แนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร

0
670

ชื่องานวิจัย         แนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด

                       เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร

ผู้วิจัย                นางสุรีรัตน์ สะสุนทร

สถานศึกษา         โรงเรียนสารวิทยา เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

ปีที่วิจัย             2564

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครและ 2) ตรวจสอบความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการของการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครโดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed-Methods Research) โดยใช้แบบแผนลำดับขั้น (Sequential Design) แบ่งการดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะตามลำดับคือ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครและระยะที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการของการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร

           การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครดำเนินการเป็น2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการกำหนดร่างแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เกี่ยวกับกิจกรรม แนวทางการพัฒนาตามตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 กระบวนการบริหารจัดการ  องค์ประกอบที่ 2 การสื่อสารความรอบรู้ด้านสุขภาพ องค์ประกอบที่ 3 การจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพและการเรียนรู้  และองค์ประกอบที่ 4 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายจากเอกสารแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของกรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข  และเอกสารรายงานผลการปฏิบัติตามโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนสารวิทยาปีการศึกษา พ.ศ. 2560 – 2562และขั้นตอนที่สองเป็นการตรวจสอบความครบถ้วนของเนื้อหาของร่างแนวทางการพัฒนาต่อการรองรับนโยบายการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพโดยผู้รับผิดชอบด้านนโยบายการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้สุขภาพของกรมอนามัย

           การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการของการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (survey research)โดยมีประชากรที่ศึกษาคือผู้อำนวยการโรงเรียน หรือรองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารทั่วไปจากโรงเรียน จำนวน 119โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ เขต 2 โดยโรงเรียน 1 โรงเรียนตอบแบบสอบถาม 1 คน รวมประชากรจำนวน 119 คน มีผู้ตอบรับเป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 81 คน คิดเป็นร้อยละ 68.07 ซึ่งเป็นขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่เพียงพอตามการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ de Vausภายใต้ระดับความเชื่อมั่น 95% (1990 อ้างถึงใน สุวิมล ว่องวาณิช, 2550)จำนวนขนาดกลุ่มตัวอย่าง 81 คนเป็นขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เพียงพอใน 3 กรณี กรณีแรกเมื่อกำหนดความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มที่ยอมให้เกิดร้อยละ 5 และความเป็นเอกพันธ์ของประชากรร้อยละ 5/95  กรณีที่สองเมื่อกำหนดความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มที่ยอมให้เกิดร้อยละ 7 และความเป็นเอกพันธ์ของประชากรร้อยละ 10/90และกรณีที่สามเมื่อกำหนดความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มที่ยอมให้เกิดร้อยละ 9 และความเป็นเอกพันธ์ของประชากรร้อยละ 20/80 กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้สามารถกำหนดความเป็นเอกพันธ์ของประชากรได้ถึงร้อยละ 5/95 

           ตัวแปรการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งปัจจุบันระยะเวลารับราชการ ระยะเวลาการปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาที่โรงเรียนสังกัด และขนาดของโรงเรียน และตัวแปรความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการของการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ได้แก่1) ความเป็นไปได้ในการการบริหารจัดการด้านความเหมาะสมของโครงสร้างองค์กร2)ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านความเหมาะสมของแนวทางการบริหารจัดการ3)ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านความเหมาะสมและเพียงพอของบุคลากรและ 4) ความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านโอกาสในการได้รับการสนับสนุน

           เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถามวัดระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการของการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร จากการรับรู้ของผู้บริหารโดยวัดความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการ 4 ด้าน ประกอบด้วย ความเหมาะสมของโครงสร้างองค์กร  ความเหมาะสมของแนวทางการบริหารจัดการความเหมาะสมและเพียงพอของบุคลากร และโอกาสในการได้รับการสนับสนุน โดยมีระดับการวัดเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ(ระดับ 5 มีความเป็นไปได้มากที่สุด และระดับ 1 มีความเป็นไปได้น้อยที่สุด)ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถามประกอบด้วย 1) ร่างแบบสอบถามโดยใช้แนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครที่สังเคราะห์ได้ในขั้นตอนการวิจัยเชิงคุณภาพมากำหนดเป็นข้อคำถามเพื่อวัดระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพซึ่งเป็นแนวทางดำเนินงานรองรับตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพประกอบด้วย 50 แนวทาง 2) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) โดยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นผู้รับผิดชอบหรือมีประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ จำนวน 5 คน โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์การวัด (index of item-objective congruent: IOC) ผลการตรวจสอบพบว่า ทุกข้อคำถามมีความตรงเชิงเนื้อหา และ 3) ตรวจสอบความเที่ยง (reliability) โดยนำแบบสอบถามที่ปรับแก้ไขแล้วไปทดลองใช้กับผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียนรัฐบาลสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานอกกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน โดยการหาค่า α Coefficient ของ Cronbachผลการตรวจสอบพบว่า แบบสอบถามมีค่าความเที่ยงอยู่ในระดับสูงทั้งความเป็นไปได้โดยรวมและความเป็นไปได้รายด้านเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม Google Formและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ independent t test

สรุปผลการวิจัย

           1. ผลการกำหนดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร

           แนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ 12 ตัวบ่งชี้ 50 แนวทางการพัฒนา และ 111กิจกรรมดังแสดงในตารางสรุป (รายละเอียดของแนวทางดังเอกสารที่แนบ)

แนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร
องค์ประกอบที่ 1 กระบวนการบริหารจัดการ
ตัวบ่งชี้ 1 การกำหนดนโยบายโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
แนวทางพัฒนา :
1. การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
1.1 การกำหนดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
1.2 การออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
2. การกำหนดนโยบายการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
2.1 การประชุมหารือผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาพเพื่อร่วมกันกำหนดนโยบายและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ
2.2 การกำหนดนโยบายด้านงบประมาณที่เอื้อให้เกิดการจัดกิจกรรมในการสื่อสารแบบชัดเจน เข้าใจง่าย สอดคล้องกับบริบท สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบ active และ authentic learning และใช้การสร้างแรงจูงใจในการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ เช่น การให้รางวัล
3. การวางแผนการดำเนินงานตามนโยบาย
3.1 การประชุมผู้บริหารโรงเรียน ครู ผู้ปกครองและนักเรียนเพื่อกำหนดส่วนประกอบของโครงการพัฒนา
3.2 การศึกษาปัญหาความรอบรู้ด้านสุขภาพของของนักเรียน และการตรวจสุขภาพนักเรียน
3.3 การศึกษาความพร้อมของโรงเรียนในการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
3.4 การกำหนดกิจกรรมโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพในปฏิทินโรงเรียนของปีการศึกษา
3.5 การประชุมเพื่อตรวจสอบและให้ความเห็นชอบโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
ตัวบ่งชี้ 2 การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ (Role Model)
แนวทางพัฒนา :
1. การพัฒนาครูและบุคลากรเพื่อเป็นแกนนำการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
1.1 การค้นหาครูรอบรู้สุขภาพต้นแบบที่มีอยู่ในโรงเรียนและนำครูรอบรู้สุขภาพต้นแบบมาใช้ประกอบการอบรมเพื่อพัฒนาครูรอบรู้สุขภาพของโรงเรียน
1.2การพัฒนาครูและบุคลากรที่ทำหน้าที่แกนนำการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
2. การพัฒนาความรู้ความเข้าใจความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่ครูและบุคลากร
2.1 การฝึกอบรมครูเกี่ยวกับการใช้คู่มือสำหรับพัฒนาศักยภาพครูในการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ และกระบวนการเรียนการสอนแบบ PIR (participation/investigation/reflection)
2.2 ให้ครูรอบรู้สุขภาพต้นแบบมีส่วนร่วมในการอบรมครู
2.3 การฝึกอบรมบุคลากรเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพทั่วไป และด้านสุขภาพเฉพาะงาน
3. การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพตามหลัก3 อ 2ส
3.1 การรณรงค์เพื่อเฝ้าระวังสุขภาพตนเองโดยการวัด BMI และเส้นรอบเอว
3.2 การจัดหาวิทยากรนำออกกำลังกายให้กับครู และบุคลากรออกกำลังกายและเล่นกีฬา
3.3 การรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่แก่ครูและบุคลากร
3.4 การพัฒนาความรู้บุคลากรด้านโภชนาการ
4. การสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนได้รับการประเมินสุขภาพตนเองและตรวจสุขภาพ
4.1 การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
4.2 การเฝ้าระวังและป้องกันสุขภาพ
5. การอบรมเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของครูและบุคลากร
5.1 การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยการจัดอบรมครูและบุคลากรก่อนเปิดภาคการศึกษา
5.2 การจัดอบรมเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ
6. การสื่อสาร/บอกต่อบุคคลต้นแบบRoleModel)
6.1 การสรรหาครูและบุคลากรแกนนำด้านสุขภาพ และสื่อสารบอกต่อให้ทราบทั่วกันผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
ตัวบ่งชี้ 3 การนิเทศติดตามและประเมินผล
แนวทางพัฒนา :
1. การดำเนินการนิเทศติดตามภายในและการเยี่ยมเสริมพลัง
1.1 การตรวจเยี่ยมและมอบรางวัลโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพต้นแบบจากกรมอนามัย
2. การประเมินผลความก้าวหน้าการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
2.1 การวางแผนการประเมินเป็นการเตรียมการเกี่ยวกับวิธีการและบุคคลผู้รับผิดชอบการประเมินผลเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลห้วงเวลาการรวบรวมข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมิน
2.2 การประเมินผลการดำเนินโครงการเพื่อศึกษาความก้าวหน้าของแนวทางการพัฒนาv- shape(การประเมินก่อนและหลังร่วมโครงการ)
3. การประเมินผลสำเร็จของการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
3.1 การวางแผนการประเมินเป็นการเตรียมการเกี่ยวกับวิธีการและบุคคลผู้รับผิดชอบการประเมินผลเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลห้วงเวลาการรวบรวมข้อมูล และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการประเมิน
3.2 การประเมินผลการดำเนินโครงการเพื่อศึกษาความสำเร็จของโครงการ
4. การจัดทำรายงานและเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
4.1 การเข้าร่วมประชุมในเวทีวิชาการ
4.2 การต้อนรับคณะการศึกษาดูงานโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
4.3 การนำเสนอผลของสุขภาพของนักเรียนกลุ่มที่มีปัญหาภาวะสุขภาพ
5. การนำผลการประเมินที่ได้รับมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
5.1 การประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นของทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมเกี่ยวกับปัจจัยความสำเร็จและข้อเสนอแนะในการพัฒนาและปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการแก้ไข (การถอดบทเรียน)
องค์ประกอบที่ 2 การสื่อสารความรอบรู้ด้านสุขภาพ
ตัวบ่งชี้ 1 การถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติทุกระดับ
แนวทางพัฒนา :
1. การถ่ายทอดนโยบายและแผนปฏิบัติการแก่ครูและบุคลากร
1.1 การประชุมครูและบุคลากรเพื่อถ่ายทอดนโยบายและแผนปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ และให้ความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ
1.2 การถ่ายทอดนโยบายและแผนปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
2. การถ่ายทอดนโยบายและแผนปฏิบัติการแก่นักเรียน
2.1 การประชุมนักเรียนเพื่อถ่ายทอดนโยบายและแผนปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ และให้ความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ
2.2 การถ่ายทอดนโยบายและแผนปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพโดยใช้ช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ
3. การถ่ายทอดนโยบายและแผนปฏิบัติการแก่ผู้ปกครอง
3.1 การประชุมผู้ปกครองเพื่อถ่ายทอดนโยบายและแผนปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ และให้ความรู้เกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ
3.2 การถ่ายทอดนโยบายและแผนปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพโดยใช้ช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ
ตัวบ่งชี้ 2 การพัฒนาตามขั้นตอนวีเชฟ(V-Shape)
แนวทางพัฒนา :
1. การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ
1.1 การสร้างแรงจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ
1.2 การบูรณาการแผนการเรียนการสอนด้านสุขภาพกับหลักสูตรแกนกลางในส่วนของกลุ่มสาระการเรียนรู้
1.3 การบูรณาการแผนการเรียนการสอนด้านสุขภาพกับหลักสูตรแกนกลางในส่วนของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1.4 การสร้างแหล่งเรียนรู้และช่องทางการสื่อสารความรอบรู้ด้านสุขภาพ
1.5 การฝึกการสืบค้นข้อมูลสุขภาพและการเลือกสื่อจากแหล่งที่เชื่อถือได้
1.6 แกนนำนักเรียน/นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาอภิปรายแลกเปลี่ยนโดยมีครูเป็นผู้ชี้แนะ 
2. การเข้าใจข้อมูลสุขภาพ
2.1 การอภิปรายวิธีจดจำและวิธีการสร้างความเข้าใจด้วยตนเองของนักเรียน
2.2 การตรวจสอบความเข้าใจข้อมูลสุขภาพของนักเรียนโดยการถามกลับ (teachback)และใช้ 3 คำถาม (askme3)
3. การไต่ถามข้อมูลสุขภาพ
3.1 การสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้นักเรียนได้โต้ตอบซักถามกันอย่างสร้างสรรค์และอิสระ
3.2 การจัดเวทีการแลกเปลี่ยนซักถามประเด็นการสื่อสารสุขภาพในเวทีระดับต่าง ๆ
4. การตัดสินใจใช้ข้อมูลสุขภาพ
4.1 การฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ คิดอย่างมีเหตุผล ในการได้รับข้อมูลด้านสุขภาพ
4.2 การฝึกทักษะการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)
5. การปรับใช้ข้อมูลสุขภาพ
5.1 การฝึกตั้งเป้าหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะสั้นและระยะยาว
5.2 การวางแผนและกำกับพฤติกรรม
5.3 การลงมือปฏิบัติตามแผน
5.4 การประเมินตนเองเป็นระยะและการเสริมแรง
6. การบอกต่อข้อมูลสุขภาพ
6.1 การฝึกทักษะการสื่อสาร การเล่าเรื่องและการสร้างความสัมพันธ์
6.2 การจัดให้มีเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านสุขภาพเพื่อให้มีการบอกต่อประสบการณ์การแก้ไขพฤติกรรมสุขภาพที่ประสบผลสำเร็จ
6.3การจัดกิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ให้นักเรียนมีส่วนร่วม
ตัวบ่งชี้ 3 การประเมินผลการสื่อสาร
แนวทางพัฒนา :
1. การประเมินผู้สื่อสาร
1.1 การประเมินความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของสาร และความรู้ความสามารถในการเลือกและผลิตสื่อ
2. การประเมินสาร
2.1 การประเมินเนื้อหาของสารเกี่ยวกับความถูกต้อง ความต้องการและความสนใจของผู้รับสาร ความเหมาะสมกับช่องทางการสื่อสาร และความเหมาะสมกับทุกกลุ่มเป้าหมาย
3. การประเมินช่องทางการสื่อสาร
3.1 การประเมินช่องทางการสื่อสารเกี่ยวกับความน่าสนใจ ความทันสมัย ความเหมาะสมกับเนื้อหาของสารและผู้รับสาร
4. การประเมินผู้รับสาร
4.1การประเมินผู้รับสารเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในสารที่ได้รับความสามารถในการใช้ช่องทางการสื่อสาร และความต้องการมีส่วนร่วมในการออกแบบช่องทาง
5. การประเมินการใช้ผลการประเมินการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
5.1 การนำผลการประเมินการสื่อสารความรอบรู้ด้านสุขภาพไปปรับแก้ไขการใช้ช่องทางการสื่อสาร
องค์ประกอบที่ 3 การจัดการสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพและการเรียนรู้
ตัวบ่งชี้ 1 การจัดการสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ
แนวทางพัฒนา :
1. การนำเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนมาจัดทำ KeyMessage สุขภาพด้วยการจัดกิจกรรม
1.1 การจัดทำ QR Code ป้ายประชาสัมพันธ์
1.2 การจัดทำต้นไม้พูดได้
1.3 การจัดทำบันไดนับแคลอรี่ (บันไดสุขภาพ)
1.4 การจัดทำสวนสื่อสารสุขภาพและการเรียนรู้
2. การพัฒนาห้องเรียนรอบรู้สุขภาพ
2.1 การจัดการให้ห้องเรียนปลอดเชื้อโรคโดยกำหนดแนวปฏิบัติประจำ
2.2 การตกแต่งห้องเรียนด้วยต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและออกซิเจนให้แก่ห้องเรียน
3. การจัดหาอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้านสุขภาพ
3.1 การจัดพื้นที่ใช้อินเทอร์เน็ต(wife)
3.2 การจัดบริการให้เข้าใช้ห้องคอมพิวเตอร์
ตัวบ่งชี้ 2 การจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม
แนวทางพัฒนา :
1. การสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
1.1 การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้สุขศึกษา
2. การสร้างแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพให้ชุมชน
2.1 การจัดการธนาคารขยะแบบครบวงจร
2.2 การจัดทำปุ๋ยชีวภาพจากขยะอินทรีย์ที่เป็นผลไม้ปลาตายและเปลือกไข่
2.3 การจัดทำดินปลูกต้นไม้โดยการสร้างบ่อหมักเศษใบไม้ กิ่งไม้และเศษหญ้า
3. การเปิดให้ชุมชนเข้ามาใช้สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา
3.1 การสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกในการออกำลังกาย
4. การสร้างบุคลากรและนักเรียนจิตอาสาด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
4.1 กิจกรรมหนึ่งห้องเรียนหนึ่งสาธารณประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
5. การจัดตั้งชุมนุม/ชมรม/แกนนำต้นแบบการสร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EnvironmentHealthModel)
5.1 การศึกษาดูงาน
5.2 การอบรม/แลกเปลี่ยนเรียนรู้
5.3 การพัฒนาศักยภาพแกนนำความรอบรู้ด้านสุขภาพ
5.4 การประกวด
5.5 การจัดทำทำเนียบปราชญ์สุขภาพ/ปราชญ์ชาวบ้าน
5.6 การประชุม
6. การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม
6.1 การให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต
6.2 กิจกรรมเสริมหลักสูตรตามช่วงวัย
ตัวบ่งชี้ 3 การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้น่าอยู่และปลอดภัย
แนวทางพัฒนา :
1. การดูแลและตรวจสอบสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
1.1 การสำรวจโดยนักเรียนแกนนำ/ชมรม
1.2 การทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
2. การแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
2.1 การติดกล้องวงจรปิดทุกจุดเสี่ยงหรือการตรวจตราบริเวณที่เป็นจุดเสี่ยงต่อความปลอดภัยของนักเรียน
2.2 การจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นมิตรกับสุขภาพ
3. การจัดให้มีช่องทางการแสดงความคิดเห็นที่ปลอดภัยต่อนักเรียน (เก็บเป็นความลับได้)
3.1 การจัดทำกล่องแสดงความคิดเห็นบริเวณอาคารประชาสัมพันธ์และบริเวณที่นั่งพักผ่อน
4. การสร้างโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ
4.1 ห้องเรียนรอบรู้สุขภาพ
4.2 ห้องส้วมที่ได้มาตรฐาน HAS
4.3 โรงอาหารที่ถูกสุขอนามัยตามเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหาร
4.4 ระบบการจัดการขยะ
4.5 ระบบการควบคุมคุณภาพน้ำบริโภค/อุปโภค
5. การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่
5.1 กิจกรรม Big Cleaning
5.2 กิจกรรมห้องเรียนปลอดเชื้อโรค
5.3 การจัดทำสบู่เหลวล้างมือ
5.4 การทำความสะอาดหลังคาอาคาร
5.5 การติดตั้งระบบพ่นน้ำในลานเอนกประสงค์และทางเดินเพื่อลดค่าฝุ่นละอองในอากาศ
5.6 กิจกรรมเสริมสร้างความรื่นรมย์
องค์ประกอบที่ 4 การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
ตัวบ่งชี้ 1 การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายวางแผนและทำกิจกรรม
แนวทางพัฒนา :
1. การมีส่วนร่วมในกำหนดปัญหาเพื่อจัดทำโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
1.1 การศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและบริบทของพื้นที่เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงานโครงการและออกแบบกิจกรรม
1.2 การเข้าร่วมประชุมในการกำหนดนโยบายและวางแผนโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
2. การมีส่วนร่วมในการดำเนินการโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
2.1 การมีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องตามสถานการณ์ปัญหาและบริบทของพื้นที่
3. การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินการโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
3.1 การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานที่ผ่านมาและเพื่อหาประเด็นไปพัฒนาต่อ
3.2 การมีส่วนร่วมในการถ่ายทอดแนวทางและความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชนอย่างต่อเนื่องตามบริบทของชุมชน
3.3 การมีส่วนร่วมสนับสนุนให้เครือข่ายได้นำองค์ความรู้จากการดำเนินงานไปสู่การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
ตัวบ่งชี้ 2 การมีเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
แนวทางพัฒนา :
1. การกำหนดบทบาทหน้าที่และโครงสร้างของภาคีเครือข่าย
1.1 การจัดทำบันทึกความร่วมมือ(MOU) ในการดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ
1.2 การกำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละภาคีเครือข่าย 
1.3 การจัดทีมที่ปรึกษาและให้การสนับสนุนเพื่อให้คำปรึกษาในเรื่องสุขภาพของนักเรียน
1.4 การสนับสนุนผู้ทรงคุณวุฒิแก่โรงเรียนเพื่อช่วยจัดกิจกรรม/โครงการ
1.5 การถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญา
2. การสนับสนุนเครือข่ายความรอบรู้ด้านสุขภาพของภาคีเครือข่าย
2.1 การส่งเสริม สนับสนุน สร้างแรงจูงใจภาคีเครือข่าย
ตัวบ่งชี้ 3 การเป็นสังคมรอบรู้ด้านสุขภาพ
แนวทางพัฒนา :
1. ชุมชนนักปฏิบัติโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนขยายผลโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพแก่โรงเรียนและหน่วยงานอื่น ๆ
1.1 การเผยแพร่ผลสำเร็จของการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพแก่แก่โรงเรียนและหน่วยงานอื่น ๆ
2. การดำเนินการพัฒนายกระดับเพื่อเอื้อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเข้าใจประเมินตัดสินใจเลือกใช้และปรับใช้ข้อมูลความรู้และบริการสุขภาพได้อย่างเหมาะสมกับตนเอง
2.1 การปรับปรุงแก้ไขแนวทางการพัฒนาเพื่อยกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล
3. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกับโรงเรียนหรือหน่วยงานอื่นๆ
3.1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพกับโรงเรียนหรือหน่วยงานอื่นๆ

