แนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่
Home › ฟอรั่ม › บทคัดย่อ › แนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่
ติดป้ายกำกับ: ห้องเรียนคุณภาพ, โรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง
- This topic has 0 ข้อความตอบกลับ, 1 เสียง, and was last updated 1 year, 7 months มาแล้ว by วิร์ธิมา กันยายน.
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
-
24 มีนาคม 2023 เวลา 4:06 pm #14499
ชื่องานวิจัย แนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล
วัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่
ผู้วิจัย นางวิร์ธิมา กันยายน
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
ปีที่พิมพ์ 2566
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง แนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methodology Design) ประกอบด้วย การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) การวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาของการปฏิบัติงานตามกระบวนการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่ 3) เพื่อทดลองแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่ และ 4) เพื่อการประเมินผลแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานครู และบุคลากร โรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง ในปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน เครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน ชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 415 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 453 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมิน แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนอย่างละ 1 ชุด ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสานวิธี (mixed methods) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviations) และนำเสนอผลโดยพรรณนาความ
ผลการวิจัยแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล วัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่ สรุปผลได้ดังนี้
- ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของกระบวนการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่ ยังต้องการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยังไม่เป็นที่น่าพึงพอใจในระดับที่ยอมรับได้ คุณภาพผู้เรียนยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม การดำเนินการบริหารและจัดการสถานศึกษาที่ไม่ค่อยเหมาะสมและต่อเนื่อง
- ผลการหาแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล วัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่ ได้มาจากการสังเกต สัมภาษณ์ สอบถามและสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้เกี่ยวข้องพบว่าแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่ ควรประกอบ ด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการมุ่งนําการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียนคุณภาพ 2) ด้านการออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบอิงมาตรฐาน 3) ด้านการวิจัยในชั้นเรียน (CAR) 4) ด้านการใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน และ 5) ด้านการสร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline)
- ผลการศึกษาผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่
3.1 ความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎีในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m = 4.67, s = 0.08) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ กำหนดคือมากกว่าหรือเท่ากับ 3.50
3.2 ความเป็นไปได้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (m = 4.64, s = 0.09) ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือมากกว่าหรือเท่ากับ 3.50
ในด้านผลการตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่พบว่ารูปแบบมีค่าประสิทธิภาพด้านความเหมาะสมในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.53 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.00 – 4.80 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ กำหนดคือ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.50
ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามรายด้าน พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (m = 4.77, s = 0.11)
- ผลการประเมินผลและพัฒนาแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่
- แนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่ ควรประกอบ ด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การมุ่งนําการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียนคุณภาพ ด้านที่ 2 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้แบบอิงมาตรฐาน ด้านที่ 3 การวิจัยในชั้นเรียน (CAR) ด้านที่ 4 การใช้ ICT เพื่อการสอนและสนับสนุนการสอน และด้านที่ 5 การสร้างวินัยเชิงบวก (Positive Discipline)
- ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อแนวทางการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพสู่คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามรายด้าน พบว่าโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (m= 4.79, s=0.17)
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
- You must be logged in to reply to this topic.