ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษ หลักสูตรสองภาษา English Program: EP – Mini English Program: MEP โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย
ผู้วิจัย ระดับศิลป์ บุดดี
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษ หลักสูตรสองภาษา English Program: EP – Mini English Program: MEP โรงเรียนเทศบาล 7 ฝั่งหมิ่น เทศบาลนครเชียงราย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อมของโครงการห้องเรียนพิเศษ หลักสูตรสองภาษา English Program: EP – Mini English Program: MEP 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการห้องเรียนพิเศษ หลักสูตรสองภาษา English Program: EP – Mini English Program: MEP 3) เพื่อประเมินกระบวนของการจัดกิจกรรมการในโครงการห้องเรียนพิเศษ หลักสูตรสองภาษา English Program: EP – Mini English Program: MEP 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการห้องเรียนพิเศษ หลักสูตรสองภาษา English Program: EP – Mini English Program: MEP ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครู จำนวน 68 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 248 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 248 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ในการศึกษา คือ 1) แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแบบของลิเคิร์ท (Likert) จำนวน 7 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี ความสอดคล้อง ค่าความเชื่อมั่น และการวิเคราะห์เนื้อหาสรุปประเด็นนำเสนอด้วยการบรรยาย
ผลการศึกษาดังนี้
- ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาและครู มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด
- ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษา และครู มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด
- ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครู มีความคิดเห็น ในภาพรวมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด
- ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียนห้องเรียนพิเศษ หลักสูตรสองภาษา English Program: EP – Mini English Program: MEP มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก