเสียง ผมยกมาแค่หนึ่งตัวอย่าง
** = เป็นได้สองเสียง
*** = เป็นพยัญชนะกึ่งสระ
ขอบคุณที่มา: เพจ พ่อผมเป็นคนอังกฤษ