ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้
ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดไชนาวาส สังกัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี
ผู้ประเมิน นายฑีรพล หนูทา
ปีที่ทำประเมิน 2566
บทคัดย่อ
การดำเนินการเพื่อการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดไชนาวาส สังกัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดไชนาวาส สังกัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี 2) เพื่อเปรียบเทียบศักยภาพผู้เรียน ตามแนวทาง ของกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดไชนาวาส สังกัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี 3)เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ตามแนวทางของกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนเทศบาล๓วัดไชนาวาส สังกัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี กลุ่มเป้าหมาย มี 940 คน ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 29 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ยกเว้นผู้แทนครูและผู้อำนวยการโรงเรียน) นักเรียน จำนวน 449 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 449 คน โดยให้นักเรียนหนึ่งคนมีผู้ปกครองหนึ่งคน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน มีจำนวน 4 ฉบับ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามการประเมินบริบท (Context Evaluation) จำนวน 8 ข้อ ฉบับที่ 2 แบบสอบถามการประเมินปัจจัย (Input Evaluation) จำนวน 9 ข้อ ฉบับที่ 3 แบบสอบถามการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) จำนวน 13 ข้อ ฉบับที่ 4 แบบสอบถามการประเมินผลผลิต (Product Evaluation) จำนวน 20 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการประเมินพบว่า
- ผลการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดไชนาวาส สังกัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี โดยรวมและรายด้าน ผ่านเกณฑ์ และโดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก
- ผลการพัฒนาโครงการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดไชนาวาส สังกัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี หลังการดำเนินงานโครงการ โดยรวมและรายด้าน สูงกว่าก่อนการดำเนินงานโครงการ
- แนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียน ตามแนวทางของกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนเทศบาล ๓ วัดไชนาวาส สังกัดเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี มีดังนี้
3.1 ด้านบริบท (Context Evaluation) ผู้บริหารควรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายของสถานศึกษาที่ร่วมกันปฏิบัติทุกคน ศึกษาความต้องการจำเป็นของการจัดโครงการ มีการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรมการดำเนินงานกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ อย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมากำหนดกิจกรรม เสริมหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับปรัชญา นโยบายและเป้าหมายของโรงเรียน
3.2 ด้านปัจจัย (Input Evaluation) ผู้บริหารควรจัดประชุมผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ เพื่อรับฟังความคิดเห็น เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมพิจารณาความเหมาะสมของหลักสูตร กิจกรรม ระยะเวลา และวิธีดำเนินโครงการ จัดงบประมาณในการดำเนินโครงการ และจัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ ให้เพียงพอ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจและมีความสามารถในการดำเนินโครงการ
3.3 ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ผู้บริหารควรให้ความรู้ ประชุมชี้แจงสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ผู้รับผิดชอบ และผู้เกี่ยวข้องเข้าใจขั้นตอนและวิธีดำเนินการ ประเมินผล การปฏิบัติงานตามโครงการเป็นระยะอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง มีการจัดสภาพแวดล้อมและ การจัดแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรม
3.4 ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ครูควรส่งเสริมให้ นักเรียนสามารถนำประสบการณ์และข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาตนเองได้อย่างถูกต้องจนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และมีการถอดบทเรียนจากโครงการ และคืนข้อมูลให้กับ นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และบุคลากร เพื่อรับทราบข้อมูลให้เกิดความตระหนักและพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป