การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมองEFสำหรับเด็กของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
Home › ฟอรั่ม › บทคัดย่อ › การประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมองEFสำหรับเด็กของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ติดป้ายกำกับ: ทักษะ EF, รายงานการประเมินโครงการ
- This topic has 0 ข้อความตอบกลับ, 1 เสียง, and was last updated 7 months, 1 week มาแล้ว by ธีระศักดิ์ โนชัย.
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
-
23 มีนาคม 2024 เวลา 12:25 pm #15126
ผู้ประเมิน : นางสาวกัญญลักษณ์ โสภา ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่งองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง
ปีการศึกษา : 2565
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะEFสำหรับเด็กของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลด้านบริบท (Context Evalution) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evalution) ประเมินผลด้านกระบวนการ (Process Evalution)และ ประเมินผลด้านผลผลิต (Product Evalution)ของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมอง EFสำหรับเด็ก ของ โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitative research)และการวิจัยเชิงคุณภาพ ( Qualitative research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาประกอบด้วย ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ทางสถิติ คือ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) และวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แปลผล และนำเสนอในรูปตารางประกอบการบรรยาย
จากการประเมินโครงการพบว่า
ผลการประเมินโครงการโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมอง EFสำหรับเด็ก ของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.78) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ ³ 3.50 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่
การประเมินโครงการด้านบริบทของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมอง EFสำหรับเด็ก ของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมมีผลการประเมิน พบว่า มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด (=4.85 , s = 0.408) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
การประเมินโครงการด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมอง EFสำหรับเด็ก ของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย พบว่า มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด (=4.75 , s = 0.485) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
การประเมินโครงการด้านกระบวนการของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมอง EFสำหรับเด็ก ของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย พบว่า มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด (=4.75 , s = 0.481) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด
การประเมินโครงการด้านผลผลิต สำหรับกิจกรรมการสร้างความตระหนักในพัฒนาทักษะสมอง EFสำหรับเด็ก สู่การปฏิบัติ พบว่า ผลผลิต สำหรับกิจกรรมการสร้างความตระหนักในพัฒนาทักษะสมอง EFสำหรับเด็กมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (=4.70 , s = 0.549) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
การประเมินโครงการด้านผลผลิต สำหรับกิจกรรมพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ปฐมวัยและเด็ก เพื่อ พัฒนาทักษะสมองเด็กพบว่า ผลผลิตพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ปฐมวัยและเด็ก เพื่อ พัฒนาทักษะสมองเด็ก สำหรับ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (=4.73 , s = 0.564 ) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ สำหรับกิจกรรมการเล่นเกมที่มีกฎในการเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EFสำหรับเด็กเพื่อ พัฒนาทักษะสมองเด็กพบว่า ผลผลิตกิจกรรมการเล่นเกมที่มีกฎในการเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EFสำหรับเด็ก มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (=4.69 , s = 0.565) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ สำหรับกิจกรรมวาดภาพระบายสีเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EFสำหรับเด็ก พบว่า ผลผลิตกิจกรรมวาดภาพระบายสีเพื่อพัฒนาทักษะสมอง EFสำหรับเด็ก มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (=4.84 , s = 0.413) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ สำหรับกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม สำหรับเด็กพบว่า ผลผลิตสำหรับกิจกรรมพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม สำหรับเด็ก มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (=4.81 , s = 0.466) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
การประเมินด้านขวัญกำลังใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาของโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับเด็กมีขวัญกำลังใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาในระดับมากที่สุด (=4.71 , s = 0.557) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ การประเมินความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับเด็ก ของ โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (=4.71 , s = 0.458) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองต่อโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะสมอง EF สำหรับเด็ก ของ โรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (=4.82 , s = 0.529) ผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
-
ผู้เผยแพร่บทคัดย่อ
- You must be logged in to reply to this topic.