การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด

Home ฟอรั่ม บทคัดย่อ การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด

กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)
  • ผู้เผยแพร่
    บทคัดย่อ
  • #15117

    ผู้วิจัย            นายประจักษ์  บรรยง

    สถานที่         โรงเรียนมัธยมหนองเขียด อำเภอชุมแพ  จังหวัดขอนแก่น

    การศึกษา      2565

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1)  ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนมัธยมหนองเขียด 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด  3)  เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด  4)  เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด  กลุ่มตัวอย่าง  ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling) แบ่งออกเป็น 3  กลุ่ม  กลุ่มแรกคือกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษารายกรณี ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนบุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม จำนวน 19  คน กลุ่มที่ 2 คือผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนบุคลากรผู้รับผิดชอบการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมในโรงเรียนทดลองใช้ตัวอย่างหน่วยการเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ทำการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 24 คน และกลุ่มที่ 3 คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนบุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม จำนวน 19 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6   จำนวน 184 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน  184 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของรูปแบบหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  2) แบบสอบถามเพื่อประเมินรูปแบบ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นแบบประเมินความพึงพอใจ และ4) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง  ลำดับขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ 1) การศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ร่างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด คือ PPFERE Model ซึ่งมี 6  ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ (Preliminary) ขั้นดำเนินการ (Processing)  ขั้นติดตามแนะนำ (Follow – Up  recommendation)  ขั้นประเมินผล (Evaluation  Process)  ขั้นรายงานผล (Report  results)  และขั้นขยายผล (Extension  Step)  ระยะที่  2  การออกแบบและพัฒนา (ร่าง)  รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด ระยะที่ 3 การนำรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียดไปใช้ ระยะที่ 4 การประเมินการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

     

     

    ผลการวิจัยพบว่า

    1.   องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด  จะบริหารและจัดการศึกษาได้ดี ต้องมีองค์ประกอบ  2  ส่วน  คือ  ส่วนแรก  ได้แก่ องค์ประกอบของรูปแบบที่นำมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา  ประกอบด้วย  1) หลักการของการบริหารจัดการศึกษา 2) จุดมุ่งหมาย 3) การจัดองค์การ 4) การดำเนินการ  5) ตัวชี้วัดความสำเร็จ 6) การนำรูปแบบใช้ (PPFERE Model)  และ7)เงื่อนไขความสำเร็จ  และ ส่วนที่  2 ได้แก่ องค์ประกอบด้านการบริหารจัดการศึกษา ประกอบด้วย 1) การบริหารและจัดการศึกษา 2) การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 3)การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลักสูตรสถานศึกษา 4)การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนรู้ 5)การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง  ชุมชน  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  6) การนิเทศติดตาม ประเมินผลและรายงานผล 7) การประชาสัมพันธ์และการสร้างเครือข่าย  และ8)คุณภาพนักเรียนตามลักษณะความมีชีวิตพอเพียง คือ ความพอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันที่ดี

    2) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด พบว่า  องค์ประกอบของรูปแบบกับการบริหารและการจัดการศึกษาความสอดคล้องทุกองค์ประกอบ รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนมัธยมหนองเขียด  มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวม  อยู่ในระดับมากที่สุด  ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมีความรู้  ความเข้าใจอย่างถูกต้อง  และตระหนักถึงความสำคัญในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ โรงเรียนส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์และสืบสานวิถีชีวิตวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตนและการดำเนินชีวิตตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โรงเรียนมีการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนอย่างหลากหลาย และ โรงเรียนส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมความมีระเบียบวินัย  ความสามัคคี และการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขของคนในสังคม ส่งเสริมการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหารสถานศึกษา  ครู  บุคลากรในโรงเรียน นอกจากนี้โรงเรียนมีการขยายผลและเผยแพร่หลักการดำเนินชีวิตตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านนักเรียนสู่บุคคลในครอบครัวและ ครูในโรงเรียน นำผลที่ได้ไปใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนของตนในรูปแบบของการวิจัยในชั้นเรียน  ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนบุคลากรผู้ที่รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม มีความคิดเห็นต่อโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์ทุกรายการ

    3) ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด พบว่า นักเรียนมีระดับผลการเรียนโดยรวมเฉลี่ยสูงขึ้น และผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนบุคลากรผู้รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม นักเรียน และผู้ปกครองมีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายการ พบว่า ทุกข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อเทียบกับเกณฑ์ พบว่าผ่านเกณฑ์ทุกรายการ

    1. 4.  รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมหนองเขียด   1)  หลักการจัดต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  มียุทธศาสตร์ที่อยู่บนพื้นฐานการรู้จักตนเอง  การช่วยเหลือตนเอง  การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  และการสร้างเครือข่าย  หลักความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ภายใต้เงื่อนไขการมีความรู้และคุณธรรม และมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม มีความสมดุล พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง  สอดคล้องกับภูมิสังคม  และโรงเรียนต้องเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  (Learning Organization)  2)  จุดมุ่งหมาย  เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน   มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  ส่งผลสู่การดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหาร  ครู  และบุคลากรทางการศึกษาอย่างตอเนื่องและยั่งยืน  3)  การจัดองค์การ  ยึดหลักการมีส่วนร่วม  และเน้นการทำงานเป็นทีม  4)  การดำเนินการ  มีดังนี้ การบริหารและจัดการศึกษาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา  การจัดการเรียนการสอน  การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม  การนิเทศ  ติดตาม  ประเมินผลและรายงานผล  และการประชาสัมพันธ์และการสร้างเครือข่าย  5) ตัวชี้วัดความสำเร็จ  ได้แก่  โครงสร้างการบริหาร  แผนปฏิบัติการ  หลักสูตรสถานศึกษาแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  จำนวนแหล่งเรียนรู้  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนและรายงานการประเมินตนเอง  6)  การนำรูปแบบไปใช้ในโรงเรียน  มียุทธศาสตร์  ขั้นตอน  วิธีการอย่างเป็นระบบ ดำเนินการตามขั้นตอน คือ ขั้นเตรียมการ  ขั้นดำเนินการ  ขั้นติดตาม  แนะนำ  และขั้นประเมินผล รายงานผล  และขยายผล  7)  เงื่อนไขความสำเร็จ  ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา  ครู  และนักเรียนต้องมีความรู้  ตระหนักในความสำคัญของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  มีคุณธรรม  จริยธรรม  ประพฤติตน  เป็นแบบอย่างที่ดี  ผู้บริหารต้องมีความรู้  ความสามารถในการบริหารและจัดการศึกษา โดยมุ่งประโยชน์สูงสุดที่นักเรียน  และให้ความสำคัญกับชุมชน

     

     

     

กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)
  • You must be logged in to reply to this topic.