ชื่องานวิจัย รายงานการประเมินโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปีการศึกษา 2561-2563 โรงเรียนกุดฉิมวิทยาคม จังหวัดนครพนม
ผูจัย ศิริประภา ศรีสุริยจันทร์
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปีการศึกษา 2561-2563 โรงเรียนกุดฉิมวิทยาคม จังหวัดนครพนม ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพก่อนและหลังการดำเนินงานโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2) ประเมินผลโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปีการศึกษา 2561-2563 โดยใช้ CIPP Model และ 3) ศึกษาข้อเสนอการพัฒนาโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยเทคนิค AAR โดยแบ่งการประเมินเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพก่อนและหลังดำเนินงานโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระยะที่ 2 การประเมินผลโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปีการศึกษา 2561-2563 โดยใช้ CIPP Model และระยะที่ 3 การศึกษาข้อเสนอการพัฒนาโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยเทคนิค AAR จำนวนประชากรทั้งหมด 286 คน เก็บข้อมูลปฐมภูมิด้วยแบบประเมินและข้อมูลทุติยภูมิ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ เชิงเนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพก่อนและหลังดำเนินการตามโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ พบว่าสภาพหลังการดำเนินโครงการ โรงเรียนมีบริบทสภาพแวดล้อม นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ และการมีส่วนร่วมการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ… “หุ้นส่วนการศึกษา” (Educational Partnership) ที่เอื้อต่อการเสริมสร้างทักษะอาชีพนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( μ= 4.55, σ= 0.15)
2. ผลการประเมินโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปีการศึกษา 2561-2563 โดยใช้ CIPP Model พบว่า
2.1 ผลการประเมินโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตามกรอบการประเมิน CIPP Model ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และ ด้านผลผลิต (Product) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( μ = 4.70, σ= 0.26)
2.2 ผลการประเมินโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปีการศึกษา 2561-2563 ด้านผลการดำเนินงาน (Results) โดยใช้ CIPP Model พบว่า
2.2.1 ด้านผลผลิต (Outputs) พบว่า 1) สมรรถนะด้านการงานและอาชีพของผู้เรียน ปีการศึกษา 2561 ภาพรวมอยู่ในระดับดี – ดีมาก ร้อยละ 76.50 (ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.47) ปีการศึกษา 2562 ภาพรวมอยู่ในระดับดี – ดีมาก ร้อยละ 74.13 (ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.58) และปีการศึกษา 2563 ภาพรวมอยู่ในระดับดี – ดีมาก ร้อยละ 83.97 (ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.62) และ 2) คุณภาพการศึกษาจากการประเมินคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า (1) ปีการศึกษา 2561 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับดีเลิศ มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับดี (2) ปีการศึกษา 2562 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการอยู่ในระดับยอดเยี่ยม และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับยอดเยี่ยม และ(3) ปีการศึกษา 2563 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการอยู่ในระดับยอดเยี่ยม และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอยู่ในระดับยอดเยี่ยม
2.2.2 ด้านผลลัพธ์ (Outcome) พบว่า 1) ระดับความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้เกี่ยวข้อง ปีการศึกษา 2561 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( μ = 4.55, σ= 0.37) ปีการศึกษา 2562 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( μ = 4.56, σ= 0.33) และปีการศึกษา 2563 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( μ = 4.67, σ= 0.35) 2) ความภาคภูมิใจ ผลจากการดำเนินงานโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Management) แบบองค์รวมเชิงบูรณาการที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนโดยภาคีพัฒนา 4 ฝ่าย ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานทั้งต่อผู้เรียน ครู บุคลากร สถานศึกษา และชุมชน เป็นประจักษ์ได้รับการยอมรับและเป็นต้นแบบประยุกต์ใช้ของผู้บริหารสถานศึกษา สถานศึกษา หน่วยงานและองค์กรวิชาชีพ
2.2.3 ด้านผลกระทบ (Impact) จากความสำเร็จการดำเนินการโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สร้างความภาคภูมิใจ สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก ส่งผลต่อการเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งการระดมทรัพยากร การพัฒนาบริบทสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศการศึกษาและมีเครือข่ายสถานประกอบการฝึกวิชาชีพนักเรียน
3. ผลการศึกษาข้อเสนอการพัฒนาโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยเทคนิค AAR พบว่า
3.1 ผลการสะท้อนผลการพัฒนา (After Action Review : AAR) โดยการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) มีข้อเสนอการพัฒนาโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดังนี้ (1) จัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะอาชีพผู้เรียนระดับบุคคล (Personal Career Development Plan : PCDP) (2) บูรณาการการเรียนรู้สหศาสตร์เสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นทักษะชีวิต ทักษะวิชาการ และทักษะอาชีพ (3) จัดศูนย์ปฏิบัติการบ่มเพาะอาชีพและการจัดการ และ (4) สร้างศูนย์เรียนรู้ชุมชน (Community Learning Center) เพื่อบริการสาธารณะ (Public Service) ด้านนวัตกรรมองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาและการอาชีพสู่การพัฒนา ที่ยั่งยืน
3.2 ผลการประเมินข้อเสนอการพัฒนาโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของผู้ทรงคุณวุฒิ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( μ = 4.81, σ= 0.18)
คำสำคัญ : CIPP Model, AAR, เศรษฐกิจสร้างสรรค์
ดาวน์โหลดบทคัดย่อ