การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านนาเกตุ โดยใช้ “OCHIN MODEL”
Home › ฟอรั่ม › บทคัดย่อ › การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านนาเกตุ โดยใช้ “OCHIN MODEL”
- This topic has 0 ข้อความตอบกลับ, 1 เสียง, and was last updated 1 year, 7 months มาแล้ว by พรทิพย์ ณ พัทลุง.
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
-
17 เมษายน 2023 เวลา 3:53 pm #14502
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>ก</td>
</tr>
</tbody>
</table>
คำนำแบบรายงานผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของ โรงเรียนบ้านนาเกตุ โดยใช้ “OCHIN MODEL” นี้เป็นรูปแบบที่เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการศึกษาตามบริบทของโรงเรียนบ้านนาเกตุ โดยการสังเคราะห์สภาพของปัญหาความต้องการพัฒนาจุดแข็ง จุดอ่อนของโรงเรียน ตลอดจนนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด พร้อมทั้งนำหลักการบริหาร ทฤษฎีและประสบการณ์การบริหารของผู้บริหารมาใช้ในการพัฒนา ปรับปรุงประกอบด้วย ชื่อผลงาน ความเป็นมา/ความสำคัญ จุดประสงค์ เป้าหมาย กระบวนการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน ประโยชน์ที่ได้รับ ปัจจัยสู่ความสำเร็จ บทเรียนที่ได้รับ การเผยแพร่ และการได้รับการยอมรับ
การดำเนินการนี้สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ขอขอบคุณคณะครูและบุคลากร ทุกฝ่ายที่ประสานร่วมมือในการทำงานอย่างเป็นระบบโดยยึดหลักปฏิบัติงาน ตามกระบวนการ PDCA เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างมีมาตรฐานตามหลักธรรมาภิบาล
ขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Best Practice การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านนาเกตุ โดยใช้ “OCHIN MODEL” นี้สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ที่สนใจศึกษา นำไปใช้พัฒนาสถานศึกษาต่อไป
โรงเรียนบ้านนาเกตุ
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>ข</td>
</tr>
</tbody>
</table>
สารบัญหน้า
คำนำ…………………………………………………………………………………………………………………….. ก
สารบัญ………………………………………………………………………………………………………………….. ข
ชื่อผลงาน………………………………………………………………………………………………………………. ๑
ความสำคัญของผลงานที่นำเสนอ………………………………………………………………………………. ๑
ความเป็นมาและความสำคัญ……………………………………………………………………………….. ๑
แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา…………………………………………………………………………. ๒
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน………………………………………………………………………………… ๒
จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน………………………………………………………….. ๒
ขั้นตอนการดำเนินงาน……………………………………………………………………………………………… ๓
การออกแบบผลงาน……………………………………………………………………………………………. ๓
การดำเนินงานตามกิจกรรม…………………………………………………………………………………. ๔
ประสิทธิภาพของการดำเนินงาน…………………………………………………………………………… ๖
การใช้ทรัพยากร…………………………………………………………………………………………………. ๙
ผลการดำเนินงาน…………………………………………………………………………………………………….. ๙
ผลที่เกิดขึ้นตามวัตถุประสงค์………………………………………………………………………………… ๙
ผลสัมฤทธิ์ของงาน………………………………………………………………………………………………. ๙
ประโยชน์ที่ได้รับ…………………………………………………………………………………………………. ๑๒
ปัจจัยสู่ความสำเร็จ…………………………………………………………………………………………………… ๑๒
บทเรียนที่ได้รับ………………………………………………………………………………………………………… ๑๓
การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ…………………………………………………………… ๑๓
การเผยแพร่………………………………………………………………………………………………………… ๑๓
การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ……………………………………………………………………….. ๑๔
ภาคผนวก……………………………………………………………………………………………………………….. ๑๕
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>๑</td>
</tr>
</tbody>
</table>
แบบรายงานผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)ชื่อผลงาน การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านนาเกตุ
โดยใช้ “OCHIN MODEL”
โรงเรียน บ้านนาเกตุ
ชื่อผู้บริหาร นางสาวพรทิพย์ ณ พัทลุง เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๘๓๙๒๘๔๓๔
ชื่อผู้รับผิดชอบ นางจันทิพา บุญรักษา เบอร์โทรศัพท์ ๐๘๗๒๖๓๘๓๔๕
……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
- ความสำคัญของผลงานที่นำเสนอ
๑.๑ ความสำคัญและความเป็นมา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๖๒ มาตรา ๔๗ ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก หลักเกณฑ์และวิธีกการประกันคุณภาพการศึกษาของการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาชีวศึกษา ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกระทรวง สำหรับระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอื่นที่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2561 “การประกันคุณภาพการศึกษา” หมายความว่าการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษาโดยมีกลไกในการควบคุมตรวจสอบ ระบบการบริหารคุณภาพการศึกษาที่สถานศึกษาจัดขึ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสาธารณะชนว่าสถานศึกษานั้นสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาและบรรลุเป้า ประสงค์ของหน่วยงานต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลการดำเนินงานตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษาพ.ศ. 2561 มีขั้นตอนและรายละเอียดดังต่อไปนี้
- กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
- จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
- ดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
- ติดตามผลการดำเนินการให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
- จัดทำรายงานผลการประเมินตนเองคุณภาพการศึกษา
นโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองที่กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพคนไทยและการศึกษาไทยในอนาคต ประกอบกับมีนโยบายให้ปฏิรูประบบการประเมินและการประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกทุกระดับ การดำเนินงานของระบบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของครูและบุคลากรทุกฝ่ายครูและบุคลากรจึงต้องมีความตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนเองใน การปฏิบัติงานตามระบบประกันคุณภาพ โดยมีทัศนคติที่ถูกต้องว่างานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามิใช่งานของผู้ใดผู้หนึ่งหรือเป็นหน้าที่ของครูประกันคุณภาพแต่เพียงผู้เดียว หากแต่เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนเองโดยคำนึงถึงคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาที่ได้ร่วมกันตั้งเป้าหมายของการพัฒนาไว้
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>๒</td>
</tr>
</tbody>
</table>
ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษาการที่จะพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนที่มีคุณภาพนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้บริหารสถานศึกษาต้องสร้างความตระหนักความรู้ความเข้าใจให้ครูผู้สอนเห็นความสำคัญจำเป็นในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถและมีทักษะในการคิดวิเคราะห์ รวมถึงการใช้ข้อมูลสารสนเทศในการตัดสินใจและสร้างทางเลือกในการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ๑.๒ แนวทางการแก้ปัญหาและพัฒนา
งานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านนาเกตุ จึงมีแนวทางในการพัฒนาระบบประกัน การบริหารจัดการคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพมีการจัดโครงสร้างบทบาทหน้าที่ผู้รับผิดชอบ วิธีดำเนินงาน การจัดการทรัพยากร ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่มีความคล่องตัว สามารถปรับตัวอย่างรวดเร็ว โดยการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพอย่างเป็นขั้นตอนและมุ่งเน้นคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ตั้งแต่การมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาการกำหนดค่าเป้าหมายโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศจากผลการประเมิน การปฏิบัติงานจริงของครูมาใช้เป็นฐาน ไปจนถึงเป็นผู้มีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพภายใน หรือติดตามตรวจสอบ ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา ไปจนถึงการนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของตนเองในปี ต่อไป ทำให้ครูและบุคลากรตระหนักถึงบทบาทหน้าที่และเห็นความสำคัญของการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพ ทำให้รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพ รวมทั้งมีมาตรการแนวทางขับเคลื่อน หนุนเสริมและผลักดันการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพจนเกิดเป็นวัฒนธรรมคุณภาพของการปฏิบัติงาน ตามรูปแบบ “OCHIN MODEL”อย่างแท้จริง
- วัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์
- เพื่อพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านนาเกตุ
- เพื่อส่งเสริมครูและบุคลากรของโรงเรียนบ้านนาเกตุให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษา ตามรูปแบบ “OCHIN MODEL”
เป้าหมาย
เชิงปริมาณ
- ร้อยละ 100 ของครูและบุคลากรได้รับการส่งเสริมความรู้และอบรมเกี่ยวกับ ระบบงาน ประกันคุณภาพการศึกษา
- ร้อยละ 100 ของครูและบุคลากรโรงเรียนบ้านนาเกตุ มีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามรูปแบบ “OCHIN MODEL”
เชิงคุณภาพ
- โรงเรียนบ้านนาเกตุ มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้น อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง ชุมชนและหน่วยงานภายนอก
2.ครูและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาและ ตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนเองที่มีต่อการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ส่งผลให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินการประกันคุณภาพตามรูปแบบ “OCHIN MODEL”
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>๓</td>
</tr>
</tbody>
</table>- วิธีดำเนินงานตามขั้นตอน
