ชื่อผลงาน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Base Learning)
ผู้วิจัย นางสาวอมรรัตน์ พิเลิศ
สถานศึกษา โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
ปีการศึกษา 2562
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและ การสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain Base Learning) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1/E2) 80/80 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผล ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนกับหลังการใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละครชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 215 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนห้วยทับทันวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 33 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 ชุด และคู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน จำนวน 5 ชุด ส่วนเครื่องมือที่ใช้ เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ (E1/E2) 80/80 วิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้สูตร E.I เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนกับหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้สถิติ t-test dependent โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยหาค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
1. ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1/E2) เท่ากับ 82.65/80.14 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด และเมื่อนำไปทดสอบซ้ำกับกลุ่มตัวอย่างได้ค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1/E2) เท่ากับ 85.71/81.21
2. ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I) ของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เท่ากับ 0.703 แสดงว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ช่วยให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.30
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานและการสร้างสรรค์นาฏศิลป์และการละคร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (x̄= 4.42) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับ มาก ทุกรายการ โดยด้านที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดเรียงจากมากไปน้อย คือ ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในกิจกรรมกลุ่ม (x̄= 4.49) ด้านรูปแบบการนำเสนอ (x̄= 4.44) ด้านส่วนนำ (x̄= 4.40) ด้านความรู้และประสบการณ์ (x̄ = 4.39) ด้านเนื้อหาและด้านองค์ประกอบทั่วไป (x̄ = 4.38)
ดาวน์โหลดบทคัดย่อ