              2.   ผลการตรวจสอบความเป็นไปได้ด้านการบริหารจัดการในการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร

           ผลการตรวจสอบความเป็นไปได้ด้านการบริหารจัดการในการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครโดยกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบริหารทั่วไป จำนวน 81 คน แยกเป็นผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต  1 และเขต 2 จำนวนใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 46.9 และร้อยละ 53.1 ตามลำดับ) ตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการมากกว่ารองผู้อำนวยการ (ร้อยละ 67.9 และร้อยละ 32.1 ตามลำดับ)  เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง (ร้อยละ 53.1และร้อยละ 46.9ตามลำดับ) อายุเฉลี่ย 47.0 ปี ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท (ร้อยละ 81.5) มีอายุราชการเฉลี่ย 21.5 ปี ประสบการณ์ด้านการบริหารเฉลี่ย 6.5 ปี ส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ (ร้อยละ 63.0) จากข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างสามารถสรุปได้ว่า เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความเหมาะสมต่อการตอบคำถามในทางการบริหาร ซึ่งพิจารณาได้จากวุฒิการศึกษาที่มีผู้จบการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกถึงร้อยละ 97.5 มีประสบการณ์ด้านการบริหารที่มากพอและเป็นการบริหารโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษสรุปผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ด้านการบริหารจัดการในการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครได้ ดังนี้

           2.1  ผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ พบว่า แนวทางการพัฒนาทั้ง 50 แนวทางตามตัวบ่งชี้ของ 4 องค์ประกอบมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในระดับมากถึงมากที่สุดของการบริหารจัดการทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ โครงสร้างองค์กรแนวทางการบริหารจัดการบุคลากรและการได้รับการสนับสนุน

           2.2  ผลวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการในการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ของโรงเรียนต่างสังกัด

           2.2.1  ระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านโครงสร้างองค์กรของทุกแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาของโรงเรียนดังนั้น โรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 และเขต 2 สามารถนำทุกแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้โดยไม่ต้องปรับการบริหารจัดการด้านโครงสร้างองค์กรในการนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวไปใช้

           2.2.2  ระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านแนวทางการบริหารจัดการของทุกแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไม่มีความแตกต่างกันระหว่างสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาของโรงเรียนดังนั้น โรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1และเขต 2 สามารถนำทุกแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้โดยไม่ต้องปรับการบริหารจัดการด้านแนวทางการบริหารจัดการในการนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวไปใช้

           2.2.3  ระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านบุคลากรของแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1ต่ำกว่าเขต 2จำนวน 3 แนวทาง ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาขององค์ประกอบที่ 1 ได้แก่ 1) การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การกำหนดนโยบายโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ 2) การกำหนดนโยบายการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การกำหนดนโยบายโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 3) การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ ดังนั้น โรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1จึงต้องปรับการบริหารจัดการด้านบุคลากรในการนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวไปใช้เพื่อเพิ่มระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านบุคลากรให้สูงขึ้น

           2.2.4  ระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านการได้รับการสนับสนุนของแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1ต่ำกว่าเขต 2จำนวน 4แนวทาง ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาขององค์ประกอบที่ 1 ได้แก่1) การกำหนดนโยบายการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การกำหนดนโยบายโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ 2) การพัฒนาความรู้ความเข้าใจความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่ครูและบุคลากรของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ3) การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ และ 4) การจัดทำรายงานและเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การนิเทศติดตามและประเมินผล ดังนั้น โรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1จึงต้องปรับการบริหารจัดการด้านการได้รับการสนับสนุนในการนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวไปใช้เพื่อเพิ่มระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านการได้รับการสนับสนุนให้สูงขึ้น

           2.3  ผลวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการในการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ของโรงเรียนต่างขนาด

           2.3.1  ระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านโครงสร้างองค์กรของทุกแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไม่มีความแตกต่างกันระหว่างขนาดของโรงเรียนดังนั้นโรงเรียนขนาดเล็ก โรงเรียนขนาดกลางโรงเรียนขนาดใหญ่ และโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษสามารถนำทุกแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้โดยไม่ต้องปรับการบริหารจัดการด้านโครงสร้างองค์กรในการนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวไปใช้

           2.3.2  ระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านแนวทางการบริหารจัดการของแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลางต่ำกว่าโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ถึงขนาดใหญ่พิเศษจำนวน 6แนวทาง ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาขององค์ประกอบที่ 1 ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การกำหนดนโยบายโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ2) การวางแผนการดำเนินงานตามนโยบายของตัวบ่งชี้การกำหนดนโยบายโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ 3) การพัฒนาครูและบุคลากรเพื่อเป็นแกนนำการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ 4) การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ 5) การนำผลการประเมินที่ได้รับมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องของตัวบ่งชี้การนิเทศติดตามและประเมินผล และ 6) การจัดทำรายงานและเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การนิเทศติดตามและประเมินผลดังนั้น โรงเรียนที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลางจึงต้องปรับการบริหารจัดการด้านแนวทางการบริหารจัดการในการนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวไปใช้เพื่อเพิ่มระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านแนวทางการบริหารจัดการให้สูงขึ้น

           2.3.3  ระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านบุคลากรของแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลางต่ำกว่าโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ถึงขนาดใหญ่พิเศษจำนวน 10แนวทาง แยกตามองค์ประกอบได้ดังนี้องค์ประกอบที่ 1 ได้แก่ 1) การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ2) การสื่อสาร/บอกต่อบุคคลต้นแบบ (Role Model) ของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ องค์ประกอบที่ 2 คือ 3) การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตัวบ่งชี้การพัฒนาตามขั้นตอนV-shapeองค์ประกอบที่ 3 ได้แก่ 4) การจัดหาอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การจัดการสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ 5) การสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนของตัวบ่งชี้การจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม6) การจัดตั้งชุมนุม/ชมรม/แกนนำต้นแบบการสร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (Environment Health Model) ของตัวบ่งชี้การจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม 7)การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคมโดยใช้การบูรณาการในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของตัวบ่งชี้การจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม 8) การแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของตัวบ่งชี้การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้น่าอยู่และปลอดภัย องค์ประกอบที่ 4 ได้แก่ 9) การกำหนดบทบาทหน้าที่และโครงสร้างของภาคีเครือข่ายของตัวบ่งชี้การมีส่วนร่วมในเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพและ 10) ชุมชนนักปฏิบัติโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนขยายผลโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพแก่โรงเรียนและหน่วยงานอื่น ๆ ของตัวบ่งชี้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่สังคมรอบรู้ด้านสุขภาพดังนั้น โรงเรียนที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลางจึงต้องปรับการบริหารจัดการด้านบุคลากรในการนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวไปใช้เพื่อเพิ่มระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านบุคลากรให้สูงขึ้น