๓.๑ การออกแบบผลงาน
ภาพโมเดลการพัฒนาระบบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของเรียนบ้านนาเกตุ
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>๔</td>
</tr>
</tbody>
</table>
๓.๒ การดำเนินงานตามกิจกรรมการพัฒนาระบบงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านนาเกตุ โดยใช้ OCHIN MODEL มาใช้ในการพัฒนาระบบงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเกิดประสิทธิ์ภาพสูงสุดตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ทั้ง ๓ ด้าน คือ
๑) ด้านคุณภาพเด็กและผู้เรียน
๒) ด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ
๓) ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ในการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ เพื่อตอบสนองความได้เปรียบ เชิงกลยุทธ์ นำแผนการพัฒนาการศึกษา ผลการประเมินสถานภาพโรงเรียน (SWOT Analysis) วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์มาวิเคราะห์จัดทำแผนกลยุทธ์ โดยผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าสายชั้น หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้างาน คณะครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้อง ประชุมพิจารณาประเด็นนโยบาย ทางการศึกษาและรายงานผลการดำเนินงานพร้อมข้อเสนอแนะของปี ที่ผ่านมาเป็นข้อมูล โดยให้หัวหน้างาน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ภายในกลุ่มงานร่วมประชุม Focus Group วิเคราะห์ปัจจัยภายในกลุ่มงาน วิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อน 7 ด้าน คือ โครงสร้างองค์กร ระบบองค์กร ทักษะและประสบการณ์ คุณค่าร่วม อัตรากำลังคน รูปแบบการบริหารจัดการ วิเคราะห์โอกาสและภาวะคุกคาม 5 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรมผู้รับบริการ ด้านนโยบาย ด้านงบประมาณ ด้านสังคม ด้านระบบไอที การพัฒนาระบบคุณภาพของโรงเรียนที่ผ่านมาได้มีการทบทวนระบบและกลไกการประกันคุณภาพ การศึกษาโดยดำเนินการนำข้อมูลผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาพัฒนาระบบประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านนาเกตุ โดยใช้ “OCHIN MODEL”จากคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบและ ประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา มาทบทวนระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาให้สอดคล้อง กับเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาตามระบบประกันคุณภาพประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน โดยใช้หลักการPDCA ตามกระบวนการการโดยดำเนินงานดังนี้
- การวางแผน (Planning) ผู้บริหารคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาผู้เกี่ยวข้องร่วมวางแผน ค้นคว้า สำรวจข้อมูลสภาพปัจจุบัน สภาพการดำเนินงานการศึกษาของโรงเรียนร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา ร่วมกันกำหนดสภาพความต้องการร่วมมือกันกำหนดยุทธศาสตร์ ในการพัฒนา กำหนดกิจกรรมนำไปทำ แผนพัฒนาและศึกษาสภาพปัจจุบันการดำเนินงานของโรงเรียน
- การปฏิบัติ (Doing) ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทำแผนปฏิบัติการประจำปี ลงสู่การปฏิบัติตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการสถานศึกษา อย่างเป็นระบบตลอดปี การศึกษาทำเครือข่ายการเรียนรู้ มาเป็นตัวช่วยเสริม ในการจัดการศึกษาโรงเรียนได้ทำรูปแบบการบริหาร โดย “OCHIN MODEL” ในการปฏิบัติงาน
- การตรวจสอบ การนิเทศ (Check) เมื่อคณะครูนำแผนโครงการต่างๆสู่การปฏิบัติผู้เกี่ยวข้องและ ผู้รับผิดชอบ คอยนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลระหว่างการปฏิบัติแก้ไขปรับปรุง ให้ทันท่วงทีอยู่เสมอ โรงเรียนได้นำรูปแบบการบริหารที่ยึดรูปแบบ “OCHIN MODEL” มีส่วนร่วมมาใช้เสริมในการปฏิบัติตาม รูปแบบ
- การประเมินและการปรับปรุง ( Action) เป็นการประเมินผลหลังเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการเป็น การประเมินหลังเสร็จสิ้นแต่ละภาคเรียนซึ่งโรงเรียนมีการประเมินอย่างน้อยปีการศึกษาละ 2 ครั้ง โรงเรียนได้นำ รูปแบบการบริหารที่ยึดการบริหารแบบ “OCHIN MODEL” ในประเด็นหลักการกระจายอำนาจหลักการมีส่วนร่วมมาใช้เสริมในการปฏิบัติตามรูปแบบดังนี้
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>๕</td>
</tr>
</tbody>
</table>
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>๖</td>
</tr>
</tbody>
</table>
๓.๓ ประสิทธิภาพของการดำเนินงานผลจาการดำเนินงานการพัฒนาระบบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านนาเกตุ โดยใช้ OCHIN MODEL มาใช้ในการพัฒนาระบบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยได้ดำเนินงานครอบคลุมตามกฎกระทรวง การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๖๑ มีขั้นตอนและรายละเอียดดังนี้
- กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
- จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการ
- ดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาภายในสถานศึกษา
- ติดตามผลการดำเนินการให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา
- จัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง
- O = Organization การจัดการองค์กร มีการวางแผนกลยุทธ์โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม
ของบุคลากรภายในและบุคลากรภายนอกสถานศึกษา วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียน (SWOT Analysis) นำผลการวิเคราะห์บริบททั้งภายนอกและภายในสถานศึกษา ชุมชน กำหนดทิศทางของสถานศึกษาภายใต้กรอบวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าประสงค์ ดังนี้
- ศึกษาและเตรียมการ
- วิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหาของโรงเรียน (SWOT Analysis)
- นำองค์กร กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และกลยุทธ์
- วางแผนเชิงกลยุทธิ์ โดยร่วมจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี และแผนระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>๗</td>
</tr>
</tbody>
</table>- C = Consulting สร้างการรับรู้ โดยการประชุม ปรึกษาหารือกับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการวางแผนการดำเนินงาน ขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มีการตั้งคณะทำงาน และพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อร่วมศึกษาแนวคิด รูปแบบ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา
- H = High quality of teaching สะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ การติดตาม นิเทศ กำกับ ผลการดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ระหว่างที่ทุกฝ่ายของสถานศึกษาดำเนินการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาตามาตรฐานคุณภาพการศึกษา (มาตรฐานและตัวชี้วัด)ของสถานศึกษา
- สะท้อนผล และทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
– แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ
– กำหนดระยะเวลาและแนวทางการตรวจสอบ
– ประเมินสภาพของสถานศึกษาตามาตรฐาน
– จัดทำสารสนเทศแสดงผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดและเกณฑ์คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
- I = Implementation การจัดการเครื่องมือสู่การปฏิบัติ การสร้างเครื่องมือประเมินคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่กำหนดขึ้น เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มาจัดทำเป็นข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ที่จะใช้ในการหาจุดที่จะพัฒนาสถานศึกษาต่อไป แต่งตั้งคณะกรรมการสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล และจัดเก็บเครื่องมือเพื่อการนำไปใช้ต่อไป
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>๘</td>
</tr>
</tbody>
</table>- ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามแผน
– จัดทำสารสนเทศสภาพปัจจุบัน (ข้อมูลพื้นฐาน)
– ประเมินสภาพปัจจุบันของสถานศึกษาตามมาตรฐาน
– จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานต่างๆของสถานศึกษา
– สร้างเครื่องมือและประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน
– จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
- N = Network ประสานความร่วมมือทุกเครือข่าย การเชื่อมผสานการทำงานขององค์กร ภาคี เครือข่ายต่าง ๆ ในการบริหารงานโรงเรียนให้เกิดการทำงานร่วมกัน โดยยึดถือประโยชน์สูงสุดที่จะเกิด ขึ้นกับองค์กร พัฒนาระบบงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ได้แก่
- การพัฒนาและการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดย
- ร่วมกันสรุปผลการตรวจสอบ และรายงานผลการตรวจสอบการประกันคุณภาพ
การศึกษาของสถานศึกษาโดยการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (SAR)
- ร่วมกันปรับปรุง แก้ไขการปฏิบัติงานที่พบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการ
ปฏิบัติงานและมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสาม
- ติดตามตรวจสอบแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา
การปฏิบัติงานและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาตามระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ปฏิบัติได้กำหนดไว้จะแก้ไขเสร็จทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าข้อบกพร่องที่พบได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>๙</td>
</tr>
</tbody>
</table>
๓.๔ การใช้ทรัพยากร
การพัฒนาระบบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านนาเกตุ โดยใช้ OCHIN MODEL ได้นำทรัพยากรที่มีอยู่ในโรงเรียนมาปรับใช้อย่างเหมาะสมคุ้มค่า เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน รวมถึงการใช้วัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำคู่มือและสร้างเครื่องมือ โดยการเบิกจ่ายงบประมาณตามโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามแผนปฏิบัติการประจำปีอย่างคุ้มค่าเหมาะสมและมีการจัดทำรายงานผลโครงการเสนอต่อผู้บริหารทราบในสิ้นปีการศึกษา
๔. ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ
๔.๑ ผลที่เกิดตามจุดประสงค์
