การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

0
827

เพิ่มเพื่อน

เรื่องที่วิจัย         การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย               นางสาวสวรรยา อ่อนสมจิตร์
ตำแหน่ง           ครู ครูชำนาญการพิเศษ  โรงเรียนเทศบาลบ้านหนองตาโผ่นมิตรภาพที่ 5  สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
ปีที่วิจัย           

          การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 (3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ (4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปี จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่าง แบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งทางโรงเรียนได้มีการจัดชั้นเรียนแบบคละความสามารถ เครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีจำนวน 8 ชุด ได้แก่       1. โครงงานน่ารู้ 2. ริเริ่มสู่การตั้งชื่อ 3. ลงมือสร้างเค้าโครง 4. เชื่อมโยงวิธีศึกษา 5. ค้นหาเก็บข้อมูล 6. บริบูรณ์สรุปผล 7. รวมพลเขียนรายงาน 8. นิทรรศการจัดแสดง (2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ก่อนเรียน (Pre-test) และหลังเรียน (Post-test) โดยเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย (x) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า t-test dependent

ผลการวิจัย

           การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้

1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีจำนวน 8 ชุด ได้แก่ 1. โครงงานน่ารู้ 2. ริเริ่มสู่การตั้งชื่อ    3. ลงมือสร้างเค้าโครง 4. เชื่อมโยงวิธีศึกษา 5. ค้นหาเก็บข้อมูล 6. บริบูรณ์สรุปผล 7. รวมพลเขียนรายงาน 8. นิทรรศการจัดแสดง โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.60/82.40 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 1 โดยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

2. ผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้นพบว่า ผลการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยข้อที่ 2 โดยผลการเรียนรู้หลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่านักเรียนส่วนใหญ่เห็นด้วยในด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากเป็นอันดับหนึ่ง ลำดับที่สองคือ เห็นด้วยในด้านประโยชน์ของการใช้ชุดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก และเห็นด้วยในด้านกิจกรรมการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน อยู่ในระดับมากเป็นลำดับสุดท้าย

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Comments

comments

- Advertisement -