การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง

Home ฟอรั่ม บทคัดย่อ การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง

ติดป้ายกำกับ: 

กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)
  • ผู้เผยแพร่
    บทคัดย่อ
  • #15430

    ชื่อเรื่อง         การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียน
    โรงเรียนวัดบ้านดง

    ผู้วิจัย           นายพิชิตชัย บุปผาโท

    ปีที่วิจัย         ปีการศึกษา 2566

    บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพ
    ของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบ
    การบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง 4) เพื่อประเมินรูปแบบ
    การบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง วิธีดำเนินการวิจัย
    แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1.1 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียน
    วัดบ้านดง โดยการสังเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 1.2 การศึกษาองค์ประกอบและแนวทาง
    การบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล
    ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพ
    ของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 2.1 การยกร่างรูปแบบ
    การบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง ขั้นตอนที่ 2.2 การตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูโรงเรียนวัดบ้านดง จำนวน 6 คน ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2566 ได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง ประกอบด้วย 6 ขั้นตอนย่อย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 4.1 การเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง แหล่งข้อมูล ได้แก่ งานวิชาการของโรงเรียนวัดบ้านดง เพื่อรวบรวมคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ในปีการศึกษา 2565 และปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ขั้นตอนที่ 4.2 การเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง แหล่งข้อมูล ได้แก่ งานวิชาการของโรงเรียนวัดบ้านดง เพื่อรวบรวมคะแนนผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) ในปีการศึกษา 2565 และปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกผลการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ขั้นตอนที่ 4.3 การเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง แหล่งข้อมูล ได้แก่ งานวิชาการของโรงเรียนวัดบ้านดง เพื่อรวบรวมคะแนนผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน (NT) ในปีการศึกษา 2565 และปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน (NT) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ขั้นตอนที่ 4.4 การเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง แหล่งข้อมูล ได้แก่ งานวิชาการของโรงเรียนวัดบ้านดง เพื่อรวบรวมคะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในปีการศึกษา 2565 และปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ขั้นตอนที่ 4.5 การเปรียบเทียบร้อยละของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง แหล่งข้อมูล ได้แก่ งานวิชาการของโรงเรียนวัดบ้านดง เพื่อรวบรวมคะแนนผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ในปีการศึกษา 2565 และปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกร้อยละของการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ขั้นตอนที่ 4.6 การประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    ผลการวิจัยพบว่า

    1. ผลการศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง พบว่า ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ
      2) ปัจจัยการบริหาร 3) กระบวนการบริหาร 4) เป้าหมายความสำเร็จ และแนวทางการบริหารจัดการเรียนรู้ของแต่ละองค์ประกอบ
    2. รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 ปัจจัยการบริหาร ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของคณะกรรมการบริหาร 2) บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริหาร 3) คุณลักษณะของผู้บริหาร 4) คุณลักษณะของครู องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการบริหาร ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน ขั้นตอนที่ 2 การจัดองค์กร ขั้นตอนที่ 3 การสร้างแรงจูงใจ ขั้นตอนที่ 4 การควบคุมงาน และองค์ประกอบที่ 4 เป้าหมายความสำเร็จ ประกอบด้วย 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) ผลการประเมินความสามารถ
      ด้านการอ่าน (RT) 3) ผลการประเมินคุณภาพของผู้เรียน (NT) 4) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 5) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 6) ความพึงพอใจของครู

    ผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียน
    วัดบ้านดง ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์
    อยู่ในระดับมากที่สุด

    1. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียน
      วัดบ้านดง พบว่า ครูสามารถปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง อยู่ในระดับมากที่สุด
    2. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียน
      วัดบ้านดง พบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
      ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดบ้านดง ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
      ในปีการศึกษา 2566 สูงกว่าปีการศึกษา 2565 โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีผลการประเมินเพิ่มขึ้นสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีผลการประเมินเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนเฉลี่ยการประเมินความสามารถด้านการอ่าน (RT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ทุกด้านการประเมิน ในปีการศึกษา 2566 สูงกว่าปีการศึกษา 2565 และเมื่อเปรียบเทียบร้อยละคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนกับระดับประเทศ ในปีการศึกษา 2566 พบว่า สูงกว่าระดับประเทศทุกด้านการประเมิน 3) ผลการเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนเฉลี่ยการประเมินคุณภาพของผู้เรียน (NT) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกด้านการประเมิน ในปีการศึกษา 2566 สูงกว่าปีการศึกษา 2565 และเมื่อเปรียบเทียบร้อยละคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนกับระดับประเทศ ในปีการศึกษา 2566 พบว่า สูงกว่าระดับประเทศทุกด้านการประเมิน 4) ผลการเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในวิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2566 สูงกว่าปีการศึกษา 2565 และเมื่อเปรียบเทียบร้อยละคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนกับระดับประเทศ ในปีการศึกษา 2566 พบว่า สูงกว่าระดับประเทศทุกรายวิชา 5) ผลการเปรียบเทียบร้อยละของผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดบ้านดง ก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง ในปีการศึกษา 2566 สูงกว่าปีการศึกษา 2565 ทุกข้อ โดยคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ข้อที่ 5 อยู่อย่างพอเพียง มีผลการประเมินเพิ่มขึ้นสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ข้อที่ 8 มีจิตสาธารณะ ข้อที่ 7 รักความเป็นไทย ข้อที่ 6 มุ่งมั่นในการทำงาน ข้อที่ 2 ซื่อสัตย์สุจริต ข้อที่ 4 ใฝ่เรียนรู้ ข้อที่ 1 รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และข้อที่ 3 มีวินัย มีผลการประเมินเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด 6) ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อการปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง พบว่า ในภาพรวมครูมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติตามรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนโรงเรียนวัดบ้านดง อยู่ในระดับมากที่สุด
กำลังดู 1 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 1 (ของทั้งหมด 1)
  • You must be logged in to reply to this topic.