- โรงเรียนบ้านนาเกตุ ได้พัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ร้อยละ ๑๐๐ ของครูและบุคลากรของโรงเรียนบ้านนาเกตุ ได้รับการส่งเสริมให้มี
ส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษา ตามรูปแบบ “OCHIN MODEL”
๔.๒ ผลสัมฤทธิ์ของงาน
จากการพัฒนาระบบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของโรงเรียนบ้านนาเกตุ โดยใช้ OCHIN MODEL ส่งผลให้โรงเรียนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ในแต่ละมาตรฐานของสถานศึกษา ทั้ง ๓ ด้าน ดังนี้
๔.๒.๑ ด้านคุณภาพเด็กและผู้เรียน
๑.ด้านคุณภาพเด็ก
๑) พัฒนาการด้านร่างกาย เด็กมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงมีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์
ที่กำหนดโดยครูประจำชั้นได้ติดตามเด็กด้านโภชนาการอย่างต่อเนื่อง มีการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ในทุกเดือนและรายงานข้อมูลให้ผู้บริหารทราบ และได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองในการติดตามเฝ้าระวังด้านความเสี่ยงต่อการรับเชื้อโคโรนา 2019 ส่งผลให้ร้อยละ ๙๗.๓๓ ของเด็ก มีพัฒนาการด้านร่างกายแข็งแรง มีสุขนิสัยดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้ตามค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาและรายละเอียดของมาตรฐานปฐมวัย
๒) พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ เด็กมีความความสุข สนุกสนานในการเรียนรู้และแสดงออกได้อย่างเหมาะสมตามวัยร่าเริงแจ่มใส มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนและครู ส่งผลให้เด็กมีสมาธิที่ดีในการเรียนรู้สามารถควบคุมอารมณ์และแสดงออกทางอารมณ์ได้เหมาะสมตามวัย ส่งผลให้ร้อยละ 9๗.๓๓ ของเด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้
๓) พัฒนาการด้านสังคม โรงเรียนบ้านนาเกตุส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลสิ่งแวดล้อมรอบตัวผ่านการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ทางสังคม ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันกิจกรรมคุณธรรม จริยธรรม รู้จักการใช้ชีวิตตามวิถีท้องถิ่น ส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเอง ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมได้เหมาะสมตามวัย ส่งผลให้ร้อยละ ๙๗.๓๓ ของเด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ตามค่าเป้าหมายตามมาตรฐานการศึกษาและรายละเอียดของมาตรฐานระดับปฐมวัย
๔) พัฒนาการด้านสติปัญญา เด็กได้รับการพัฒนาทางด้านการใช้ภาษาความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหา โดยเน้นให้เด็กลงมือปฏิบัติและถ่ายทอดความคิดจินตนาการผ่านชิ้นงาน ควบคู่กับการทำงานเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจและชื่นชมความสามารถของตนเอง ส่งผลให้ร้อยละ ๘๔.๓๑ ของเด็กมีพัฒนาการ
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>๑๐</td>
</tr>
</tbody>
</table>
ด้านสติปัญญา การสื่อสารได้มีทักษะการคิดพื้นฐานและแสวงหาความรู้ได้ ตามมาตรฐานการศึกษาและรายละเอียดของมาตรฐานปฐมวัย
<table>
<tbody>
<tr>
<td rowspan=”2″ width=”85″>ระดับชั้น</td>
<td rowspan=”2″ width=”85″>จำนวนเด็ก</td>
<td colspan=”4″ width=”378″>ผลการประเมินพัฒนาการ</td>
<td rowspan=”2″ width=”64″>ร้อยละ</td>
</tr>
<tr>
<td width=”94″>ร่างกาย</td>
<td width=”95″>อารมณ์ จิตใจ</td>
<td width=”94″>สังคม</td>
<td width=”95″>สติปัญญา</td>
</tr>
<tr>
<td width=”85″>อนุบาล ๑</td>
<td width=”85″>๑๓</td>
<td width=”94″>๙๒</td>
<td width=”95″>๙๒</td>
<td width=”94″>๙๒</td>
<td width=”95″>๘๔.๖๑</td>
<td width=”64″>๙๐.๑๕</td>
</tr>
<tr>
<td width=”85″>อนุบาล ๒</td>
<td width=”85″>๑๒</td>
<td width=”94″>๑๐๐</td>
<td width=”95″>๑๐๐</td>
<td width=”94″>๑๐๐</td>
<td width=”95″>๘๓.๓๓</td>
<td width=”64″>๙๕.๘๓</td>
</tr>
<tr>
<td width=”85″>อนุบาล ๓</td>
<td width=”85″>๒๐</td>
<td width=”94″>๑๐๐</td>
<td width=”95″>๑๐๐</td>
<td width=”94″>๑๐๐</td>
<td width=”95″>๘๕.๐๐</td>
<td width=”64″>๙๖.๒๕</td>
</tr>
<tr>
<td colspan=”2″ width=”170″>ร้อยละ</td>
<td width=”94″>๙๗.๓๓</td>
<td width=”95″>๙๗.๓๓</td>
<td width=”94″>๙๗.๓๓</td>
<td width=”95″>๘๔.๓๑</td>
<td width=”64″>๙๔.๐๗</td>
</tr>
</tbody>
</table>
ตารางแสดงผลการประเมินพัฒนาการเด็กระดับปฐมวัย (จำนวนที่ผลพัฒนาการระดับ ๓ ขึ้นไป)๒. ด้านคุณภาพผู้เรียน
โรงเรียนบ้านนาเกตุ ส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการดำเนินงาน/กิจกรรมอย่างหลากหลาย ได้แก่ กิจกรรมการอ่านออกเขียนได้ กิจกรรมคณิตคิดเลขเร็ว ฝึกให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาเป็น ซึ่งสอดรับกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ที่ได้มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข ดังนั้นโรงเรียนบ้านนาเกตุ จึงกำหนดมาตรฐานการศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนจำนวน ๒ ด้าน ได้แก่ ๑) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ๒) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร การคิดคำนวณ รวมทั้งการมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษามีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการมีความรู้ ทักษะพื้นฐาน เจตคติที่ดีต่องานอาชีพ สำหรับด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด และมีสุขภาวะทางร่างกายและสังคม ความภูมิใจในท้องถิ่น และความเป็นไทยการยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