           2.3.4  ระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านการได้รับการสนับสนุนของแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลางต่ำกว่าโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ถึงขนาดใหญ่พิเศษจำนวน 11 แนวทาง แยกตามองค์ประกอบได้ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การกำหนดนโยบายโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ2) การวางแผนดำเนินงานตามนโยบายของตัวบ่งชี้การกำหนดนโยบายโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ3) การพัฒนาครูและบุคลากรเพื่อเป็นแกนนำการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ ของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ4) การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ5) การสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนได้รับการประเมินสุขภาพตนเองและตรวจสุขภาพของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ6) การอบรมเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของครูและบุคลากรของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ 7) การนำผลการประเมินที่ได้รับมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องของตัวบ่งชี้การนิเทศติดตามและประเมินผล องค์ประกอบที่ 3 ได้แก่ 8) การสร้างบุคลากรและนักเรียนจิตอาสาด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของตัวบ่งชี้การจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม 9) การแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของตัวบ่งชี้การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้น่าอยู่และปลอดภัยองค์ประกอบที่ 4 ได้แก่ 10) การดำเนินการพัฒนายกระดับเพื่อเอื้อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเข้าใจประเมินตัดสินใจเลือกใช้และปรับใช้ข้อมูลความรู้และบริการสุขภาพได้อย่างเหมาะสมกับตนเองของตัวบ่งชี้การการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่สังคมรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 11) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกับโรงเรียนหรือหน่วยงานอื่นๆ ของตัวบ่งชี้การการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่สังคมรอบรู้ด้านสุขภาพ ดังนั้น โรงเรียนที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลางจึงต้องปรับการบริหารจัดการด้านการได้รับการสนับสนุนในการนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวไปใช้เพื่อเพิ่มระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านการได้รับการสนับสนุนให้สูงขึ้น

ข้อเสนอแนะ

           1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

           1.1  ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ในเชิงนโยบาย

           1.1.1  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครไปใช้ประกอบการกำหนดนโยบายการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา

           1.2  ข้อเสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้ในเชิงปฏิบัติ

           1.2.1  เนื่องจากโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 ยังมีระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านบุคลากรของการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ต่ำกว่าโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาขององค์ประกอบที่ 1 ได้แก่ 1) การแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การกำหนดนโยบายโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ 2) การกำหนดนโยบายการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การกำหนดนโยบายโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 3) การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ ดังนั้น โรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 จึงต้องปรับการบริหารจัดการด้านบุคลากรในการนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวไปใช้เพื่อเพิ่มระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านบุคลากรให้สูงขึ้น

           1.2.2  เนื่องจากโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 ยังมีระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านการได้รับการสนับสนุนของการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ต่ำกว่าโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาขององค์ประกอบที่ 1 ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การกำหนดนโยบายโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ 2) การพัฒนาความรู้ความเข้าใจความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่ครูและบุคลากรของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ3) การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ และ 4) การจัดทำรายงานและเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การนิเทศติดตามและประเมินผล ดังนั้น โรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 จึงต้องปรับการบริหารจัดการด้านบุคลากรในการนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวไปใช้เพื่อเพิ่มระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านบุคลากรให้สูงขึ้น

           1.2.3  เนื่องจากโรงเรียนขนาดเล็กถึงขนาดกลางยังมีระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านแนวทางการบริหารจัดการของการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ต่ำกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ถึงขนาดใหญ่พิเศษประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาขององค์ประกอบที่ 1 ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การกำหนดนโยบายโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ2) การวางแผนการดำเนินงานตามนโยบายของตัวบ่งชี้การกำหนดนโยบายโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ 3) การพัฒนาครูและบุคลากรเพื่อเป็นแกนนำการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ 4) การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ 5) การนำผลการประเมินที่ได้รับมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องของตัวบ่งชี้การนิเทศติดตามและประเมินผล และ 6) การจัดทำรายงานและเผยแพร่ผลการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การนิเทศติดตามและประเมินผล ดังนั้น โรงเรียนขนาดเล็กถึงขนาดกลางจึงต้องปรับการบริหารจัดการด้านแนวทางการบริหารจัดการในการนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวไปใช้เพื่อเพิ่มระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านแนวทางการบริหารจัดการให้สูงขึ้น

