การพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่องสายใยอาหาร ผ่านการบ่มเพาะโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม

Home ฟอรั่ม บทคัดย่อ การพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่องสายใยอาหาร ผ่านการบ่มเพาะโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม

กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)
  • ผู้เผยแพร่
    บทคัดย่อ
  • #15472

    ชื่อผู้วิจัย   :  นางสาวฐิติมา  จินาวา

    ชื่อเรื่อง    :  การพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่องสายใยอาหาร ผ่านการบ่มเพาะโดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม

    ปีการศึกษา :  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

     

    บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และสมรรถนะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่องสายใยอาหาร ที่เหมาะสมกับสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ และเพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสายใยอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2

    กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 32 คน ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม

    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องสายใยอาหาร, สื่อบทบาทสมมติในสายใยอาหาร, สื่อบัตรภาพสิ่งมีชีวิตและใบงานเพื่อพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน เรื่องสายใยอาหาร โดยนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ระหว่างการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมเชิงรุกเพื่อเรียนรู้เรื่องสายใยอาหาร หลังจากจบการจัดการเรียนรู้วัดและประเมินผลความรู้ความเข้าใจด้วยใบงาน จากนั้นผู้วิจัยจึงประเมินวิเคราะห์ความเหมาะสมของการจัดการเรียนรู้ และประเมินวิเคราะห์ความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน

    ผลการวิจัยปรากฏว่า หลังการจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้และสมรรถนะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 6 เรื่องสายใยอาหาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2  ผู้วิจัยพบว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังงานวิจัยนี้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี และควรปรับปรุงการจัดกิจกรรมจากบันทึกหลังการจัดกิจกรรมต่อไป ส่วนด้านความรู้ความเข้าใจ ผู้วิจัยพบว่าหลังการจัดกิจกรรมและประเมินผลจากใบงาน ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับที่ดีมาก มีจำนวนผู้เรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 81.25 เกินตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

     

     

     

กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)
  • You must be logged in to reply to this topic.