โรงเรียนบ้านนาเกตุ มีกระบวนการพัฒนาผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครูจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน และเป็นไปตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรมีการออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนโดยมีการจัดการเรียนเรียนรู้ทั้งรูปแบบการระดมสมอง แบบลงมือปฏิบัติจริง แบบร่วมมือกันเรียนรู้ แบบใช้กระบวนการคิด กระบวนการใช้ปัญหาเป็นหลักและเน้นเรื่องการอ่านออกของผู้เรียนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดโดยมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนทุกคนอ่านออกและเขียนได้ตั้งแต่ระดับชั้น ป.๑ พัฒนาครูทุกคนให้มีความสามารถในการนำเทคนิควิธีสอนให้ตรงตามศักยภาพผู้เรียน ใช้สื่อเทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน มีแหล่งเรียนรู้และแหล่งสืบค้นข้อมูล ได้แก่ ห้องสมุด ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง ครูเน้นการใช้คำถามเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน
๔.๒.๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ
เพื่อให้บรรลุตามกระบวนการบริหารและการจัดการคุณภาพของสถานศึกษา ในโรงเรียน บ้านนาเกตุ การดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยใช้ข้อมูลฐานในการกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์และพันธกิจอย่างชัดเจน ในดำเนินการพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน ตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกกลุ่มเป้าหมาย เชื่อมโยงกับชีวิตจริง จัดทำแผนพัฒนา คุณภาพจัดการศึกษา ดำเนินงานพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ ทางด้านวิชาชีพ ตามความต้องการของครูและสถานศึกษา จัด
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>๑๑</td>
</tr>
</tbody>
</table>
สภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียนบ้านนาเกตุ โดยประเมินภาพความสำเร็จดังนี้ โรงเรียนมีเป้าหมายวิสัยทัศน์และพันธกิจที่โรงเรียนกำหนดชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัด รวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมมีระบบการบริหารจัดการคุณภาพอย่างเป็นระบบ วางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาโดยนำแผนไปปฏิบัติ ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และปรับปรุง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการนิเทศภายใน นำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากร และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนในการวางแผน ปรับปรุง พัฒนาและร่วมกันรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษามีการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ พัฒนาหลักสูตร กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริงและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มที่เรียนแบบควบรวมและกลุ่มเรียนร่วมด้วย มีการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรตรงตามความต้องการและจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียนจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ภายในและภายนอกห้องเรียน และสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีคุณภาพ มีความปลอดภัยจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน จัดหา พัฒนาและบริการด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ จัดให้มีการนิเทศกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงานสรุปผลการดำเนินงาน โดยจัดให้มีโครงการนิเทศภายในสถานศึกษา เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายและมีการดำเนินกิจกรรมอย่างหลากหลายเพื่อเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญตามมาตรฐานตำแหน่ง ซึ่งโรงเรียนได้จัดโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องทุกปี มีการส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีคุณภาพในการจัดการเรียนรู้มากยิ่งขึ้นและร่วมจัดกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ : PLC มาใช้ในการพัฒนางานให้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ โดยมีโครงการบริหารงานวิชาการ บริหารงานทั่วไป บริหารงานงบประมาณและบริหารงานบุคคล ผ่านการประชุมของคณะกรรการ วางแผน ระดมสมอง วิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของโรงเรียน (SWOT Analysis) ในการกำหนดเป้าหมายวิสัยทัศน์ และพันธกิจที่โรงเรียนกำหนดชัดเจนสอดคล้องกับสภาพปัญหาความต้องการพัฒนาของโรงเรียน นโยบายการปฏิรูปการศึกษาความต้องการของชุมชนและสอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปตามแผนการศึกษาชาติ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตลอดจนการนิเทศกำกับติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน๔.๒.๓ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
