การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดดอน ไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา)

0
2006
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา

ชื่อผลงาน        การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐาน

             การเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และ

             ความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดดอน

             ไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) (DEVELOPMENT OF SOCIAL STUDIES INSTRUCTIONAL

             MODEL BY APPLYING COMMUNITY-BASED LEARNING APPROACH AND

             CONSTRUCTIVISM TO ENHANCE ANALYTICAL THINKING AND PROBLEM

             SOLVING ABILITIES FOR MATTHAYOMSUKSA ONE STUDENTS OF WATDON                     KAIDEE MINICIPLE SCHOOL)

ชื่อผู้วิจัย  นายอุเทน วางหา ตำแหน่ง โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี              (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา)

ระยะเวลา พฤษภาคม – กันยายน 2562 (ภาคเรียนที่ 1 ปี 2562)

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี            

(สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) และเพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้ ที่สร้างขึ้น ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) ที่ออกแบบโดยใช้ ADDIE Model การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น

5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การออกแบบรูปแบบ

การเรียนการสอนและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 3 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ

การเรียนการสอนและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 4 การนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ และระยะที่ 5 การประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่ 1/2 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบกลุ่ม (Cluster random sampling) ระยะเวลาที่ใช้เวลาในการเรียนการสอนตามรูปแบบดังกล่าว 15 ชั่วโมง

            ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยประยุกต์แนวคิด

ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์

และความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดดอนไก่ดี

(สังวรจันทสรราษฎรวิทยา) ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ การจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 3 ขั้น คือ (1) ขั้นกระตุ้นการคิด (2) ขั้นท้าทายประสบการณ์ (3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป และการวัดและประเมินผล 2) ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษา                 โดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้ ที่สร้างขึ้น พบว่า (1) นักเรียน    มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน = 26.23; =1.77) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียน = 25.87;  = 1.81) สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสังคมศึกษาโดยประยุกต์แนวคิดชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้และทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดดอน ไก่ดี (สังวรจันทสรราษฎรวิทยา)

Comments

comments

- Advertisement -