ชื่อผลงาน การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐาน
การเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และ
ความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดดอน
ไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) (DEVELOPMENT OF SOCIAL STUDIES INSTRUCTIONAL
MODEL BY APPLYING COMMUNITY-BASED LEARNING APPROACH AND
CONSTRUCTIVISM TO ENHANCE ANALYTICAL THINKING AND PROBLEM
SOLVING ABILITIES FOR MATTHAYOMSUKSA ONE STUDENTS OF WATDON KAIDEE MINICIPLE SCHOOL)
ชื่อผู้วิจัย นายอุเทน วางหา ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา)
ระยะเวลา พฤษภาคม – กันยายน 2562 (ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี
(สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) และเพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้ ที่สร้างขึ้น ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) ที่ออกแบบโดยใช้ ADDIE Model การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น
5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การออกแบบรูปแบบ
การเรียนการสอนและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 3 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ
การเรียนการสอนและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 4 การนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ และระยะที่ 5 การประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1/2 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ระยะเวลาที่ใช้เวลาในการเรียนการสอนตามรูปแบบดังกล่าว 15 ชั่วโมง
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยประยุกต์แนวคิด
ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์
และความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี
(สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ การจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 3 ขั้น คือ (1) ขั้นกระตุ้นการคิด (2) ขั้นท้าทายประสบการณ์ (3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป และการวัดและประเมินผล 2) ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา โดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้ ที่สร้างขึ้น พบว่า (1) นักเรียน มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน = 26.23; =1.77) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียน = 25.87; = 1.81) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05