โรงเรียนบ้านนาเกตุ ได้ดำเนินงาน/โครงการ/กิจกรรม อย่างหลากหลาย มุ่งส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนการสอนเน้นการปฏิบัติ (Active learning) ให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการคิด ปฏิบัติจริง เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและคงทน ตามมาตรฐานและตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษา ให้นักเรียนมีส่วนร่วม ครูรู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดำเนินการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลที่ได้มาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมได้จริง ครูใช้สื่อ และแหล่งเรียนรู้ มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เพื่อให้เด็กรักการเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข ครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำข้อมูลมาร่วมพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และสอนตามแผน ครูผลิตนวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งปรับโครงสร้างรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ สัดส่วนคะแนนแต่ละหน่วย กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่สอดคล้อง กับหน่วยการเรียนรู้ สนับสนุนให้ครูจัดการเรียนการสอนที่สร้างโอกาสให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ได้ลงมือปฏิบัติจริงจนสรุปความรู้ได้ด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะการคิด เช่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน ครูมีการมอบหมายหน้าที่ให้นักเรียนจัดป้ายนิเทศ และบรรยากาศตามสถานที่ต่าง ๆทั้งภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ครูใช้สื่อการเรียนการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการประเมินคุณภาพและ
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>๑๒</td>
</tr>
</tbody>
</table>
ประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่ใช้ครูทุกคนทำงานวิจัย ในชั้นเรียน ปีการศึกษาละ ๑ เรื่อง โดยมีประเด็นภาพความสำเร็จด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนี้ ครูจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ให้นักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดกิจกรรมสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ให้นักเรียนได้ฝึกทักษะ ได้แสดงความคิดเห็น ได้แสดงออก เป็นผู้สามารถสรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ ครูใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย ครูมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ ระหว่างเด็กกับครู ครูกับเด็ก เด็กกับเด็ก เด็กรักการเรียนรู้ และสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข ครูร่วมกันออกแบบการวัดผลประเมินผลเพื่อตรวจสอบ และประเมินผู้เรียนอย่างมีขั้นตอน ใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสม พร้อมทั้งนำผลไปใช้พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูผู้สอนร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ (PLC) เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและนำไปปรับปรุง/พัฒนาการจัดการเรียนรู้๔.๓ ประโยชน์ที่ได้รับ
จากการดำเนินการพัฒนาระบบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านนาเกตุโดยใช้ OCHIN MODEL มีดังนี้
๑. ผู้เรียน/ผู้ปกครอง มีความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษา ที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพได้ทำงานที่เป็นระบบที่ดีมีประสิทธิภาพมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ และเน้นคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่องทำให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน
๒. ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญจำเป็นในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา มีความรู้ความเข้าใจ มีความสามารถ และมีทักษะในการวิเคราะห์ปัญหา รวมถึงการใช้ข้อมูลสาระสนเทศในการตัดสินใจและสร้างทางเลือกในการแก้ไขปัญหา ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนที่มีคุณภาพ
๓. ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำ และความรู้ความสามารถ ในการบริหารงานอย่างเป็นระบบและมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม หน่วยงานที่กำกับดูแล สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพทางการศึกษาและคุณภาพของสถานศึกษา
๔ .ผู้ประกอบการชุมชนสังคมและประเทศชาติ ได้เยาวชนและคนที่ดีมีคุณภาพ และศักยภาพที่จะช่วยทำงานพัฒนาองค์กรชุมชนสังคมและประเทศชาติต่อไป
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