           1.2.4  เนื่องจากโรงเรียนขนาดเล็กถึงขนาดกลางยังมีระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านบุคลากรของการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ต่ำกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ถึงขนาดใหญ่พิเศษประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาขององค์ประกอบที่ 1 ได้แก่ 1) การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ2) การสื่อสาร/บอกต่อบุคคลต้นแบบ (Role Model) ของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ องค์ประกอบที่ 2 คือ 3) การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของตัวบ่งชี้การพัฒนาตามขั้นตอนV-shapeองค์ประกอบที่ 3 ได้แก่ 4) การจัดหาอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การจัดการสิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ 5) การสร้างแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนของตัวบ่งชี้การจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม6) การจัดตั้งชุมนุม/ชมรม/แกนนำต้นแบบการสร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (Environment Health Model) ของตัวบ่งชี้การจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม 7)การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคมโดยใช้การบูรณาการในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนของตัวบ่งชี้การจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม 8) การแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของตัวบ่งชี้การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้น่าอยู่และปลอดภัย องค์ประกอบที่ 4 ได้แก่ 9) การกำหนดบทบาทหน้าที่และโครงสร้างของภาคีเครือข่ายของตัวบ่งชี้การมีส่วนร่วมในเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพและ 10) ชุมชนนักปฏิบัติโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนขยายผลโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพแก่โรงเรียนและหน่วยงานอื่น ๆ ของตัวบ่งชี้การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่สังคมรอบรู้ด้านสุขภาพ ดังนั้นโรงเรียนขนาดเล็กถึงขนาดกลาง จึงต้องปรับการบริหารจัดการด้านบุคลากรในการนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวไปใช้เพื่อเพิ่มระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านบุคลากรให้สูงขึ้น

           1.2.5  เนื่องจากโรงเรียนขนาดเล็กถึงขนาดกลางยังมีระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านการได้รับการสนับสนุนของการนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพไปใช้ต่ำกว่าโรงเรียนขนาดใหญ่ถึงขนาดใหญ่พิเศษประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาขององค์ประกอบที่ 1 ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การกำหนดนโยบายโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ2) การวางแผนดำเนินงานตามนโยบายของตัวบ่งชี้การกำหนดนโยบายโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ3) การพัฒนาครูและบุคลากรเพื่อเป็นแกนนำการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพ ของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ4) การส่งเสริมให้ครูและบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมด้านสุขภาพของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ5) การสนับสนุนให้ครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนได้รับการประเมินสุขภาพตนเองและตรวจสุขภาพของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ6) การอบรมเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของครูและบุคลากรของตัวบ่งชี้การเตรียมครูและบุคคลต้นแบบ 7) การนำผลการประเมินที่ได้รับมาปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องของตัวบ่งชี้การนิเทศติดตามและประเมินผล องค์ประกอบที่ 3 ได้แก่ 8) การสร้างบุคลากรและนักเรียนจิตอาสาด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของตัวบ่งชี้การจัดสภาพแวดล้อมทางสังคม 9) การแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของตัวบ่งชี้การจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้น่าอยู่และปลอดภัยองค์ประกอบที่ 4 ได้แก่ 10) การดำเนินการพัฒนายกระดับเพื่อเอื้อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงเข้าใจประเมินตัดสินใจเลือกใช้และปรับใช้ข้อมูลความรู้และบริการสุขภาพได้อย่างเหมาะสมกับตนเองของตัวบ่งชี้การการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่สังคมรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 11) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานกับโรงเรียนหรือหน่วยงานอื่นๆ ของตัวบ่งชี้การการมีส่วนร่วมในการพัฒนาสู่สังคมรอบรู้ด้านสุขภาพดังนั้น โรงเรียนขนาดเล็กถึงขนาดกลางจึงต้องปรับการบริหารจัดการด้านการได้รับการสนับสนุนในการนำแนวทางการพัฒนาดังกล่าวไปใช้เพื่อเพิ่มระดับความเป็นไปได้ในการบริหารจัดการด้านการได้รับการสนับสนุนให้สูงขึ้น

           1.2.6  โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในต่างจังหวัด และโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดหน่วยงานอื่น ๆ สามารถนำแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครไปประยุกต์ใช้โดยมีการปรับการบริหารจัดการด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับโรงเรียนของตน      

           2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

           2.1  การวิจัยแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบกับแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร

           2.2  การวิจัยแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร

           2.3  การวิจัยแนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดอื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ โรงเรียนรัฐบาลที่เป็นโรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน                                

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

แนวทางการพัฒนาโรงเรียนรอบรู้ด้านสุขภาพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร

Comments

comments

- Advertisement -