การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

0
1234

ชื่อเรื่อง      การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา  เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ชื่อผู้วิจัย    นางสาวบุรัสกาญ  สุวรรณ์ ตำแหน่ง  ครู  วิทยฐานะ  ครูชำนาญการพิเศษ
               โรงเรียนเทศบาล ๔ หนองแคอนุสรณ์  สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองแค
               จังหวัดสระบุรี

ปีที่วิจัย       ปีการศึกษา  2562

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research& Development ) มีวัตถุประสงค์  ดังนี้   1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  2) เพื่อการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา เพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1   3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา  เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 4)  เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา  เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์การวิจัยขั้นตอนที่ 1  ได้แก่   หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สาระที่  1 การอ่าน และสาระที่ 4 หลักการใช้ภาษา สาระการเรียนรู้เรื่องการอ่านออกเสียงและบอกความหมายคำและการสะกดคำ การแจกลูกคำและการอ่านเป็นคำ ทฤษฎีการเรียนรู้และการเชื่อมโยงความคิดของแฮร์บาร์ต ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ ทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยกระบวนการค้นพบของบรุนเนอร์  ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของอซูเบล และทฤษฎีการเรียนรู้แบบกลุ่มผสมผสานของกาเย่ แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา ของ Collins, A.,Brown, J.S., & Holum,A. (1991)  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำการศึกษาความคิดเห็นในการจัดการเรียนการสอนของผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน  10 คน ประเด็นการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการของรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฝ่ายวิชาการและครูหัวหน้างานวิชาการโรงเรียน จำนวน 2  คน และประเด็นการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 3 คน แหล่งข้อมูล/กลุ่มเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในขั้นตอนที่ 1  ผู้ จำนวน 5 คน ในการตรวจสอบความเหมาะสม/สอดคล้อง  และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง  แหล่งข้อมูล/กลุ่มตัวอย่างตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยขั้นตอนที่ 3 และ  4  ได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/3  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา  2562 โรงเรียนเทศบาล ๔ หนองแคอนุสรณ์ สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองแค  อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 34 คน  ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random  Sampling )  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา  2) 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ  4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทย และ5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและการคิดวิเคราะห์เนื้อหา(content analysis) สถิติที่ใช้ได้แก่การหาค่าเฉลี่ย  (x) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าที (t-test dependent )

ผลการวิจัย

  1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  พบว่า ข้อมูลพื้นฐานโดยภาพรวมมีความเหมาะสม/สอดคล้องและเพียงพอกับการศึกษา เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช  2551 มีเป้าหมายการของการศึกษา ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาเต็มตามศักยภาพ โดยเน้นทักษะการอ่านและการเขียนและจากความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน พบว่า ต้องการให้พัฒนาการจัดการเรียน  การสอนที่พัฒนาการอ่านและเขียนและการแสดงออก   ในส่วนของรองผู้อำนวยการสถานศึกษา      ฝ่ายวิชาการและหัวหน้างานวิชาการโรงเรียนมีความคิดเห็นว่า การพัฒนาการอ่านและเขียนสะกดคำ       จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยให้สูงขึ้นได้ และจะส่งผลดีต่อการทดสอบความสามารถด้านการอ่าน (RT) ให้มีผลการประเมินสูงขึ้นด้วยเช่นกัน  และจากการสนทนาอย่างไม่เป็นทางการกับครูผู้สอนสาระการเรียนรู้ภาษาไทย พบว่า สภาพที่เป็นจริงในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยคือ นักเรียนส่วนใหญ่อ่านไม่คล่องและเขียนไม่ค่อยถูกต้อง และแนวทางการแก้ปัญหานั้นควรฝึกหรือเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำให้กับนักเรียน
  2. ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  พบว่า รูปแบบการเรียนการสอน (AAIP Model ) ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้  4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การตระหนักรู้(Awareness: A ) ขั้นตอนที่ 2 การเชื่อมโยง (Association: A) ขั้นตอนที่ 3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Interaction: I) และ  ขั้นตอนที่ 4 การฝึกปฏิบัติ (Practice: P) ซึ่งประกอบด้วย    1) ฝึกปฏิบัติตามแบบ (structured practice)  2) ฝึกปฏิบัติจากการชี้แนะ (guided practice) และ    3) ฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ (independent practive)   มีความเหมาะสม/สอดคล้องตามความคิดเห็นของผู้ 5 คน  โดยมีค่าความเหมาะสมสอดคล้องมีค่าเฉลี่ย (x) เท่ากับ  4.75 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 0.43  และจากการหาประสิทธิภาพโดยนำไปทดลองใช้ (Tyout)  กับนักเรียน           ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1  ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา  2562  ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน  30 คน พบว่า  มีประสิทธิภาพ ( E1/E2 ) เท่ากับ 82.27/83.11  เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2

3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (AAIP  Model) พบว่า จากการนำรูปแบบการเรียนการสอน  (AAIP Model ) ไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๔ หนองแคอนุสรณ์ สังกัด    กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองแค อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี  จำนวน 34 คน ซึ่งได้มาโดย    การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Sampling  Unit ) หลังการเรียนการสอนนักเรียนมีความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยมีค่าการทดสอบที ( t-test  dependent ) เท่ากับ 36.346 โดยก่อนเรียนมีคะแนนเฉลี่ย (x) เท่ากับ 6.26  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เท่ากับ 1.41 และ หลังเรียนเท่ากับ  12.58 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.75 เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัย  ข้อที่ 3 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าการทดสอบที ( t-test  dependent ) เท่ากับ 38.436 โดยมีคะแนนเฉลี่ย (x) ก่อนเรียน  เท่ากับ  12.26   และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.14  และหลังเรียนเท่ากับ 25.00  และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เท่ากับ 0.80   เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 4          

4. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (AAIP  Model) พบว่า หลังการจัดการเรียนการสอนนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ย (x) เท่ากับ  2.82 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.08  เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 5

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Comments

comments

- Advertisement -