๑. ผู้บริหารให้ความสำคัญกับระบบการประกันคุณภาพการศึกษา มีการสนับสนุนให้คณะทำงานและบุคลากรทุกคนเข้ารับการอบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเพิ่มความรู้สร้างความตระหนักในบทบาทหน้าที่ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการทำงานที่คล่องตัวรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>๑๓</td>
</tr>
</tbody>
</table>- หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ เห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือกับสถานศึกษา ในการ
ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาโดยมีการแต่งตั้งครูรับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาประจำกลุ่มสาระการเรียนรู้
- ครูและบุคลากรทุกคนมีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งในระดับบุคคลและ
ระดับสถานศึกษา จะทำรายงานการประเมินตนเองและรับการตรวจประเมิน
- บุคลากรของสถานศึกษามีความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมุ่งมั่นในการทำงานมีความรู้
ความเข้าใจและตระหนักในบทบาทหน้าที่ของตนเองตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
- มีการบริหารจัดการฐานข้อมูล สารสนเทศหลักอย่างสม่ำเสมอ
- มีการให้ความรู้ที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบันด้านการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่าง
ต่อเนื่องแก่ครูและบุคลากรในโรงเรียน
- ใช้หลักการมีส่วนร่วมโดยอาศัยความร่วมมือของผู้บริหารครูผู้สอนผู้เรียนและผู้ปกครองและ
ชุมชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๖. บทเรียนที่ได้รับ
- ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินงานของระบบงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยเปิดโอกาสให้ครูและบุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมในการร่วมกันกำหนดมาตรฐานการศึกษา กำหนดค่าเป้าหมายโดยใช้ข้อมูลสาระสนเทศ จนถึงเป็นผู้มีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาหรือติดตามตรวจสอบให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา และรวบรวมข้อมูลจากการประเมินเพื่อใช้เป็นสารสนเทศ ในการจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา (SAR) และนำข้อมูลสารสนเทศที่ได้ทั้งผลการประเมินจุดเด่น จุดด้อย จุดที่ควรพัฒนา ข้อเสนอแนะต่างๆ ไปใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานของตนเองในปีต่อไป ทำให้เกิดกระบวนการทำงานตามรูปแบบการบริหารที่ยึดการบริหารโดยใช้ OCHIN MODEL
๒. ครูมีความตระหนักในบทบาทหน้าที่ และทัศนคติที่ถูกต้องต่อการดำเนินงานระบบประกัน
คุณภาพภายในสถานศึกษาและมีการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่การปฏิบัติ ส่งผลให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานประกันคุณภาพตามที่สถานศึกษากำหนด
๗. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับการยกย่อง
๗.๑ การเผยแพร่
๑. ประชาสัมพันธ์ผ่านเพจ Facebook ของเรียนบ้านนาเกตุ ๒. เผยแพร่ผ่านทางช่องสถานีดอทคอม
<table width=”100%”>
<tbody>
<tr>
<td>๑๔</td>
</tr>
</tbody>
</table>
๗.๒ การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับการยกย่อง๗.๒.๑ รางวัลระดับประเทศ
สถานศึกษา
- โรงเรียนบ้านนาเกตุ ได้รับเกียรติบัตร นำเสนอผลงาน ภาพยนตร์สั้นต่อต้านการ
ทุจริต ระดับประถมศึกษา การประกวดแข่งขันผลงานสื่อสร้างสรรค์ ภาพยนตร์สั้นต่อต้านการทุจริต ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาล ในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปี ๒๕๖๕
ข้าราชการครูและบุคลากร
- นางวิลาวัณย์ ผลจรุง ครูชำนาญการพิเศษ ได้รับรางวัล เป็นผู้วิจัยและพัฒนา
นวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ด้านการจัดการเรียนการสอน โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับประเทศ (ระดับดี) ประจำปี ๒๕๖๕
- นางปัทมา สัตยพงศ์ ครูชำนาญการพิเศษ ได้รับรางวัลคุรุชนคนคุณธรรม โครงการ
โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับประเทศ ประจำปี ๒๕๖๕
- นางสาวนูรูลฮูดา สะไร ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทน สพป.ปัตตานี เขต ๒ รางวัล
รองชนะเลิศ อันดับ ๒ ระดับคุณภาพ ดีมาก การประกวดแข่งขันผลงานสื่อสร้างสรรค์ ภาพยนตร์สั้นต่อต้านการทุจริต (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปี ๒๕๖๕
๗.๒.๑ รางวัลระดับเขตพื้นที่ ข้าราชการครูและบุคลากร
- นางปัทมา สัตยพงศ์ ครูชำนาญการพิเศษ ได้รับรางวัลชนะเลิศ ครูผู้สอนกิจกรรม
พัฒนาผู้เรียน ระดับประถมศึกษา ตามโครงการการคัดเลือกรางวัล “Perfect Teacher Award PTN ๒” ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
- นางวิลาวัณย์ ผลจรุง ครูชำนาญการพิเศษ ได้รับรางวัลชมเชย ครูผู้สอนกลุ่ม
สาระวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา ตามโครงการการคัดเลือกรางวัล “Perfect Teacher Award PTN ๒” ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๖
ภาคผนวก
เกียรติบัตรรางวัล
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
- You must be logged in to reply to this topic.