การพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนออนไลน์แบบเชิงรุกของครูโรงเรียนเมืองพัทยา ๙ (วัดโพธิสัมพันธ์)
Home › ฟอรั่ม › บทคัดย่อ › การพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนออนไลน์แบบเชิงรุกของครูโรงเรียนเมืองพัทยา ๙ (วัดโพธิสัมพันธ์)
ติดป้ายกำกับ: การสอนแบบออนไลน์เชิงรุก
- This topic has 0 ข้อความตอบกลับ, 1 เสียง, and was last updated 1 year, 8 months มาแล้ว by วัชรีกร วุฒิยา.
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
-
6 มีนาคม 2023 เวลา 4:59 pm #14451
ชื่อเรื่อง การพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนแบบออนไลน์เชิงรุกของครู โรงเรียนเมืองพัทยา 9 (วัดโพธิสัมพันธ์)
ผู้วิจัย นางสาวสุบิน วงษ์ธิ
สถานที่ โรงเรียนเมืองพัทยา 9 (วัดโพธิสัมพันธ์)
ปีที่วิจัย 2565
บทคัดย่อ
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมีการนำสื่อนวัตกรรมต่าง ๆตลอดจน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนเชิงรุกได้เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นเพื่อให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายและยืดหยุ่นตามศักยภาพของตนเอง ผู้สอนจะต้องมีการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมาย เพื่อการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนแบบออนไลน์เชิงรุกของครูโรงเรียนเมืองพัทยา 9 (วัดโพธิสัมพันธ์) ให้มีความรู้ ความสามารถในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) และการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนเชิงรุกด้วยสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ได้โดยใช้การฝึกอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และ การนิเทศภายในเป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาภายใต้วิธีการดำเนินการการวิจัยตามหลักการวิจัย ปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิส และแม็กแท็กการ์ด (Kemmis and McTaggart) โดยดำเนินการพัฒนา 2 วงรอบประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์และการสะท้อนผล กลุ่มผู้ร่วมวิจัยมี 8 คนและกลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และแบบวัดทักษะปฏิบัติการตรวจสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบ แบบสามเส้า ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและนำเสนอผลการวิจัยโดยการ บรรยาย ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนแบบออนไลน์เชิงรุกของครู โรงเรียนเมืองพัทยา 9 (วัดโพธิสัมพันธ์) ให้มีความรู้ความสามารถในการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E Learning) และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเชิงรุกด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นรูปธรรม โดยใช้กล ยุทธ์ในการพัฒนา 3 กลยุทธ์คือ การฝึกอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน ผลการ พัฒนาในวงรอบที่ 1 จากการฝึกอบรม และการประชุมปฏิบัติการการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดการเรียน การสอนออนไลน์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตด้วยระบบจัดการเรียนการสอนเชิงรุก กลุ่มผู้ร่วมวิจัย มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดำเนินการตามขั้นตอนการสร้างสื่ออิเล็กทรอนิกส์(E-Learning) และ จัดการเรียน การสอนออนไลน์ได้เป็นที่น่าพอใจ โดยมีวิทยากรในโรงเรียนเป็นผู้นิเทศและตรวจสอบ ผลงานที่ปฏิบัติได้ อย่างใกล้ชิดปรากฏว่ายังมีผู้ไม่เข้าใจในบางกิจกรรมในเรื่อง กิจกรรมห้องสนทนา (Chat), กิจกรรมสำรวจ ความคิดเห็น (Choice), กิจกรรมกระดานเสวนา (Forum) และกิจกรรม แบบสอบถาม (Survey) จำนวน 2 คน ผู้วิจัยจึงดำเนินการพัฒนาในวงรอบที่ 2 โดยใช้กลยุทธ์ การนิเทศภายในเพื่อติดตามและให้ความ ช่วยเหลือจากวิทยากรภายในโรงเรียนและจากผู้ที่ร่วมวิจัย ที่มีความชำนาญจากการฝึกอบรมและการ ประชุมเชิงปฏิบัติการในวงรอบที่ 1 เป็นผู้ให้คำชี้แนะ ซึ่งทำให้กลุ่มผู้ร่วมวิจัยสามารถสร้างสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) และจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์เชิงรุกได้ทุกคน จากผลการ ฝึกอบรมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเชิงรุกด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการสร้างสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ (E Learning) บุคลากรสามารถปฏิบัติได้ระดับดีคือ ปฏิบัติได้ด้วยตนเองตรงตามเงื่อนไข ที่กำหนดได้ถูกต้อง สมบูรณ์การประชุมเชิงปฏิบัติเพื่อพัฒนาบุคลากรใน 2 กิจกรรมประกอบด้วย 1) การพัฒนาทักษะปฏิบัติ เพิ่มเติมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์(E-Learning) อยู่ในระดับปฏิบัติมาก 2) การเขียนแผนจัดการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับดีเยี่ยม และ การนิเทศภายในเพื่อติดตาม การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์(E-Learning) โดย การสอบถามความคิดเห็นของ นักเรียนต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์(E-Learning) ของโรงเรียนเมืองพัทยา 9 (วัด โพธิสัมพันธ์) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนแบบออนไลน์เชิงรุกของครูโรงเรียน เมืองพัทยา 9 (วัดโพธิสัมพันธ์) โดยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบใหม่การนำสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มาใช้จัด กิจกรรมการเรียนการสอนเชิงรุกเป็นเรื่องที่ดีมากในยุคโลกาภิวัฒน์โดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E Learning) นอกจากนั้นมีการนำกลยุทธ์นิเทศติดตามมาใช้ในการพัฒนาเพื่อความต่อเนื่อง และการ สนับสนุนด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ การสื่อสารให้เพียงพอต่อความต้องการในการใช้ของผู้สอน และ ผู้เรียนเพื่อให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนออนไลน์ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น มีการถ่ายทอดลงสู่ ผู้เรียน และเป็นความรู้ที่คงทนต่อไปhttps://drive.google.com/file/d/1-nUcIMG-QsiCdn2NAd_omadV9Qs7RtuS/view?usp=sharing
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
- You must be logged in to reply to this topic.