ชื่อเรื่อง : การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลหนองบัวลาย
ผู้วิจัย : ชลธิชา ทิพย์นนท์
โรงเรียน : โรงเรียนเทศบาลหนองบัวลาย อ าเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา
ปีที่วิจัย : 2561
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลหนองบัวลาย ให้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลหนองบัวลาย และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนเทศบาลหนองบัวลาย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลหนองบัวลาย สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลหนองบัวลาย อำเภอบัวลาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1)แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน
จำนวน 1 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.45 – 0.77 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.36 ถึง 0.72 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 และ 3) แบบวัดความพึงพอใจ ซึ่งมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.32 ถึง 0.76 และมีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
- ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เท่ากับ 84.02/85.65 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ก าหนด 80/80 - ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
มีค่าเท่ากับ 0.7555 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากการจัดการเรียนรู้ คิดเป็นร้อยละ 75.55 - ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5Es) รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลหนองบัวลาย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ดาวน์โหลดบทคัดย่อ