การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระ
การเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่อง การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากพืชท้องถิ่นภาคใต้ ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลัง
การจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่อง การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากพืชท้องถิ่นภาคใต้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่อง การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากพืชท้องถิ่นภาคใต้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล ๓ (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์) สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 31 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่
1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่อง การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากพืชท้องถิ่นภาคใต้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 6 ชุด 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน รวมเวลาทั้งหมด 6 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจแบบมาตรส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับของลิเคิร์ท จำนวน 10 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test แบบ dependent sample และแบบ Paired t-test
ผลการวิจัย พบว่า
- ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่อง การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากพืชท้องถิ่นภาคใต้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.34/80.22
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่อง การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากพืชท้องถิ่นภาคใต้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ เรื่อง การผลิตเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจากพืชท้องถิ่นภาคใต้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43