รายงานผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

0
605

ชื่อเรื่อง : รายงานผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ปี 2564
ผู้รายงาน : นางสาวเบญจมาศ บุญเพิ่มพูล

บทสรุปผู้บริหาร

รายงานผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง PDCA (Dr. Edwards W. Deming) ตามแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 ขั้นตอน (1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (2) การคัดกรองนักเรียน (3) การส่งต่อและพัฒนานักเรียน (4) การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน (5) การส่งต่อ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเพื่อรายงานผลคือ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน  จำนวน 66 คน  จำนวน 291 คน ผู้ปกครอง จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามจำนวน 2 ฉบับ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า
ผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2564 ตามแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 ขั้นตอน (1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (2) การคัดกรองนักเรียน (3) การส่งต่อและพัฒนานักเรียน (4) การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน (5) การส่งต่อ สรุปผลได้ดังนี้
ผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2564 โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (µ=4.47, σ=0.67) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (µ=4.58, σ=0.57) รองลงมา คือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนา (µ=4.53, σ=0.68) ด้านการคัดกรองนักเรียน (µ=4.45, σ=0.67) และด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา (µ=4.42, σ=0.75) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งต่อ (µ=4.40, σ=0.69) ด้านการส่งต่อ โดยรวมอยู่ในระดับมาก (µ=4.40, σ=0.69) เมื่อพิจารณาองค์ประกอบปรากฏว่า ในการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ใช้รูปแบบการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง PDCA มีความสอดคล้องกับตามแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2564 ทำให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนให้มีความสมบูรณ์พร้อม ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ความสามารถ คุณธรรมจริยธรรม ตลอดจนให้มีทักษะในการดำรงชีวิต 
ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนผลความพึงพอใจระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2564 สรุปผลได้ดังนี้

ความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2564 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̄=4.30, SD =0.73) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา (x̄=4.34, SD =0.73) รองลงมา คือ ด้านการคัดกรองนักเรียน (x̄=4.33, SD =0.74) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (x̄=4.32, SD =0.73) และ ด้านการส่งเสริมและพัฒนา (x̄=4.26, SD =0.72) ส่วนด้านที่อยู่ในลำดับสุดท้าย คือ ด้านการส่งต่อ (x̄=4.25, SD =0.76)
จากการรายงานผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2564 โดยใช้รูปแบบการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง PDCA (Dr. Edwards W. Deming) ตามแนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 5 ขั้นตอน (1) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (2) การคัดกรองนักเรียน (3) การส่งต่อและพัฒนานักเรียน (4) การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน (5) การส่งต่อ และผลความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครอง จะเห็นได้ว่า การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2564 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก การดำเนินงานทั้ง 5 ขั้นตอน ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากทุกขั้นตอนได้ดำเนินการอย่างเป็นระบบตามวงจรคุณภาพ เดมมิ่ง PDCA ผลการดำเนินงาน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน ดังนั้นจึงเห็นสมควรให้ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในปีการศึกษาต่อไป

ดาวน์โหลดบทคัดย่อ

รายงานผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่

Comments

comments

- Advertisement -